GFC (เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์) ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยากแบบครบวงจร

GFC เผยไทยมีแนวโน้มอัตราการเจริญพันธุ์เหลือ 1.5 เทียบเคียงประเทศญี่ปุ่น
เกิดจากความพร้อมมีบุตรอายุเกิน 35 ปี ส่งผลให้เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก
พร้อมเปิดตัว Eeva เทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนที่แม่นยำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย GFC (เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์) ศูนย์รวมบริการทางการแพทย์สำหรับมีบุตรยากแบบครบวงจร ระบุอัตราการเจริญพันธุ์รวมของประเทศไทยลดลงเหลือเพียง 1.5 เทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น

เนื่องจากกลุ่มคนวัยทำงานตัดสินใจมีลูกในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป ส่งผลให้อยู่ในภาวะมีบุตรยาก จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้าช่วยพร้อมเปิดตัว Eeva เทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนใหม่ล่าสุดซึ่งนำมาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีประสิทธิภาพแม่นยำ สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 70 %เมื่อเทียบค่ามาตรฐานทั่วไป

นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (GFC)

นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (GFC) ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเปิดเผยว่า จากผลการสำรวจและสถานการณ์ของประชากรในปัจจุบันประเทศไทยเป็น 1ใน23 ประเทศที่มีงานวิจัยระบุว่า ในอีก 80 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรจะลดลงจาก 71 ล้านคน เหลือเพียง35 ล้านคน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ค่านิยมการอยู่เป็นโสด ผู้หญิงมีความสามารถและการศึกษาสูงขึ้น ต้องการทำงานสร้างฐานะเป็นอันดับแรก ชะลอเรื่องการแต่งงานมีครอบครัวประกอบกับข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุขพบว่าสถิติทางสาธารณสุขของอัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rate – TFR) ของประเทศไทยลดลงเหลือเพียง 1.5 ซึ่งเป็นอัตราเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่น และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานและก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวจากการที่กลุ่มคนวัยทำงานตัดสินใจมีบุตรในช่วงอายุที่มากขึ้น ประกอบกับความเครียดจากการทำงาน ทำให้คู่สมรสหลายคู่ต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์จากปัจจัยดังกล่าว GFC ในฐานะที่ปรึกษาและศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่เปิดดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 5มองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจและแสดงถึงศักยภาพทางการแพทย์ของไทยโดยพบว่าในปี 2562 การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศราว4,500 ล้านบาท

“ปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทช่วยด้านการเจริญพันธุ์นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีศักยภาพที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มลูกค้าของ GFC เป็นคนไทยประมาณ90% ส่วนอีก10% เป็นกลุ่มที่สามีหรือภรรยาเป็นคนไทยกับคนต่างชาติ”

นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ กรรมการบริหาร/ กรรมการด้านการเงินและพัฒนาธุรกิจ

ด้าน รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศริริราชและประธานกรรมการบริหาร เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC) กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาการมีบุตรยากของคนไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปีเนื่องจากรอความพร้อมด้านการเงิน หน้าที่การงาน ส่งผลให้แต่งงานช้าลง โดยความต้องการมีบุตรอายุเฉลี่ยอยู่ที่35 – 40 ปีซึ่ง85% ของคู่สมรสจะสามารถมีบุตรได้ภายใน 1 ปี หลังการแต่งงานและ 95% ของคู่สมรสจะมีบุตรได้ภายใน 2 ปี หากเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะถูกจัดในภาวะมีบุตรยากซึ่งการมีบุตรตอนอายุมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35ปี ขึ้นไปความสมบูรณ์ของไข่จะมีน้อยและคุณภาพไข่ไม่ดี ส่วนผู้หญิงที่อายุเกิน 48ปี
ไม่ควรท้องด้วยวิธีธรรมชาติ

เนื่องจากเป็นช่วงที่สุขภาพและความพร้อมของร่างกายไม่สมบูรณ์เต็มที่เหมือนช่วงวัยหนุ่มสาวส่งผลให้เด็กที่เกิดมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมได้ดังนั้นการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะวิธีทำเด็กหลอดแก้วและNGS เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของโครโมโซม

รศ.นพ.พิทักษ์ เลาห์เกริกเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศริริราชและ
ประธานกรรมการบริหาร เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ (GFC)

พญ. ปรวัน ตั้งธรรมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ของ Genesis Fertility Center และผู้ก่อตั้งเพจ มีลูกยาก ปรึกษา หมอมิ้งค์
กล่าวเสริมว่า GFC มีเทคโนโลยีชื่อ Eeva ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเลือกตัวอ่อนใหม่ล่าสุด ที่ GFC Clinic นำมาใช้แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีใช้ในต่างประเทศมาประมาณ 5 ปี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเลือกตัวอ่อนได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำ เนื่องจากมีการนำระบบ AI มาใช้ในการตรวจจับการเติบโตของตัวอ่อน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดในการนำมาฝังตัว ซึ่งเมื่อทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจ NGS จะสามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง73%เมื่อเทียบกับมาตรฐานที่อื่นซึ่งมีอัตราตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณ30-50% สำหรับจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือการเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแยกของแต่ละเคส โดยตู้เลี้ยง 1ตู้สำหรับ1 คนไข้ ไม่ใส่รวมปะปนกัน เพื่อลดการรบกวน พร้อมควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม เพราะเราให้ความสำคัญกับความสำเร็จของคนไข้เป็นอันดับแรก พญ.ปรวัน ตั้งธรรม -กล่าว

พญ.ปรวัน ตั้งธรรมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ของ Genesis Fertility Center
และผู้ก่อตั้งเพจ มีลูกยาก

พร้อมกันนี้ ยังได้สร้างช่องทางในการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ โดยได้ทำ
การไลฟ์สดผ่านทางเพจเฟซบุ้กทุกๆ 2 สัปดาห์ เน้นเนื้อหาเหมือนคุณหมอมา
จัดรายการวิทยุให้ฟัง เพื่อให้คนที่มีปัญหาหรือต้องการ สอบถามข้อมูล ได้เข้ามาถาม-ตอบกันแบบสดๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.genesisfertilitycenter.co.th
หรือที่เฟซบุ้ก www.facebook.com/GFC.Bangkok/

ททท. ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวหลังวิกฤต COVID 19 “มั่นใจไทยเที่ยวได้”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวโครงการสร้างความมั่นใจในการท่องเที่ยว และการเดินทางภายในประเทศ หลังวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ภายใต้แนวคิด “ไทยพร้อมเที่ยว…มั่นใจไทยเที่ยวได้” ระหว่างเดือนธันวาคม – เมษายน 2564 นี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางด้วยความรู้สึกมั่นใจในผู้ประกอบการไทยที่พร้อมดูแล รับผิดชอบ และให้ความปลอดภัยด้านสุขอนามัยได้เป็นอย่างดี เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับฤดูกาลการท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึงนี้

นาย อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า วิกฤต COVID-19 ที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างเผชิญกันอยู่นี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วทุกมุมโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวมากถึง 17.64% ตามรายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปี 2562 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ ทำให้การท่องเที่ยวภายในประเทศต้องหยุดชะงัก อัตราการเข้าพักโรงแรมเหลือเพียง 0-5% จากนักท่องเที่ยวภายในประเทศเอง และนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourism Visa (STV) เท่านั้น ส่งผลให้ธุรกิจสายการบิน และโรงแรมประสบปัญหารุนแรงที่สุดตั้งแต่เคยมีมา

เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทย และสร้างความเข้าใจในกระบวนการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourism Visa (STV) พร้อมทั้ง สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการคัดกรอง และการกักตัวของนักท่องเที่ยวกลุ่ม STV นี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกระแสที่สร้างความกังวลใจเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของการท่องเที่ยว การเข้าพักโรงแรม และการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นอย่างมาก

ททท. จึงเร่งดำเนินการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางให้นักท่องเที่ยวชาวไทย ในช่วงก่อนฤดูกาลการท่องเที่ยวที่จะมาถึงนี้ ผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจโดยใช้ช่องทาง Online และ Social Media ต่าง ๆ รวมถึงผนึกกำลังกับพันธมิตรธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ โรงแรม ร้านอาหาร ทั่วประเทศจัดกิจกรรม เพื่อประชาสัมพันธ์และกระตุ้นให้ตลาดท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง อาทิ สายการบิน Thaismile ร่วมสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางและสนับสนุนตั๋วเครื่องบิน ไป – กลับ ในประเทศ, บัตรเครดิต KTC ร่วมประชาสัมพันธ์พร้อมมอบส่วนลดพิเศษให้แก่ลูกค้า ทั้งตั๋วเครื่องบิน รถเช่า และที่พัก ผ่านช่องทาง KTC World Travel Service, บริษัทเทเวศประกันภัย มอบประกันโควิดผ่านกิจกรรมของโครงการ, Chic Car Rent ร่วมสร้างความมั่นใจในการเดินทาง พร้อมโปรโมชั่นรถเช่าราคาสุดพิเศษ, แคมเปญแจกที่พักในกิจกรรม Free Gift ผ่านแอพพลิเคชั่น TrueYou รวมถึงโรงแรมสุดหรูในเครือ Cape & Kantary Hotels และ Baba Beach Club ที่ร่วมเป็นพันธมิตร

ทั้งนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ผ่านการทำ Influencer Marketing โดย KOLs Bloggers Influencers และ Nano Influencers จำนวนมาก เพื่อให้เกิดกระแสความต้องการเดินทางภายในประเทศ ทั้งท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง

สามารถติดตาม www.facebook.com/munjaithaitiewdai เพจที่จะให้ความรู้กับให้นักท่องเที่ยวชาวไทย เรื่องการดูแล และป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก COVID-19 สร้างความเข้าใจในมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว หรือ SHA ตอกย้ำความมั่นใจในกระบวนการการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourism Visa (STV) และเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวครั้งต่อไป ผ่านคอนเท้นต์ และกิจกรรมออนไลน์มากมาย

เปิดแนวคิด นโยบายเรือนจำท่องเที่ยว

อายุตม์ สินธพพันธุ์
อธิบดีกรมราชทัณฑ์

จากนโยบาย ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ในการพัฒนาพื้นที่เรือนจำทัณฑสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะด้านต่างๆ สามารถต่อยอดเป็นอาชีพหลังพ้นโทษได้อย่างยั่งยืน จนปรากฏผลเป็นรูปธรรม และเมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดโครงการเรือนจำท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “Cook & Coff @ราชบุรี ท่องเที่ยวเกษตรวิถี…คืนคนดีสู่สังคม”
ล่าสุด อธิบดีกรมราชทัณฑ์ สานต่อนโยบาย รมว.ยุติธรรม ในการนำพื้นที่บริเวณโดยรอบเรือนจำเพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งเพื่อสร้างความหวังและประกายแห่งความเชื่อมั่นที่ดีของสังคมในการหยิบยื่นโอกาสให้ผู้ต้องขังให้กลับตัว แก้ไขสิ่งผิด มีรายได้เลี้ยงตนเอง และยังเพื่อทำให้พื้นที่เรือนจำก่อให้เกิดประโยชน์ รวมถึงเตรียมนำเรือนจำท่องเที่ยวมาจัดนิทรรศการในงาน นิทรรศการกรมราชทัณฑ์ ที่เรือนจำกลางคลองเปรมในเดือนพฤษภาคมนี้อีกด้วย

ทำพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ พัฒนาพื้นที่เรือนจำ-ทัณฑสถานเปิดทุกจังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชื่อเป็นประโยชน์ผู้ต้องขังได้ฝึกอาชีพ จากจำนวนเรือนจำทั่วประเทศ 143 แห่ง ปัจจุบัน ได้เริ่มมีการนำร่องใช้พื้นที่เรือนจำชั่วคราวและด้านหน้าเรือนจำที่มีพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในการนำร่องปรับเป็นเรือนจำท่องเที่ยว นำร่อง 5 แห่งในปี 2563 และ ในปี 2564 เตรียมดำเนินการเพิ่มเติม 24 แห่ง
นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงที่มาของเรือนจำท่องเที่ยวว่า เรือนจำท่องเที่ยวเกิดจากนโยบายของ พณ.รมว.ยุติธรรม สมศักดิ์ เทพสุทิน ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศมีจำนวน 143 แห่ง เรือนจำท่องเที่ยวเราใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเรือนจำชั่วคราวและหน้าเรือนจำที่มีด้านหน้า ด้านข้าง เพื่อปรับเป็นแหล่งท่องเที่ยว คำว่าเรือนจำท่องเที่ยว ไม่ใช่หมายถึงท่องเที่ยวในเรือนจำ แต่หมายถึงพื้นที่ด้านหน้าเรือนจำ เหมือนคำโบราณที่เรียกว่า หับเผย หับแปลว่าปิด เผยแปลว่าเปิดออก เหมือนประตูคุก ที่ท่องเที่ยวบางที่อยู่ที่หน้าเรือนจำชั่วคราว บางที่อยู่หน้าเรือนจำ ส่วนเรือนจำที่ทำแล้ว ได้แก่ เรือนจำชั่วคราวดอยคาจังหวัดเชียงราย เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้งจังหวัดเพชรบุรี เรือนจำชั่วคราวเขาระกำจังหวัดตาก เรือนจำชั่วคราวเขาไม้แก้วจังหวัดระยอง และที่เรือนจำชั่วคราวสวรรคโลก หลักการคือ เราทำพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ มีการฝึกเรื่องทำอาหาร ทำกาแฟให้กับผู้ต้องขัง ก็นำมาด้านหน้าให้มีร้านกาแฟของเรือนจำแต่ละแห่ง Cook &Coffในพื้นที่นั้นอาจจะมีการประกอบอาหาร ขายกาแฟ และพื้นที่ที่ทำเกษตรพอเพียง โครงการพระราชทาน โคก หนอง นา น้ำใจแห่งความหวังด้วย รองรับธุรกิจการบริการและท่องเที่ยวในอนาคต เพื่อเป็นแหล่งศึกษาโครงการพระราชทานเกษตรทฤษฎีใหม่”

สร้างอาชีพ สร้างรายได้
ในแต่ละพื้นที่ของเรือนจำท่องเที่ยว จะถูกปรับแปลงโฉมให้เหมาะสมตามโลเคชั่น และเพื่อให้เป็นที่สนใจและน่าเข้ามาท่องเที่ยวของประชาชน
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า “โดยในปี 2563 ได้มีการดำเนินการนำร่องมาแล้ว 5 แห่ง และปี 2564 จะมีเพิ่มเติม 24 แห่ง ซึ่งตอนนี้ รมว. ยุติธรรม เปิดไว้ 2 แห่ง ต้องเรียนว่ามีเรือนจำอีกหลายแห่งที่ทำล่วงหน้าไปแล้ว อย่างที่สวรรคโลก ซึ่งกิจกรรมเรือนจำท่องเที่ยวมีหลายกิจกรรมขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่อย่าง
ทัณฑสถานเปิดห้วยโป่ง มีกิจกรรมอาชาบำบัด โดยการนำม้ามาให้ประชาชนขี่ในช่วงเวลาว่าง หรือการบำบัดเด็กพิเศษ โดยมีผู้ต้องขังเป็นผู้จูงม้าโดยแต่ละแห่ง
จะมีการประกอบอาหาร การทำร้านกาแฟ ร้านค้าผลิตภัณฑ์งานฝีมือของผู้ต้องขังจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งการฝึกการประกอบอาหารถือเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับผู้ต้องขัง” เพื่อสร้างทักษะความชำนาญในสถานที่ปฏิบัติงานจริง และยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ต้องขังให้กับผู้ที่มาเยี่ยมถือเป็นการสร้างรายได้จากการฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขังภารกิจการคืนคนดีสู่สังคม เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการสร้างโอกาสการยอมรับจากสังคมภายนอก

ยกเรือนจำท่องเที่ยวร่วมโชว์
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า การสร้างความประทับใจให้กับประชาชนที่มาท่องเที่ยว location แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งมีบึงน้ำกว้าง เช่น เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ ก็จะมีกิจกรรมกีฬาทางน้ำ มีพายเรือคายัค มีการขายสเต็ก ด้านเปิดทัณฑสถานห้วยโป่งมีการจำหน่ายผัดไท แต่ละแห่งมีความแตกต่างไม่เหมือนกันซึ่งในประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน จะมีงานนิทรรศการกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจำหน่ายสินค้าหลายอย่างส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์จากการฝึกอาชีพของผู้ต้องขัง ปกติจะจัดขึ้นทุกปีอยู่แล้ว แต่เรื่องเรือนจำท่องเที่ยว ปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีการนำมาจัดนิทรรศการร่วมด้วย

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายหลายโซน อาทิ การแข่งขันการทำอาหารโดยทัณฑสถานหญิงแต่ละแห่งแข่งขันการทำผัดไท ทำไข่พะโล้ ส่วนทัณฑสถานชาย จะมีการแข่งทำราดหน้า หมูปิ้ง ผัดซีอิ๊วเป็นต้น และที่สำคัญมีการแสดงผลผลิตจากโครงการพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนอง นา น้ำใจแห่งความหวัง “และที่แตกต่าง คือ โซนจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์กรมราชทัณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น ไม้ชิงชัง ไม้ประดู่ ไม้พะยูง รวมถึงงานดีไซน์ใหม่ๆ
ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์ได้ทำ MOU กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้ ซึ่งจะทำให้รูปแบบงานดีไซน์ดีขึ้นจากในอดีตในส่วนภาคใต้
เช่น นราธิวาส ยะลา ปัตตานี การเดินทางค่อนข้างไกล จึงไม่ค่อยได้นำสินค้า
ขึ้นมาร่วมจำหน่ายในงาน ส่วนใหญ่จะจัดนิทรรศการในพื้นที่ภาคใต้แต่ปีนี้
จะนำขึ้นมาจัดแสดง และจำหน่ายด้วยที่บริเวณด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม”