สิงห์บุรี จังหวัดที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง?

นวัตวิถี สิงห์บุรี Inno-Way ชุมชนที่มีวิถีชีวิตอันงดงาม ซุกซ่อนตัวอยู่อย่างมากมาย

จังหวัดสิงห์บุรี  ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี  โดยล่าสุด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชนมีทักษะ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ในการต้อนรับของแต่ละชุมชน สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

เมื่อพูดถึงชื่อจังหวัดนี้ ภาพที่ทุกคนมักจะนึกอันดับต้นๆ คือ ปลาช่อนแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี เป็นจุดผ่านไปในหลายจังหวัด ไม่ไกลจากตัวเมืองเราจะเห็นวิว
ภูเขาไกลๆ เห็นทุ่งนาเขียวขจี ขับผ่านแล้วรู้สึกดี สบายตา เรียกได้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาข้าว  มีแม่น้ำน้อยหรือที่เรียกว่าแม่ลา ลักษณะดินที่มีคุณสมบัตพิเศษ ที่ไม่เหมือนที่ใดในโลกจริงๆ

ดังนั้น ปลาที่จังหวัดสิงห์บุรี จึงมีรสชาติที่อร่อยกว่าที่อื่น  และปลาช่อนนา ที่สิงห์บุรี ถือได้ว่าเป็นที่สุดของปลาช่อนในโลกนี้ เนื้อหวานอร่อย และถ้ามาที่สิงห์บุรีต้องไม่พลาด ปลาช่อนแดดเดียว ที่ใครก็หาซื้อได้ตามริมทาง อีกอย่างถ้าใครชอบปลาร้าขอบอกว่าที่นี้ ปลาร้าอร่อยที่สุดบนผืนแผ่นดินไทย อยากรู้ว่าจริงไหมต้องลองดู

Toptotravel  มีโอกาสร่วมทริป ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สิงห์บุรี Inno-Way โดยการเดินทางในครั้งนี้  มีทั้งสื่อมวลชน  รวมไปถึงพิธีกร ทอดด์ ทองดี หรือ โทมัส เจมส์ ลาเวลล์ (Thomas James Lavelle) ซึ่งการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี  ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน ด้วยการนำนวัตกรรมผสมผสานกับวิถีชีวิตชุมชน ในการผลิตสินค้าท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์โอทอป ทำให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีแบบแผนละเอียดอ่อน อันเกิดจากความเข้าใจของ นวัตวิถี ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย

ปีนี้  เป็นปีที่รัฐบาล มีนโยบายเน้นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยวและขาดทักษะ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สิงห์บุรี Inno-Way ชวนให้นักท่องเที่ยวมาชมความงดงามของธรรมชาติ ที่จะทำให้ต่อมรับรสในปากค่อยๆ สร้างความสุขด้วยการได้ชิมอาหารท้องถิ่นของชุมชน เพื่อเป็นการกระจายรายได้ตามความต้องการของชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยวระดับหมู่บ้านวัตถุดิบแต่ละชนิดอย่างมีดีไซน์ เที่ยวทุ่งนา กินปลาช่อน และ เช้าวันนี้เรามาแวะตลาดนัดชุมชน OTOP นวัตวิถี บ้านตาลเดี่ยวใต้ ตามมาชมบรรยากาศด้วยกันคะ

จุดเริ่มต้นยามเช้าของวันนี้  ที่บ้านตาลเดี่ยวใต้ กับงานเปิดตลาดชุมชนท่องเที่ยว otop นวัตวิถี บ้านตาลเดี่ยวใต้ หมู่ 1 ตำบลทองเอน จังหวัดสิงห์บุรี  โดยมี
นายสุทธิพงศ์ พุทธจันทรา นายอำเภออินทร์บุรี เป็นประธานเปิดงานตลาดนัดชุมชน OTOP นวัตวิถี บ้านตาลเดี่ยวใต้  ชุมชน OTOP นวัตวิถี ดำเนินงานภายใต้โครงการ  “ไทยนิยม ยั่งยืน”

เพื่อสร้างชุมชนเข็มแข็ง ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรายได้ให้แก่ชุมชน การสร้างตลาดใหม่ และเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยการจำหน่ายสินค้าอยู่ในชุมชน โดยใช้เสน่ห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ เปลี่ยนเป็นรายได้ ผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระดับชุมชน ที่มีเสน่ห์ดึงดูดและมีคุณค่าพร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือน และใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

แต่ถ้าเรื่องของอาหารพื้นถิ่น อาหารการกินของชาวจังหวัดสิงห์บุรี ช่วงที่มี
นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมชุมชนบ้านตาลเดี่ยวใต้ หลายท่านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า…มาที่นี่ไม่มีผิดหวังกลับไปแน่นอน เพราะเรื่องอาหารพื้นถิ่น มีมากมาย โดยมื้อเที่ยงวันนี้  Totptotravel ขอยกตัวอย่างอาหารท้องถิ่นที่เรามีโอกาสได้ลิ้มลอง ดังนี้ …
-ลาบมะเขื่อ
-ต้มส้มฟัก
-ปลาส้มทอด
-บัวลอยสามเกลอ / ขนมสามเกลอ / น้ำสามเกลอ
-กล้อยตากเคลือบช๊อกโกเเลต
-ขนมสอดใส่ / ขนมตาล

ส่วนสินค้า OTOP โดยชาวบ้านและคนในชุมชนนำสินค้าที่ผลิตเอง เช่น
พืช ผัก ผลไม้ น้ำพริกผลิตภัณฑ์ปลาร้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัด สินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋าถือ และของใช้ ที่นำมาจำหน่ายในราคาไม่แพง เดินเล่นสนุก เพลินๆ ไม่ร้อน หิ้วของกันเต็มไม้เต็มมือเลย ช่วยกันสนับสนุนสินค้าไทยชื่นใจกันทั้งหมู่บ้าน

สินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายส่วนใหญ่  เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมและขึ้นชื่อว่าขายดีมากๆ  แทบจะผลิตไม่ทัน สั่งรอกันข้ามปี คือ กระเป๋าผ้า และ งอบแฟนซี สวยโดดเด่น ไม่มีใครเหมือน ไม่เหมือนใคร อย่างนี้ไม่มาถือว่าพลาดอย่างแรง
พบกันที่ ตลาดชุมชนบ้านตาลเดี่ยวใต้ (เปิดทุกวันอาทิตย์ของต้นเดือน)

อิ่มท้องแล้ว เดินทางต่อไปยัง ถนนตก หมู่บ้านแรกเป็นหมู่บ้านยางคุ้ง มารวมกับวัดทองเลื่อน มาเปลี่ยนชื่อเป็นชุมชนชาวถนนตก ชื่อนี้ สืบเนื่องจากเมื่อในอดีตที่ยังไม่มีถนนตัดผ่าน มีเพียงลูกรัง ภายหลังได้มีการปรับปรุงถนนขึ้นใหม่  ซึ่งดำเนินการไปสิ้นสุดที่ถนนตก ทางโค้งของโรงพยาบาล ชาวบ้าน จึงได้ตั้งชื่อว่าถนนตก หรือ ชุมชนชาวถนนตก นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ด้วยความพิเศษของสภาพที่ตั้ง ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
คุณป้าสุกัลยา พาทีมงานไปต่อยังบ้าน นายบุญพา บุญคง หรือ คุณกบ หมู่ที่ 11 ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ภายในบริเวณโดยรอบ จัดเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ และมุมแสดงกิจกรรมทางการเกษตร ด้วยความพิเศษของสภาพที่ตั้ง ชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการผลิต คุณกบเล่าต่อให้ฟัง ที่นี่ชุมชนมีรายได้และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง มาเที่ยวที่นี่ได้ความรู้มาเติมสมองแบบไม่ต้องลงทุน

ปุ๋ยมูลไส้เดือน นำมาปรับสูตรแล้วออกมาจำหน่ายสร้างรายได้
-จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีวิธีการผลิตง่ายๆ โดยการการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นหัวเชื้อจากประเทศญี่ปุ่น
-มะนาวดอง การเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีราคาเพิ่มมากขึ้น

นอกจากสินค้าที่หลากหลายที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว  อาหารถิ่นที่ใครมาเยือนต้องได้ลองทาน มีเมนูอาหารคาว หวานขึ้นชื่อของหมู่บ้าน เพียงเพราะคำว่าขึ้นชื่อ พวกเรามีโอกาสได้ชิมฝีมือการทำอาหารท้องถิ่น ทีใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติแท้ๆ  ของ นายกิตติภณ  มาหยา (หมูแดง)  รสชาติแบบดั่งเดิม lสูตรเฉพาะตามแบบฝีมือคนโบราณ

คุณหมูแดง ( กิตติภณ  มาหยา ) โดยเมนูแนะนำ เราได้ชิมกันในมื่อค่ำ ที่บ้านของคุณหมูแดงเอง  มีเมนูใดบ้างมาชมไปด้วยกันค่ะ
1.แกงส้มผักตบ
2.ต้มยำไก่บ้าน (ไก่พื้นเมือง)
3.แกงกล้วยกับหมู
4.ปลาช่อนแม่ลาแท้ทอดกรอบ (สูตรเฉพาะ)
5.น้ำพริกเผาปลาช่อน ตราถนนตก (สูตรโอท๊อปขึ้นชื่อ)
6.ขนมนักรบ ทำจากผลของลูกยอสดๆ

คุณหมูแดง เล่าถึงการทำอาหาร เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด คือเรื่องวัตถุดิบ เลือกเฉพาะวัตถุดิบสดใหม่ ไร้สารปนเปื้อน  ได้จากธรรมชาติไม่มีคัดสรรแล้วนำมาปรุงรสชาติและผ่านการคัดมาอย่างดี โดยเฉพาะ น้ำพริกเผาปลาช่อน ตราถนนตก ปลาชนิดเดียวอร่อย เพราะเดือนเป็นช่วงวางไข่จะมีไขมันสะสมอยู่ทำให้ปลาอร่อยกว่าปรกติ

ได้ฟังเรื่องราวของหมูแดง “แม่ครัวหัวป่า” กลายเป็นคำสากลในการเรียกบรรดาคนปรุงอาหารฝีมือฉกาจทั่วฟ้าเมืองไทย โดยอาหารที่ขึ้นชื่อในหมู่บ้าน ฝีมือการทำอาหารของ หมูแดง ที่หมู่บ้านให้ความไว้วางใจ จนได้รับตำแหน่งแม่ครัว ประจำหมู่บ้าน ทั้งแขกผู้ใหญ่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้านนี้ ต้องห้ามพลาดได้ชิมฝีมือน้องหมูแดง ท่านนี้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

ณ.หมู่บ้านแห่งนี้ เหมือนถูกออกแบบให้เรามีสมาธิกับท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ด้วยการนั่งชิมอาหารท้องถิ่น โดยข้างหลังของเราจะเป็นฉากไม้ ลดแสงเพื่อให้เรารู้สึกว่า ข้างหลังไม่มีอะไรต้องใส่ใจ จึ งให้สมาธิกับด้านหน้าอย่างเต็มที่และบรรยากาศดีแบบสวนเกษตรจริงๆ

ที่บ้านถนนตก หมู่บ้านแรก เป็นหมู่บ้านยางคุ้ง มารวมกับวัดทองเลื่อน มาเปลี่ยนชื่อเป็นชุมชนชาวถนนตก ในปัจจุบัน ชื่อนี้สืบเนื่องจากเมื่ออดีตที่ยังไม่มีถนนตัดผ่าน จะมีแต่ลูกรัง ภายหลังได้มีการทำถนนขึ้น ซึ่งดำเนินการไปสิ้นสุดที่ถนนตก ทางโค้งของโรงพยาบาล ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่าถนนตก หรือ ชุมชนชาวถนนตก นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เรามาอยากรู้เรื่องมะนาวดอง ต้องมาที่ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรกรทฤษฏีใหม่ ประจำตำบลบางระจัน โดยได้รับคำคำแนะนำของ คุณป้าสุกัลยา พาทีมงานไปยังบ้าน นายบุญพา บุญคง หรือ คุณกบ อยู่หมู่ที่ 11 ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นชาวบ้านที่ดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีอะไรบ้างไปชมกัน

1.ปุ๋ยมูลไส้เดือน  ผลิตเอง ใช้เอง เหลือจากการใช้งาน ก็ออกมาจำหน่ายสร้างรายได้ เป็นไส้เดือนพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์กินไว ขี้ไว สะสมในระยะเวลา 20 วันเก็บออกมาใช้งานได้ทันที ขายในราคา 20 บาท/ถุง

2.จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง นำหัวเชื้อมาจากประเทศญี่ปุ่น เพาะพันธ์ุด้วยไข่ คุณสมบัติ เป็นการขยายรากพืช รากเยอะ ผลผลิตดูดอาหารได้เยอะ ส่งผลผลิตได้มาก ข้อดีอีกทาง คือ ช่วยบำบัดน้ำเสีย ด้านปศุสัตว์

3.มะนาวดอง เก็บไว้กินนานๆ อยากกินต้มฟักมะนาวดอง ต้มผักกาดมะนาวดอง เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้มีราคาเพิ่มมากขึ้น จากการขายมะนาวลูก จะตก ที่ลูกละ 50 สต. 2 ลูก 1 บาท ปรับสูตรแล้วมาทำมะนาวดอง จะได้ผลผลิตลูกละ 5 บาท

ทั้งหมดนี้ คือ นวัตวิถี เมืองสิงห์บุรี การมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบการเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นวิถีชีวิต วิถึการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบที่เรามอบความวางใจให้ จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพัฒนศักยภาพชุมชนต้นแบบสู่มาตรฐานระดับสากล

ช่วงบ่ายของวันนี้ คุณทอดด์พาทีมงานมาเที่ยวชมวัดวิหารแดง ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี เริ่มต้นสบายๆ อย่างสนุกสนาน ด้วยการต้อนรับ แบบสนุกสนานของชาวบ้าน รำกลองยาว เป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้าน โดยมี
คุณสุกัลยา สืบเพ็ง เป็นเล่าประวัติความเป็นมาของวัดร้างในอดีต วัดวิหารแดง หลวงพ่อแดง เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ ตำบล บางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ห่างจากอนุสาวรีย์วีระชนบางระจัน ประมาณ 6 กิโลเมตร จากหลักฐานบางอย่าง (เช่นอิฐก่อสร้างวิหาร) เชื่อได้ว่า วัดวิหารแดง เป็นวัดสมัยเดียวกันกับ “วัดโพธิ์เก้าต้น”ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยไปฟังเรื่องราวต่อไป

การเดินทางของ ทอดด์ ทองดี นวัตวิถี เมืองสิงห์บุรี

วัดวิหารแดง หมู่ 11 ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบาง
ระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16150

หยก สุริยา เจ้าแรกของสิงห์บุรี
ปิดท้ายทริปนี้ ด้วยการชมต้นไม้ที่สร้างชื่อให้กับหมู่บ้าน “หยก สุริยา”
และ “หยก ม่วงสุริยา”ของคุณลุงนพดล บุษบงค์ อายุ 59 ปี ในอดีตคุณครูผู้หลงไหล ต้นไม้ กล้วยไม้ จัดสวน ไม้ดอก ไม้ประดับ คุณลุงนพดลฝันอยากมีสวนสวย และร้านขายต้นไม้เป็นของตนเอง

ต้นหยก มีรูปแบบการเจริญเติบโตแตกต่างกันออกไป  โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
-รูปเขากวาง (Forming a cluster) ประกอบด้วยกิ่งแขนงแตกเป็นกลุ่ม รอบโคนต้น คล้ายเขากวาง บนขอบหรือสันกิ่งมีใบและหนามขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เช่น หยกพันธุ์มงคล และพันธุ์มังกรแดงหยก

-แผ่เป็นรูปพัด (Fan shaped) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผงรูปพัด แนวสัน (ridges) เป็นริ้วอยู่ทั่วแผง มีใบและหนามอยู่บนสัน ต่อมาใบจะร่วงเหลือแต่บริเวณใกล้ เรือนยอด (crowing tip) ส่วนหนามจะคงอยู่ทั่วแผง เช่น หยกพันธุ์ทองนพเก้าและพันธุ์ทองคํานพคุณ

-แบบคลื่น (branched crested) เป็นต้นเดี่ยวที่แขนงติดกันเป็นแผงสวยงาม เป็นระนาบเดียวรูปพัด แต่จะพัฒนาแผ่ซ้อนเป็นร่อง  คลื่นคล้ายงูเลื้อย (forming a snaky ridge) เช่น หยกพันธุ์เบญจรงค์ และ พันธุ์ทับทิม เนื้อหยกจะมี 2 ลักษณะ คือ หยกเนื้อทึบ ซึ่งเนื้อหยกจะมีคลอโรฟิลล์ข้างในสีเขียว และหยกเนื้อใส เนื้อข้างในจะใสไม่มีสีคลอโรฟิลล์ หยกเนื้อใสจะเจริญเติบโตช้ากว่าหยกเนื้อทึบ หยกทั้งสองชนิดมีชื่อเรียกสายพันธุ์ต่าง ๆ หรือในวงการค้าเพื่อไม่ให้เกิดการสับสบในเรื่องชื่อ จึงใช้ โทนสีบนแผงของหยก เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

โดยหลังเกษียณอายุราชการ คุณลุงนพดล มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่สร้างชีวิตใหม่กับแรงบันดาลใจ คือ ต้นหยกที่คุณลุงพยายามศึกษาข้อมูล จากการอ่านหนังสือ ค้นคว้า ทดลอง ลงมือทำหลายครั้ง จนเป็น เจ้าแรกของสิงห์บุรีที่ทำสำเร็จพร้อมขายส่งออกอย่างมหาศาล ทำรายได้เข้าสู่ครอบครัว จากความตั้งใจครั้งนี้ คุณลุงนพดล ซื้อที่ดินกว่า 3 ไร่ พร้อมบ้านพัก ที่สำคัญ ได้เปิดเป็นร้านขาย ต้นไม้หลากหลายชนิด อย่างที่ใจต้องการ ในร้านที่ชื่อว่า สวน ตะวันแสนภูมิ การจัดสวนด้วยตัวเอง สามารถทำได้อย่างง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแวะมาหาต้นไม้ราคาถูกกลับบ้านกันคะ

ขอบคุณ :  
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี