Category Archives: Sports

Sports Lifestyle

ไปเที่ยวใหม่ ให้ใจฉ่ำ ดื่มด่ำวิถีระยอง ในมุมมองน่ารัก สไลว์ไลฟ์ริมชายหาด  อัศจรรย์ป่าชายเลน เดินเล่นสวนไม้หอม

ความเร่งรีบกดดันในแต่ละวัน อาจทำให้คนเราสะสมความเครียดไว้โดยไม่รู้ตัว ทางออกที่ดีคือการได้หยุดพักผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ พาตัวเองออกไปพบเจอกับมุมมองที่โล่ง โปร่ง สบายตา พร้อมเติมเต็มแรงบันดาลใจจากผู้คนรอบข้าง อย่างที่จังหวัดระยอง แม้จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ก็มีมุมสโลว์ไลฟ์ให้เลือกชิลอยู่หลายจุด ภายใต้บรรยากาศของท้องทะเลชายฝั่ง ที่ยังคงความเงียบสงบ

โครงการ “Refresh life …by the way ไปเที่ยวใหม่ ให้ใจฉ่ำ” โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยชวนออกเดินทางไปผ่อนคลายในมุมที่น่าชื่นตาชื่นใจ ในจังหวัดระยอง ขับรถออกจากตัวเมืองเพียง 5 กิโลเมตร ก็จะได้พักสายตาไปกับชายหาดที่ทอดยาว ไล่เรียงตั้งแต่หาดแหลมเจริญ หาดแสงจันทร์ ไปถึงหาดสุชาดา โดดเด่นด้วยโค้งเว้าของแนวกำแพงหินที่สร้างไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่ง และทำให้การลงเล่นน้ำเป็นไปอย่างปลอดภัย เรียงรายด้วยที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน ผสมผสานเรื่องราวของวิถีชาวประมงชายฝั่ง ที่ยังคงดำเนินไปอย่างเรียบง่าย

หาด Coffee Truck เพียงแรกพบก็ตกหลุมรัก
ประโยคที่ว่า “อยากไปนั่งโง่ ๆ ริมทะเล” แม้จะออกแนวประชดประชัน แต่สะท้อนภาพความผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี การได้นั่งเฉย ๆ สบาย ๆ ไม่ต้องคิดกังวลใด ๆ กลายเป็นเทรนด์ฮิตบนชายหาดแหลมเจริญ บรรดา Food Truck และ Coffee Truck พร้อมบูทจำหน่ายสินค้าและอาหารแบบดั้งเดิม เรียงรายไปตลอดทาง แต่ก็ทิ้งระยะห่างเพื่อสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้ทุกคนได้สัมผัส

ที่โดดเด่นมากในตอนนี้คือบรรดา Coffee Truck คาเฟ่เคลื่อนที่สไตล์มินิมอล ให้บริการกาแฟและเครื่องดื่มแบบต่าง ๆ มาพร้อมสไตล์ของตัวเอง เป็นสีสันใหม่ของการนั่งเล่นริมชายหาด นอกจากเมนูเด็ดของแต่ละร้านแล้ว การเลือกเก้าอี้ชายหาดเก๋ ๆ มาให้บริการฟรีสำหรับลูกค้า เป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวและชาวระยอง เข้ามานั่งเล่นกันตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะกลุ่มเพื่อน ครอบครัว หรือจะฉายเดี่ยว ต่างก็นั่งหันหน้าทิ้งสายตาไปกับทะเลกว้าง นับเป็นบรรยากาศการพักผ่อนที่ดีต่อใจสุด ๆ

วิถีชาวเล กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ
บริเวณชายหาดแหลมเจริญ เป็นที่ตั้งของชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง ภาพที่ทุกคนจะได้เห็นคือเรื่องราวชีวิตชาวประมงที่ยังคงสืบสานวิถีชีวิตของชาวบ้านชายทะเลที่มีมาอย่างยาวนาน คนเฒ่าคนแก่ไปจนถึงลูกเด็กเล็กแดง ยังทำประมงพื้นบ้านแบบดั้งเดิม และเต็มไปด้วยเสน่ห์เรียบง่าย อบอุ่นใจเมื่อได้พบเจอ

“ส้ม-กุสุมา ชูทอง ทรัพย์ประเสริฐ”สมาชิกวิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชนชายฝั่ง ต.ปากน้ำระยองเล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านบริเวณนี้เป็นประมงเรือเล็กพื้นบ้านที่ผูกพันกับทะเลมานานในทุกวันสามีของเธอจะออกไปวางอวนทิ้งไว้ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันรุ่งขึ้นก็จะออกไปเก็บอวนกันตั้งเช้ามืด จากนั้นเธอและลูก ๆ ก็นำมาคัดเลือกด้วยความระมัดระวัง เพราะสิ่งที่ติดอวนมาจะค่อนข้างพัลวัน หากเส้นอวนขาดก็ต้องเสียเวลาซ่อม จึงต้องใช้เวลานาน สมาชิกในบ้านก็ต้องมาช่วยกันทั้งหมด

ผลผลิตที่ได้ก็คละ ๆ กันไป ทั้งปูดำ ปูม้า ปูแป้น หอย ปลา รวมทั้งขยะที่ติดมากับอวน จึงต้องใช้เวลาทำความสะอาดเป็นอย่างดี ก่อนจะนำไปวางในทะเลอีกครั้ง เป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน สนใจมาชมแนะนำว่าให้มาประมาณแปดโมงเช้า เพราะเป็นช่วงที่มีผลผลิตมาก หากต้องการซื้อก็สามารถติดต่อได้ทันที บางเจ้าก็นำไปส่งให้ร้านอาหาร บ้างก็ส่งตลาดในระยอง บางส่วนก็วางขายกันหน้าหาด ในราคาแบบชาวบ้าน และรับประกันความสด นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น เช่น ปลาเค็ม ปลาแห้ง หมึกแดดเดียว ฯลฯ วางจำหน่ายริมสองข้างทางบริเวณหน้าหาด

ล่องเพลิน เดินชิล ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ
ระยองเป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์ที่จับต้องได้ไม่ยาก จากเอกลักษณ์ของตัวเมืองที่ติดทะเล โดดเด่นด้วยทรัพยากรอันสมบูรณ์ ชื่นตาชื่นใจจากความอลังการของผืนป่าชายเลนขนาดใหญ่ขนาด 500 ไร่ ครอบคลุม ต.ปากน้ำ และ ต.เนินพระ เป็นผืนป่าที่อยู่คู่เมืองระยองมาอย่างยาวนานประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น ต้นแสม โกงกาง เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหลากชนิด จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำคัญคือสวยงามมาก

ความอลังการของผืนป่ากว้างที่มองได้จากมุมสูง นอกจากการขึ้นหอชมวิวแล้ว สามารถเลือกที่พักริมชายหาดที่มองเห็นผืนป่าได้อย่างอลังการเช่น หาดแสงจันทร์ อันเป็นที่ตั้งของร้านอาหารและที่พักสวยหลายแห่ง รวมทั้ง “โรงแรมฟอร์จูน แสงจันทร์บีช ระยอง” ระเบียงของทุกห้องจะมองเห็นความอัศจรรย์ของสองฝั่ง ทั้งฝั่งชายทะเล และฝั่งของคลองที่ลัดเลาะเลียบแนวป่าชายเลน เป็นภาพประทับใจ ท่ามกลางการเข้าพักที่แสนสะดวกสบาย

โรงแรมฟอร์จูนแสงจันทร์ บีช ระยอง เป็นอีกหนึ่งโรงแรมในเครือฟอร์จูนกรุ๊ป
ซึ่งได้เปิดกิจการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัด ระยอง เป็นโรงแรม ระดับ 4 ดาวเลียบหาดแสงจันทร์เป็นโรงแรมน้องใหม่ที่ทันสมัยบรรยากาศริมทะเล ติดแม่น้ำ ที่สวยงาม มีการออกแบบโครงสร้างให้ทันสมัยรายล้อมด้วยทะเลอ่าวไทยที่อุดมสมบูรณ์และป่าชายเลน
ที่เขียวชอุ่ม ประกอบด้วย อาคารมีที่ห้องพักทั้งหมด 7 ชั้น

ห้องพักจำนวน 107ห้อง ประกอบไปด้วยห้องพัก ห้องดีลักซ์ 48 ห้อง/28.5 ตร.ม. ดีลักซ์ ซี วิว 16 ห้อง/28.5 ตร.ม. ดีลักซ์ ริเวอร์วิว 28 ห้อง/28.7 ตร.ม. พรีเมียร์ 1 ห้อง/44 ตร.ม. พรีเมียร์ ซี วิว 12 ห้อง/29.1 ตร.ม.เอ็กเซ็คคูทิฟ สวีท ซี วิว 2 ห้อง/58.8 ตร.ม. มีสระว่ายน้ำกลางแจ้ง รวมถึงร้านอาหารไทยร่วมสมัย อาหารท้องถิ่น ห้องฟิตเนส และห้องประชุม ห้องประชุมแสงจันทร์ธารา พื้นที่217 ตร.ม.จ รองรับได้ถึง 200 ท่าน ขึ้นไป

ทั้งนี้ โรงแรมฟอร์จูนแสงจันทร์ บีช ระยอง  ได้การยอมรับด้วยมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุดในการให้บริการ SHA” จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประกาศนียบัตรจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นเครื่องยืนยันความปลอดภัย อีกทั้ง  โรงแรม ยังตอบสนองของนโยบาลรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ โครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งโรงแรมในเครือฟอร์จูน เป็นโรงแรมอยู่ตามสถานที่ท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือหรือเดินเล่นบนสะพานเลียบป่าชายเลนระยะทางยาวกว่า 7 กิโลเมตรเพื่อชื่นชมความงดงามของ “ป่าในเมือง” หรือทีเรียกกันว่า“ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ” ด้วยความโดดเด่นของเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำ ล้อมด้วยป่าชายเลนท่ามกลางอากาศอันบริสุทธิ์สร้างขึ้นตั้งแต่งปี พ.ศ. 2416 เพื่อแสดงให้ผู้ที่เดินเรือรู้ว่ามาถึงระยองแล้ว สามารถเดินล่องเรือหรือขับรถเข้าไปชมได้อย่างสะดวก

กรุ่นกลิ่นกฤษณา กับช่วงเวลาแสนผ่อนคลาย
เพราะกลิ่นเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความผ่อนคลาย ในเส้นทางเที่ยวระยองครั้งนี้ จึงขอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สอดแทรกความรู้เรื่องไม้กฤษณา พร้อมช่วงเวลาอันน่าประทับใจ ในพื้นที่ของ “มีสุข ฟาร์ม” (Mesook Farm)ต.กะเฉด อ.เมือง จ.ระยอง 

“พิกุล กิตติพล”ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณาเล่าว่าในพื้นที่กว่า 200 ไร่ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อปลูกป่าเบญจพรรณ เช่น ไม้สักยางนา มะค่าโมง มะค่าแต้ รวมทั้งประดู่ กระถินณรงค์ และต้นไผ่กว่า 180  ชนิด นับเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกไม้กฤษณาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีการส่งออกไม้ น้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากกฤษณา ไปกว่า 10 ประเทศ

มาแล้วต้องแวะร้านจำหน่ายสินค้า “บ้านมีสุข” มีผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณากว่า 40 ชนิด เช่นธูปปั้น ธูปหอม น้ำมันหอม น้ำหอมระงับกลิ่นกาย โลชั่น แชมพู เซรั่มโฟมล้างหน้า ฯลฯ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาอุดหนุนสินค้า จะได้สัมผัสกับน้องหมาซามอยด์แห่งผืนป่ากฤษณาที่จะร่วมแอคท่าถ่ายรูปกับทุกคน

“มีสุข ฟาร์ม” ยังนำเสนอความสุขของการเข้าพักในสวนป่าที่รายล้อมบึงน้ำขนาดใหญ่  มีบริการทั้งที่พัก และร้านอาหาร “คาเฟ่ มีสุข” ให้บริการอาหารท้องถิ่นเมนูเพื่อสุขภาพที่ได้รับรางวัลเชฟชุมชน พร้อมเครื่องดื่มนานาชนิดพร้อมเมนูซิกเนเจอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันกฤษณาที่ให้ความหอมและผ่อนคลาย อาทิ กาแฟน้ำผึ้ง กฤษณามรกต กฤษณารัญจวน ฯลฯ อิ่มแล้วก็ไปพบกับฐานการเรียนรู้แนวแอดเวนเจอรอีก 14 ฐาน หรือจะออกไปพายเรือ เดินชมน้องควาย น้องแพะ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย

มีสุขฟาร์ม
(ห่างจากตัวเมือง 42 กิโลเมตร)
เปิดบริการทุกวัน : 09.00 – 17.00 น. โทร. 0828987886
(กรุณาติดต่อล่วงหน้า สำหรับกิจกรรมฐานเรียนรู้ และการเข้าชมเป็นหมู่คณะ)

ใครที่อยากเติมพลังรับพลังธรรมชาติตามศาสตร์ฮวงจุ้ย แนะนำได้เดิมข้าม“สะพานเปี่ยมสุข” และ “สะพานแขวน” ที่ได้รับการยืนยันจากปากของซินแสขาวสิงคโปร์ว่า สายลมที่พัดโชยในผืนป่ากว้าง พร้อมอากาศอันบริสุทธิ์
ถือเป็นแหล่งรับพลังที่ดีมาก

 ออกไปผ่อนคลายในบรรยากาศอันน่าชื่นใจที่จังหวัดระยอง กับโครงการ “Refresh life …by the way ไปเที่ยวใหม่ ให้ใจฉ่ำ” โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ชวนท่องเที่ยวเมืองไทย ไปซบไหล่ธรรมชาติ รับพลังอันแสนบริสุทธิ์ พร้อมสนับสนุนแง่มุมดี ๆ ให้กับชุมชน ถือเป็นเส้นทางแห่งความสุขและการส่งต่อแรงบันดาลใจ เติมพลังจิตพลังใจก่อนที่จะกลับมาต่อสู่กับงานอีกครั้ง

วิสาหกิจชุมชนชายฝั่ง ต.ปากน้ำระยอง (กุสุมา ชูทอง)
โทร.0824618933
(มีบริการปูนึ่งพร้อมน้ำจิ้ม-หากต้องการเนื้อปูแกะต้องสั่งล่วงหน้า)

ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 06:00 – 18:00 น.

สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 1  โทร. 038 020 070
ติดต่อเรือ โทร. 095225 7993
(เรือออกช่วงบ่าย ค่าบริการรอบละ 300 บาท นั่งได้ 6 ท่าน)
ททท.สำนักงานระยองโทร : 038 655 420

theAsianparent (ดิเอเชี่ยนพาเรนท์) เผยโฉมสุดยอดแบรนด์ผลิตภัณฑ์ บริการ เพื่อแม่และเด็ก

สื่อโซเชียลสายครอบครัวแห่งปี ในเวทีการประกวด ‘theAsianparent Awards 2022’

นางนิธินันท์ อัศวทร กรรมการบริษัท ทิคเคิลด์ มีเดีย จำกัด ผู้บริหาร theAsianparent ประเทศไทย คอมมูนิตี้ออนไลน์อันดับ 1 เรื่องแม่และเด็ก ครบเครื่อง ครอบคลุม ทุกเรื่องในครอบครัว จัดงานประกาศผลและมอบรางวัล theAsianparent Awards 2022 (ดิเอเชี่ยนพาเรนท์ อวอร์ด 2022) หรือ TAP Awards สุดยอดแบรนด์ผลิตภัณฑ์ บริการ เพื่อแม่และเด็ก และเหล่าคุณแม่ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อโซเชียลแห่งปี 2565 โดยในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 81 รางวัล โดยได้แบ่งการประกวดออกเป็น 5 กลุ่มรางวัล ประกอบด้วย Experts’ choice awards, Parents’ choice awards, Proudly Local awards, Most Promising awards และ Most Innovative awards โดยมีแบรนด์ชั้นนำที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลรวม 315 แบรนด์ จาก 74 หมวดสินค้า พร้อมรางวัลพิเศษที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับผู้ทรงอิทธิพลด้านสื่อโซเชียลสายครอบครัว ที่มอบให้แก่สุดยอด influencer ที่พ่อแม่ชื่นชอบ ซึ่งรางวัลในกลุ่มต่างๆ ได้รับการตัดสินจากคะแนนโหวตของเหล่าพ่อแม่บนแพลตฟอร์มของ theAsianparent ที่ร่วมโหวตกว่า 2,448 โหวต และจากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงดูบุตรจากโรงพยาบาลชั้นนำของไทย

GIT จับมือ eBay สร้างความเชื่อมั่น หนุนอัญมณีและเครื่องประดับขยายตลาดออนไลน์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ประกาศความร่วมมือ บริษัท อีเบย์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ eBay ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU เดินหน้าสร้างความความเชื่อมั่นสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย พร้อมหนุนผู้ประกอบการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ ผ่าน eBay Marketplaces แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับชั้นนำของโลก

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ GIT เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบัน เห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2565 เติบโตได้ร้อยละ 76.33 เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 5,545.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 9,778.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.66 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,439.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วยเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 36.16 และตลาดส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ก็ยังมีอัตราการขยายตัวตัวเนื่อง นอกจากนี้ ช่องทางออนไลน์ ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างมาก


GIT ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้ร่วมมือกับ บริษัท อีเบย์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ภายในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดออนไลน์ ผ่าน eBay Marketplaces ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับชั้นนำของโลก โดยมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้โครงการซื้อด้วยความมั่นใจ Buy with Confidence หรือ BWC
ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง การซื้อขายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ผู้ซื้อไม่มีโอกาสเห็นสินค้าจริง บ่อยครั้งมักเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและคุณลักษณะของสินค้า ซึ่งการจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบและออกใบรับรองนั้นจากแลปที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะเป็นเสมือนใบรับประกันคุณภาพว่าอัญมณีและเครื่องประดับนั้นเป็นของแท้ คุณสมบัติตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และนำไป
สู่มูลค่าทางการค้า รวมถึงสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศด้วย

นายวิทเมย์ ไนยนี ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย eBay International CBT (Cross Border Trade) กล่าวว่า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “อัญมณีทั้งแบบเม็ดและขึ้นเรือนเป็นเครื่องประดับเป็นกลุ่มสินค้าขายดีอันดับต้น ๆ ที่ผู้ขายจากไทย ทำการขายและส่งออกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกผ่านอีเบย์ ในวันนี้ จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับสถาบัน GIT ซึ่งเมื่อมีโครงการ “ซื้อด้วยความมั่นใจ” หรือ Buy with Confidence จะยิ่งช่วยยกระดับความมั่นใจของผู้ใช้อีเบย์ 138 ล้านคนทั่วโลกที่มีต่อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย และช่วยให้ยอดขายของผู้ขายชาวไทยพัฒนาไปได้เร็วขึ้น พร้อมกันนี้ ยังมีโครงการ eBay NextGen ที่จะมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่เอสเอ็มอีผู้ประกอบกิจการเครื่องประดับ ที่มาเปิดร้านออนไลน์บนแพลตฟอร์ม
ของอีเบย์”

นอกจากการลงนามลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU แล้ว ภายในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67 GIT ยังเปิดให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองอัญมณีและเครื่องประดับแบบ Onsite ณ คูหาเลขที่ A01, 03, 05 และ B02, 04 ,06 และยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การสัมมนาหัวข้อ Next Step for Gem and Jewelry METAVERSE, New Level up of Thai Silver และ Workshop จี้เงินตาไม้ ที่คุณจะได้รับเครื่องประดับที่มีชิ้นเดียวในโลก หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2565

ณ คูหา Gems Treasure บริเวณด้านหน้าทางเข้า Challenger Hall 2
อิมแพ็ค เมืองทองธานี อีกด้วย

ครบรอบ 19 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เปิด ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล

ถ่ายทอดความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ชุมชม เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตอย่างยั่งยืน “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล พัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งสร้างผลงานที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับสู่สังคม มีนโยบายที่จะขยายขอบเขตสู่การบริการภาคชุมชนและงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างธุรกิจฐานรากในชุมชน จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” หวังนำองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ กล่าวถึง วาระครบรอบ 19 ปีของการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยแนวนโยบายของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะขยายขอบเขตงานสู่การบริการภาคชุมชนและงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรม สร้างธุรกิจฐานรากในชุมชน แลในวันครบรอบการจัดตั้งศูนย์ฯ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2565 นี้ ทางศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรม “เดิน-วิ่ง HALAL SCI FUN RUN 2022” พร้อมพิธีเปิด “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” และพิธีเปิดอาคาร “เอร์ฟาน-ยุพา ดะห์ลัน” อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่ในการดำเนินงาน จากมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 89 หมู่ 4 ตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และยังได้รับเกียรติจาก นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นประธาน

จากโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยการแปรรูป รวมถึงการปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรไปสู่การผลิตอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่เป็นที่ต้องการของตลาดจากวัตถุดิบทางการเกษตรและพืชในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แพลนต์เบส ดังนั้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาลสามารถช่วยในการเพิ่มมูลค่าผลิตทางการเกษตรได้

“ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านนวัตกรรมฮาลาล” (Halal Innovation Community Learning Center) เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ ซึ่งมีนโยบายร่วมกันที่จะสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่ภาคชุมชน เป็นการต่อยอดภาคทฤษฏีสู่ภาคปฏิบัติ เน้นพัฒนาธุรกิจฮาลาลเพื่อเป็นโอกาสในการขยายตลาดของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงเป็นศูนย์ฝึกในการพัฒนานวัตกรรมฮาลาลในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบการเกษตร งานพัฒนาผลิตภัณฑ์คอสเมติก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยในการให้ความรู้กับประชาชนสู่ชุมชนในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีแผนงานที่ร่วมกับมูลนิธิมุฮัมมะดียะฮฺ เพื่อทำโรงเรียนสอนคิด (Thinking School) ให้กับเยาวชนในชุมชน เพื่อสร้างรากฐานกระบวนการคิดที่เป็นระบบ การสอนเพื่อให้เกิดการตั้งคำถาม เพื่อสร้างคนคุณภาพสู่สังคมต่อไป
รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย

รฟฟท.สวัสดีปีใหม่ไทยผู้โดยสารเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สวัสดีปีใหม่ไทยผู้โดยสารเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ จัดกิจกรรมการตลาดสุดพิเศษ เพื่อส่งมอบความสุข และความห่วงใยให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ โดยส่งมาสคอต “MR.RED Line” ออกแจกหน้ากากอนามัย KF94 (Korea Design) จำนวน 100,000 ชิ้น (10,000 ชุด) ภายในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงทุกสถานี และแจกบัตรของขวัญมูลค่า 200 บาท 50 รางวัล ให้แก่ผู้โดยสารที่ร่วมสนุกโพสต์ภาพการใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงลงใน Instagram ส่วนตัว และติดแฮชแท็ก #สวัสดีปีใหม่ไทยรถไฟฟ้าสายสีแดง และแท็กมาที่ Instagram red_line_srtet  

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่าเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2565 บริษัทฯถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ไทยผู้โดยสาร พร้อมส่งมอบความสุข และความห่วงใยให้แก่ผู้โดยสารด้วยกิจกรรมการตลาดทั้งรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์

โดยกิจกรรมการตลาดออฟไลน์ บริษัทฯส่งมาสคอต “MR.RED Line” เป็นตัวแทนอวยพรปีใหม่ไทยและแจกหน้ากากอนามัย KF94 (Korea Design) จำนวน 100,000 ชิ้น (10,000 ชุด) ภายในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงทุกสถานี ในวันที่ 11 – 12 เมษายน 2565 ระหว่างเวลา 06.00 – 18.00 น.

สำหรับกิจกรรมการตลาดออนไลน์ เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารร่วมสนุกโพสต์ภาพการใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงลงใน Instagram ส่วนตัว และติดแฮชแท็ก #สวัสดีปีใหม่ไทยรถไฟฟ้าสายสีแดง และแท็กมาที่ Instagram red_line_srtet ตั้งแต่วันที่ 13 – 15 เมษายน 2565 โดยผู้ร่วมสนุกกิจกรรมต้องตั้งค่า Instagram ส่วนตัวเป็นสาธารณะ ภาพที่ถูกใจคณะกรรมการรับบัตรของขวัญมูลค่า 200 บาท จำนวน 50 รางวัล ส่งตรงถึงบ้านฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ประกาศผลการร่วมสนุกวันที่ 25 เมษายน 2565 ทั้งนี้การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด  บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้โดยสารจะได้รับความสุข และรู้สึกถึงความปลอดภัยทุกครั้งจากการใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนบริการลูกค้า 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง https://www.srtet.co.th/th

“ตามรอยพ่อฯ” แจงผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตลอด 9 ปี สร้างการรับรู้ดีเกินคาด
ก่อให้เกิดการตื่นตัวทุกวงการ ย้ำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น แก้วิกฤตได้อย่างยั่งยืน


เครือข่ายคนมีใจทั้งในและนอกลุ่มน้ำป่าสักเข้าร่วมงานพร้อมออกร้านผลผลิต ณ สวนล้อมศรีรินทร์ พื้นที่ร่วมโครงการปีแรก
โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดงานสรุปผลความสำเร็จหลังดำเนินงานมาครบ 9 ปี โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2564 และมีผลการดำเนินงานดีเกินคาด ทั้งด้านการสร้างคนมีใจ เครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย และกิจกรรมเอามื้อสามัคคีหรือการลงแขกในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมาก ทำให้แนวคิดในการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปลงมือปฏิบัติแผ่ขยายแตกตัวไปทั่วทั้ง 22 ลุ่มน้ำในประเทศ เกิดการรับรู้และกระแสความตื่นตัวที่ทำให้ทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนพร้อมกัน รวมถึงเกิดแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ งานสรุปผลดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี พื้นที่ของคนมีใจที่ร่วมกิจกรรมโครงการตั้งแต่ปีแรก โดยเครือข่ายจากทั้งในและนอกลุ่มน้ำป่าสักเข้าร่วมงานและนำผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปร่วมออกร้าน พร้อมจัดกิจกรรมอบรมหลักการออกแบบโคก หนอง นา และฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ 9 คน 9 ปี ขึ้นเวทีร่วมเสวนา เพื่อยืนยันว่าศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้วิกฤตได้จริง พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งต่อองค์ความรู้และแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ต่อไป

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ที่ทรงแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งและปัญหาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 ด้วยความร่วมมือระหว่าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และ 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน โดยได้น้อมนำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่สู่การปฏิบัติ เป้าหมายเพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งในลุ่มน้ำป่าสักอย่างยั่งยืน จนสามารถสร้างรูปธรรมตัวอย่างความสำเร็จและการขยายผลครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ โดยการดำเนินงานเริ่มจากการสร้างพื้นที่ต้นแบบ รวมทั้งบุคคล ชุมชน และโรงเรียนต้นแบบ แล้วจึงขยายผลออกไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ทั่วประเทศ”
ทั้งนี้ โครงการมีกรอบการดำเนินงาน 9 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ ๆ ละ 3 ปี โดยระยะที่ 1 พ.ศ. 2556 – 2558 คือ ระยะตอกเสาเข็ม เป็นการสร้างการรับรู้ และสร้างตัวอย่างความสำเร็จหลากรูปแบบทั้ง บุคคล ชุมชน โรงเรียน และสร้างศูนย์เรียนรู้ สรุปการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 1 สร้างการรับรู้ด้วยการเดินทางวิ่ง-เดิน-ปั่น กว่า 900 กิโลเมตร ในพื้นที่ 5 จังหวัด มีอาสาสมัครและคนมีใจร่วมกิจกรรมกว่า 8,000 คน
• ปีที่ 1 พ.ศ. 2556 เป็นกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นรณรงค์ ”จากปลายน้ำสู่กลางน้ำ สร้างหลุมขนมครกในแบบโคก หนอง นา โมเดล หยุดท่วมหยุดแล้งอย่างยั่งยืน” จากกรุงเทพฯ ถึง จ.พระนครศรีอยุธยาและ จ.สระบุรี
• ปีที่ 2 พ.ศ. 2557 กิจกรรม ”สร้างหลุมขนมครก เปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นเขาหัวจุก” ที่ จ.เพชรบูรณ์
• ปีที่ 3 พ.ศ. 2558 กิจกรรม ”สร้างหลุมขนมครก ในแบบของคุณ” ที่ จ.ลพบุรีและ จ.เพชรบูรณ์
กรอบการดำเนินงานในระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2561 คือ ระยะแตกตัว เป้าหมายเป็นการขยายผลในระดับทวีคูณ สร้างคน สร้างครู สร้างเครื่องมือในการยกระดับศูนย์เรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต (บ้าน วัด โรงเรียน หรือ บวร) สรุปการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 2 สร้างพื้นที่ต้นแบบ 8 แห่งใน 8 จังหวัด สร้างการมีส่วนร่วมของคนมีใจที่ร่วมกิจกรรมกว่า 10,000 คน และเกิดศูนย์การเรียนรู้ 11 แห่งใน 7 จังหวัด
• ปีที่ 4 พ.ศ. 2559 คือ การสร้างหลุมขนมครก ”ป่าสักโมเดล” ในพื้นที่ “ห้วยกระแทก” ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ ซึ่งเป็นหลุมขนมครกขนาดพื้นที่ 600 ไร่ และเป็นหลุมขนมครกที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดจากการรณรงค์ของโครงการ
• ปีที่ 5 พ.ศ. 2560 ”แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ในสภาพภูมิสังคมที่แตกต่าง โดยร่วมสร้าง ”เพลิน area” ที่แปลงเกษตรสาธิต คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร, สร้างพื้นที่เรียนรู้ตามรอยศาสตร์พระราชาที่ไร่สุขกลางใจ จ.ราชบุรี, สร้างต้นแบบจากชาวบ้านสู่ความร่วมมือ 7 ภาคี ด้วยพลังเอามื้อสามัคคี โดยการรวมกลุ่มของชาวบ้านคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี และสร้างพื้นที่ต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง “คนอยู่ ป่ายัง อย่างยั่งยืน” ที่ห้วยป่ากล้วย และศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (บวร.) วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
• ปีที่ 6 พ.ศ. 2561 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี“ จากลุ่มน้ำป่าสักสู่ลุ่มน้ำอื่น ๆ สร้างศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง ที่ฐานธรรมพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร สร้างหลุมขนมครกและเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์ ที่ จ.จันทบุรี ร่วมสร้าง “หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ชุมชนกสิกรรมวิถี” จ.สระบุรี และร่วมสร้างพื้นที่เรียนรู้ หลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เปลี่ยนผู้บุกรุกมาเป็นผู้พิทักษ์ ที่ จ.น่าน
สุดท้ายกรอบการดำเนินงานในระยะที่ 3 พ.ศ. 2562 – 2564 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ เป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย มี 7 ภาคีระดับชาติเข้าร่วม ได้แก่ ภาครัฐ วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ประชาชน ศาสนา และสื่อมวลชน เพื่อยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำ เชื่อมโยงทั้ง 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
• ปีที่ 7 พ.ศ. 2562 จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้แนวคิด “แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี” จากต้นน้ำป่าสักสู่การสร้างแม่ทัพแห่งลุ่มน้ำ โดยจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีที่ จ.เลย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำป่าสัก และกิจกรรมทัศนศึกษาที่ จ.ลำปาง เป็นพื้นที่ที่เชฟรอนประเทศไทยร่วมกับศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัย “การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทย การติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ได้มีการออกแบบและปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปแล้ว ให้เป็นระบบและได้มาตรฐานทางวิชาการ โดยนำผลสรุปจากโครงการวิจัยมาประมวลผลในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติทางสภาพแวดล้อม
• ปีที่ 8 พ.ศ. 2563 “แตกตัวทั่วไทย สานพลังสามัคคี” จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีเพื่อฟื้นฟูและปกป้องพื้นที่ป่าต้นน้ำแจ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่ กิจกรรม “สู้ทุกวิกฤต รอดพอดีด้วยศาสตร์พระราชา” การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการป้องกัน เตือนภัย และฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต หรือ CMS (Crisis Management Survival Camp) เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักแก่ประชาชนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วม น้ำแล้ง โรคระบาด และสถานการณ์ฉุกเฉิน ณ ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก โรงเรียนสงครามพิเศษ และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (วัดใหม่เอราวัณ) จ.ลพบุรี และสร้าง “โคก หนอง นา ชัยภูมิโมเดล” ที่ศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม จ.ชัยภูมิ
• ปีที่ 9 พ.ศ. 2564 “9 ปีแห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน” มีทั้งแคมเปญ “รวมพลังสู้โควิด-19” กิจกรรมช่วยน้ำท่วมที่ จ.สระบุรี และกิจกรรมเอามื้อสามัคคีแปลง “เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี” ที่ จ.นครราชสีมา และแปลง “โคกหนองนา โปรดปัน” จ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงการสร้างแหล่งความรู้และเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล
สรุปผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการตามรอยพ่อฯ 9 ปี ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนได้ดังนี้
• การ “สร้างคน” มีผู้เข้าอบรมและดูงานในศูนย์ฯ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานโครงการ พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำป่าสัก 489,984 คน พื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำอื่น ๆ 826,280 คน รวมทั้งสิ้น 1,316,264 คน
• การ “สร้างครู” สร้างวิทยากร และครูพาทำในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ในลุ่มน้ำป่าสักรวม 124 คน นอกลุ่มน้ำป่าสัก 9 คน รวมทั้งสิ้น 133 คน
• การ “สร้างศูนย์เรียนรู้” มีศูนย์เรียนรู้ที่เกิดจากโครงการ 11 แห่ง อยู่ในลุ่มน้ำป่าสัก 8 แห่ง และนอกลุ่มน้ำ ป่าสัก 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก จ.ลพบุรี, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ห้วยกระแทก) “ป่าสักโมเดล” จ.ลพบุรี, บ้านพึ่งพาตนเอง “ฟากนา ฟาร์มสเตย์” จ.เลย, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายอดิศร จ.สระบุรี, ศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดล หรือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเองเอาชนะยาเสพติด จ.สระบุรี, ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายพ่อขุนผาเมือง จ.เพชรบูรณ์, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ วัดใหม่เอราวัณ จ.ลพบุรี, ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านพะกอยวา จ.ตาก, ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี, และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ทั้งนี้ ศูนย์เรียนรู้ดูงานทั้งหมดของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติทั่วประเทศมีอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก 12 แห่ง และพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ 58 แห่ง รวม 70 แห่ง

https://www.youtube.com/watch?v=M8EWjY1ncGk

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร กล่าวเสริมว่า “จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการประสบผลสำเร็จอย่างดีทั้งในแง่ปริมาณในการสร้างคน สร้างครู สร้างศูนย์เรียนรู้ ส่วนสัมฤทธิผลในเชิงคุณภาพนั้นได้ผลดีเกินคาด การแตกตัวขยายผลครอบคลุมลุ่มน้ำทั่วประเทศ สร้างแรงกระเพื่อมที่ทำให้ทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนพร้อมกันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เริ่มจากการสั่งการจากผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นให้ดำเนินการอบรมให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ ภายในหน่วยทหาร และยังมีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ และโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ‘โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง’ ของกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย

“จากการดำเนินอย่างต่อเนื่อง 9 ปีของโครงการ ‘ตามรอยพ่อฯ’ ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การนำศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม จะสามารถแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน” ดร.วิวัฒน์กล่าวสรุป

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวถึงการสรุปผลความสำเร็จว่า “เชฟรอนประเทศไทยได้ร่วมจัดทำโครงการมาตลอดระยะเวลา 9 ปี โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นผลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพว่าโครงการได้เข้าไปช่วยในการให้ความรู้ สร้างตัวอย่าง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนเป็นล้าน ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์และอยู่ร่วมกับป่า การนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ และยังสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทั้งผ่านการสร้างศูนย์เรียนรู้ 11 แห่งใน 7 จังหวัด รวมถึงการสร้างศูนย์กลางการแบ่งปันความรู้แบบออนไลน์แก่ผู้ที่สนใจ

โดยเราได้สร้างเนื้อหาในสื่อออนไลน์มากมายที่เป็นประโยชน์ อาทิ การจัดทำบทเรียน ‘คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ’ ในรูปแบบบทความและวีดิทัศน์บอกเล่าเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ รวม 14 บท เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำองค์ความรู้ไปลงมือทำเองได้ และยังได้สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ติดตามกว่า 246,900 คน


เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับโครงการด้วยช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ทั้งเวบไซต์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และไลน์
“พนักงานของเชฟรอนประเทศไทยเองกว่า 2 พันคน ก็ได้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้ และร่วมกิจกรรมเอามื้อของโครงการอย่างต่อเนื่อง มีหลายคนที่นำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาไปลงมือทำที่บ้านเกิดเมื่อเกษียณจากการทำงานประจำ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับองค์กรและพนักงานเชฟรอนที่ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการน้อมนำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป จนเกิดแรงบันดาลใจนำไปลงมือปฏิบัติ และได้ร่วมผลักดันขับเคลื่อนจนเกิดเป็นแรงกระเพื่อมอย่างมากมายในสังคมไทย” นายอาทิตย์กล่าวสรุป


นอกจากนี้ มาตรวัดความสำเร็จในเชิงคุณภาพที่สำคัญอีกประการ คือ การสร้างคนมีใจที่ตอบโจทย์ “ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน คือ การมีความรู้คู่คุณธรรมและการใช้ชีวิตอย่างพอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น และระดับเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือ บุญ, ทาน มีเหลือกินเหลือใช้ก็แบ่งปัน, เก็บ รักษาเคล็ดลับวิชาภูมิปัญญา, ขาย, ข่าย (กองกำลังเกษตรโยธิน) ซึ่งเกิดเป็นตัวอย่างบุคคลผู้ประสบความสำเร็จตาม “ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง” ที่มานะบากบั่นลงมือทำจนทำให้หยุดท่วมหยุดแล้งในพื้นที่ของตัวเอง เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ หลุดพ้นจากความยากจน และรอดจากวิกฤตด้วยศาสตร์พระราชา ได้แก่ พิรัลรัตน์ สุขแพทย์ (ผู้ใหญ่อ้อย) ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก จ.ลพบุรี, แสวง ศรีธรรมบุตร (ลุงแสวง) ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยคริสตจักรนาเรียง จ.อุดรธานี, กรองกาญจน์ ศิราไพบูลย์พร (ต๋อย), และประวีณ ศิราไพบูลย์พร (ติ่ง) 2 พี่น้องชาวปกาเกอะญอ แห่งไร่ไฮ่เฮา ไร่ติ่งตะวัน จ.ลำปาง เป็นต้น


ทั้งนี้ งานสรุปผลจัดขึ้น ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ จ.สระบุรี พื้นที่ของนายบุญล้อม เต้าแก้ว ที่ร่วมกิจกรรมโครงการตั้งแต่ปีแรก โดยนอกจากการออกร้านของเครือข่าย ยังมีกิจกรรมฝึกอบรมหลักการออกแบบโคก หนอง นา เบื้องต้น และฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานคนมีน้ำยา สอนทำน้ำยาอเนกประสงค์ แชมพู, ฐานคนรักษ์แม่ธรณี สอนทำปุ๋ยแห้ง ปุ๋ยน้ำ, ฐานเพาะเห็ดตะกร้า, ฐานเพาะผัก นอกจากนี้ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ 9 คน 9 ปี ขึ้นเวทีร่วมเสวนา เพื่อยืนยันว่าศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้จริง โดยแต่ละท่านได้กล่าวถึงเปลี่ยนแปลง หลังจากร่วมโครงการ รวมทั้งความตั้งใจสานต่อองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ดังนี้

ศิลา ม่วงงาม (ครูศิลา) ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านหินโง่น อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 2 กล่าวว่า “จากเดิมที่มีการทำเกษตรแบบโคก หนอง นา แค่ 2 ราย ปัจจุบันมีคนทำเพิ่มขึ้นมากถึง 3-4 เท่าตัว สมัยก่อนเส้นทางระหว่างบ้านหินโง่นถึงบ้านสักง่า ระยะทาง 8 กิโลเมตรจะเต็มไปด้วยไร่ข้าวโพด แต่ปัจจุบันมีไม้ผลขึ้นเต็ม 2 ข้างทาง เช่น ทุเรียน เงาะ ส้มโอ เป็นต้น และชาวบ้านยังปลูกไม้ยืนต้นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2558 ผมได้จัดกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำ 89 สายถวายพ่อ ที่ห้วยส้านซึ่งเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านหินโง่น แล้วไหลลงแม่น้ำป่าสัก ซึ่งตอนนี้ห้วยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดีมากเลย ผมมีความตั้งใจจะสืบสานศาสตร์พระราชาต่อไป เพราะได้เห็นประจักษ์แล้วว่า ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาทุกวิกฤตได้อย่างยั่งยืน”


พิรัลรัตน์ สุขแพทย์ (ผู้ใหญ่อ้อย) ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาคืนป่าสัก ผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ 8 สามัคคี อ.เมือง จ.ลพบุรี ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 3 กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เพราะการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและการสนับสนุนอย่างจริงจังของโครงการ ทำให้การแตกตัวในการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมาก ในการสืบสานศาสตร์พระราชาเรายังทำอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการรวบรวมเครือข่ายคนมีใจขับเคลื่อนเป็นระดับภาค และระดับประเทศต่อไป โดยจะทำแบบใกล้ชิดกว่าเดิม มีการประชุมวางแผนงานบ่อยขึ้น มีการลงพื้นที่ให้กำลังใจพี่น้องมากขึ้น มีการจัดทัพแบบกระชับองค์กร เพื่อเข้าถึงปัญหาและแก้ไขในทุกจุดอย่างรวดเร็ว มีการดึงคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยทำงานมากขึ้น เราจะสืบสานต่อไปให้รุ่น 2 รุ่น 3 เหมือนที่อาจารย์ยักษ์วางไว้ค่ะ”


บัณฑิต ฉิมชาติ (หัวหน้าฉิม) หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 6 กล่าวว่า “ตอนนี้ชาวบ้านมีข้าวกินทั้งหมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผมกลายป็นเทวดาของชาวบ้านไปแล้ว ทุกครั้งที่เจอผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะเข้ามากอด ผมดีใจและตื้นตันใจมากครับที่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องให้พวกเขาได้ ชาวบ้านลดการปลูกข้าวโพดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ได้รับพื้นที่ป่าของอุทยานคืนมา 3,000 กว่าไร่ในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เมื่อก่อนชาวบ้านต้องเตรียมเงินไว้ปีละประมาณ 5,000 บาท เพื่อซื้อข้าวกิน แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำกิน 3-5 ไร่ของพวกเขาก็สามารถหล่อเลี้ยงครอบครัวได้ มีข้าว มีปลา มีผักกิน ไม่ต้องเสียไปเงินซื้อ ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองได้ เมื่อก่อนชาวบ้านต้องซื้อข้าวหัก ๆ กิน เดี๋ยวนี้ชาวบ้านปลูกข้าวพันธุ์ภูฟ้าซึ่งเป็นข้าวขาวที่สวยมากไว้กินเอง เหลือก็แบ่งปันกันในชุมชน ชาวบ้านหลุดพ้นจากความยากจนอดอยาก”


กรองกาญจน์ ศิราไพบูลย์พร (ต๋อย) เจ้าของพื้นที่ “ไร่ไฮ่เฮา” อ.งาว จ.ลำปางตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 7 กล่าวว่า “ปัจจุบันพื้นที่บ้านแม่ฮ่าง จ.ลำปาง มีครัวเรือนที่หันมาทำโคก หนอง นา บนพื้นที่สูงเพิ่มขึ้นเป็น 30 กว่าแปลง ทำกันจริงจังมาก มีการเวียนกันเอามื้อทุก ๆ สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง มีการทำแท็งก์น้ำในแต่ละจุดของแต่ละแปลง เพราะเป็นพื้นที่สูงการจัดการน้ำยาก ทุกแปลงจึงจำเป็นต้องมีแท็งก์น้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อการเกษตร และตอนนี้ขยับมาทำพื้นที่ที่สุโขทัยด้วย ซึ่งจะเป็นการขยายผลสู่ลุ่มน้ำยม มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการตามรอยพ่อฯ ที่สร้างประโยชน์มาก มีการประชาสัมพันธ์และทำให้คนได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร และคนที่สนใจสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ คือ การได้เครือข่ายที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เป็นแรงเสริมเป็นกำลังใจให้กันและกัน ส่วนตัวแล้วก็จะยังสืบสานงานของพ่อต่อไป ทั้งที่เป็นพื้นที่ของตัวเองและการร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุนและส่งต่อองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ลงมือทำตามต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ”


ปราณี ชัยทวีพรสุข ประธานกรรมการศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เจ้าของ “สวนฝันสานสุข” บ้านเสี้ยวน้อยพัฒนา อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 8 กล่าวว่า “หลังจากโครงการมาจัดกิจกรรมเอามื้อที่ศูนย์ปราชญ์ฯ ทำให้ปราชญ์ชาวบ้านในชัยภูมิเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายมากขึ้น จึงมีการค้นหาแกนนำที่เป็นจุดแข็งของแต่ละอำเภอ เพื่อเรียกคนที่มีใจเดียวกันมาร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งทีมใหญ่และทีมเล็ก โดยที่ศูนย์ปราชญ์ฯ เองมีการวางแผนเอามื้อเดือนละครั้ง เครือข่ายก็จะไปปันแรงกัน ก่อนโควิด-19 ระบาดมีการจัดอบรมและดูงานอยู่เรื่อย ๆ รวมแล้วฝึกอบรมไปประมาณ 6 รุ่น จำนวน 500 กว่าคน ในช่วงโควิด-19 ระบาดได้ไปเป็นจิตอาสาทำหน้าที่พยาบาลสนาม ฉีดวัคซีน เลยถือโอกาสรวมพลังหมอศูนย์บาทของชัยภูมิ ต้มน้ำสมุนไพร 7 นางฟ้า สมุนไพรสุมยา แจกคนป่วยที่โรงพยาบาลสนามและที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ตั้งใจจะสืบสานศาสตร์พระราชาต่อไป เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาได้ทุกวิกฤตจริง พื้นที่ของตัวเองมี 18 ไร่ ทำโคก หนอง นา ไว้นานแล้ว มีต้นไม้เยอะ มีน้ำเหลือเฟือ ลูกชายเป็นคนรุ่นใหม่เคยบ่นว่าแม่อายุเยอะแล้วกลับมาเหนื่อยอะไรตรงนี้ แต่ต่อมาหลังจากเห็นความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่แม่ทำ ก็มากระซิบให้แม่ทำต่อไป ขอทำงานเก็บเงินซักพัก แล้วจะกลับมาสานต่อ ฟังแล้วชื่นใจมากเลยที่คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำค่ะ”


สุณิตา เหวนอก (นวล) เจ้าของพื้นที่เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี อ.จักราช จ.นครราชสีมา ตัวแทนเครือข่ายคนมีใจ ปี 9 พ.ศ. กล่าวว่า “นวลเป็นคนบ้างานบ้าเรียน เวลาที่เหลือ คือ อยู่ในสวน เพราะอยากให้เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงเร็ว ๆ เนื่องจากที่บ้านยังไม่เห็นด้วยอยู่ นวลจึงใช้วิธีสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ด้วยหวังว่าครอบครัวจะได้เห็นภาพ ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่เพียงครอบครัวที่เห็น แต่เพื่อนในโซเชียลก็ได้เห็นและเกิดแรงบันดาลใจลงมือทำตามกันหลายคน เครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียงก็มีการคุยกันในไลน์ ก็ขอมาดูพื้นที่เรา แล้วเกิดพลังใจกลับไปลงมือทำ เขาบอกว่าขนาดนวลเองเป็นคนมีเวลาน้อย ยังสามารถทำได้เลย รู้สึกภูมิใจที่ความตั้งใจของเรา เป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลาย ๆ คน ลุกขึ้นมาทำตาม ในการสืบสานแนวคิดศาสตร์พระราชาจะยังทำอย่างต่อเนื่อง มีความตั้งใจอยากส่งต่อองค์ความรู้ให้เด็ก ๆ ในชุมชน ให้ได้มาเรียนรู้ มาทำกิจกรรมแบบค่อย ๆ ซึมซับ เพื่อเป็นการบ่มเพาะแนวคิดและองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาให้กับคนรุ่นใหม่ด้วยค่ะ ไม่อยากนิยามตัวเองว่าเป็นหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จในการเดินตามรอยพ่อ เพราะคิดว่าคุณสมบัติยังไม่ถึงระดับนั้น แต่อยากจะให้เรียกว่าเป็นหนึ่งตัวอย่างของคนที่มุ่งมั่นตั้งใจทำมากกว่าค่ะ”


ผู้ที่สนใจติดตามชมการสรุปผลการดำเนินโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) ได้ในรายการ “เจาะใจ” วั
นที่ 2,9 เมษายน 2565 ทางช่อง MCOT HD เวลา 21.40 – 22.35 น.

ติดตามเนื้อหาโครงการได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking
ดูรายละเอียดที่ https://ajourneyinspiredbytheking.org

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดภารกิจ 3 ด้านสืบสานพระราชกระแสในหลวงรัชกาลที่ 9

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดภารกิจ 3 ด้านสืบสานพระราชกระแสในหลวงรัชกาลที่ 9 ดำเนินงานด้านทันตนวัตกรรมเน้นหลักการ ค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา 10กว่าปีที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือประชาชนผ่านหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ทั้ง 8 หน่วยได้มากกว่า 5 แสนคน คิดค้นนวัตกรรมด้านทันตกรรมผลิตใช้ได้เองภายในประเทศทดแทนการนำเข้า ช่วยภาครัฐประหยัดเงินได้มหาศาล ล่าสุด ร่วมกับภาคีเครือข่าย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาบริการนวัตกรรมทางด้านทันตกรรม (Digital Dentistry) ตั้งเป้าดูแลผู้สูงอายุ ให้มีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป

นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์

นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยในโอกาสจัดกิจกรรม “มูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ พบสื่อมวลชน” ว่าในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการจัดตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนการให้บริการด้านทันตกรรมแก่ประชาชนผ่านหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไปแล้วประมาณ 500,000 คนรวมทั้งมีโครงการที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรมที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยให้เครือข่ายนำไปใช้ช่วยเหลือประชาชน อย่างเช่น โครงการรากฟันเทียเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ได้มากกว่า30,000 คน

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม ผอ.ศูนย์พัฒนาระบบบริการและคลินิกทันตกรรม และ นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งในหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ต่อมามีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ตามพระราชกระแส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ว่าทันตแพทย์ไม่ควรจะทำการรักษาอย่างเดียว ควรจะได้มีการคิดค้น พัฒนาวิจัย และพัฒนา เพื่อที่จะผลิต วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ขึ้นมาใช้เองในประเทศด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นผู้ดำเนินการเลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวต่อว่า สำหรับภารกิจของมูลนิธิฯ มีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการ คือ
ภารกิจส่วนแรก เป็นฝ่ายเลขานุการของหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ซึ่งมีหน่วยบริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยมูลนิธิฯ สนับสนุนเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการออกให้บริการประชาชน ซึ่งแต่ละปีสามารถให้บริการประชาชนได้ประมาณ 50,000 คน ภายใน 10 ปี มียอดรวมประมาณ 500,000 กว่าคน

ภารกิจส่วนที่ 2 คือทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมสำหรับนำไปรักษา แก้ไข ฟื้นฟู ป้องกัน ทางทันตกรรมให้กับประชาชน ปัจจุบันนี้มีผลิตผลซึ่งเกิดจากการวิจัยและพัฒนาของมูลนิธิฯ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารทางการแพทย์ เช่น เจลลี่โภชนา อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก วุ้นชุ่มปาก หรือนวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจลสำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย หรือ ผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เข้าถึงประชาชนผู้ใช้ได้ประมาณ240,000 คน ในช่วงเวลา 10 กว่าปี ที่ผ่านมา กลุ่มเครื่องมือแพทย์มี รากฟันเทียมสำหรับผู้สูญเสียฟัน ฟันเทียมทั้งปาก ซึ่งฟันเทียมประเภทนี้จำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุซึ่งจะต้องได้ใส่ฟันเทียมเพื่อที่จะได้มีฟันเทียมเคี้ยวอาหาร

นอกจากนี้ยังมีสารผนึกหลุมร่องฟันเรซิน เอาไว้สำหรับป้องกันฟันผุ กรณีผู้ที่ที่มีปัญหาหลุมร่องฟันซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาฟันผุ ล่าสุดผลงานที่สำคัญคือ งานวิจัยและพัฒนาผลิตน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อในช่องปากจากหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งที่ผ่านมาใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นหลัก

ภารกิจส่วนที่ 3 คือร่วมกับภาคีเครือข่ายในการให้บริการกับประชาชน เกิดโครงการต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่นโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งปกติแล้วรากฟันเทียมหนึ่งซี่ราคาแพงแต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาประชาชนได้รับบริการฟรีไปแล้วประมาณ 30,000 กว่าคนคิดเป็นมูลค่าในการประหยัดเงินได้มหาศาล

เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานสิ่งสำคัญไว้หลายประการ แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือเรื่องที่มีแนวพระราชกระแสเกี่ยวกับการค้นคว้า ปฏิบัติ พัฒนา ซึ่งทำให้การดำเนินงานของมูลนิธิฯมีทิศทางที่ชัดเจน และเนื่องจากในเวลานี้เป็นยุคดิจิทัล เป็นกระแสของโลก ในปี 2565 ถึงปี 2570 มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมมือกับกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อเปลี่ยนระบบการให้บริการทันตกรรมเดิมที่เรียกว่า Analog ไปสู่ Digital Systemเพื่อทำให้ประชาชนนับสิบล้านคนเข้าถึงการให้บริการรวมทั้งเข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกิดจากการวิจัย พัฒนาของมูลนิธิฯ

“เราให้ความสำคัญกับวิจัยและพัฒนา ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งเรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งไว้เป็นพระราชกระแส เป็นรับสั่งสุดท้ายก่อนสวรรคตว่า ผู้สูงอายุอย่างเรามีจำนวนมาก ทันตแพทย์ต้องช่วยดูแล ซึ่งผู้สูงอายุปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 14 ล้านคน อันนี้ก็เป็นโจทย์สำคัญที่มูลนิธิฯและภาคีเครือข่ายจะต้องหากรรมวิธีที่จะดำเนินการที่จะทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาทางด้านทันตกรรมให้เหมาะสมและมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป”เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าว

ตามรอยพ่อฯ ปี 9 คืนสู่ลุ่มน้ำป่าสัก จัดกิจกรรมเอามื้อที่ จ.นครราชสีมา

โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” (ตามรอยพ่อฯ) จัดกิจกรรมเอามื้อ ณ จังหวัดนครราชสีมา ลุ่มน้ำป่าสัก เดินหน้าภารกิจถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่ปีที่ 9 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยลงมือทำเกษตรแบบโคก หนอง นา ตามศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ไม่เพียงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คืนสมดุลให้กับระบบนิเวศ แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร อันเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับวิกฤตต่างๆ ของมนุษย์ได้อีกด้วย โดยวางมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น

“โคก หนอง นา” ฝ่าวิกฤตสิ่งแวดล้อม
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ให้โลกพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการทำเกษตรแบบโคก หนอง นา ตามศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น นับเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ เพราะในโคก หนอง นา จะมีป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งจะเป็น ตัวสร้างสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่ นำมาสู่ความหลากหลายทางชีวภาพหรือ biodiversity จากสิ่งมีชีวิตที่อยู่ทั้งในน้ำ ใต้ดิน บนดิน หรือในป่า อันไม่เพียงช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน แต่ยังช่วยให้มีอาหาร การกินสมบูรณ์ เกิดความมั่นคงทางอาหาร เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของสหประชาชาติในการขจัดความอดอยาก (zero hunger) อีกด้วย การทำเกษตรแบบโคก หนอง นา จึงเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และ ช่วยโลกไปพร้อมๆ กัน”

นอกจากนั้น การทำเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของภาคการเกษตร ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า “จากข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ระบุว่าภาคการเกษตรมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูง ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ก๊าซมีเทนเกิดมากใน การทำเกษตรเชิงเดี่ยว หรือเลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวที่เป็นฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่และใช้ยาปฏิชีวนะ ก็จะทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ไม่ว่าจะในลำไส้ของสัตว์หรือมูลสัตว์ที่ถ่ายทิ้งออกมา แม้แต่กระบวนการหมักของฟางกิ่งไม้ใบไม้ที่มีสารเคมีอยู่ด้วย ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการใช้น้ำสมุนไพรรสจืดเพื่อกระตุ้นกลไกการทำงานของจุลินทรีย์ให้สามารถย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่เกิดก๊าซมีเทน ในทางตรงกันข้ามกลับกระตุ้นให้เกิดออกซิเจนขึ้นมาด้วยซ้ำ”

ตามรอยพ่อฯ ปี 9 คืนสู่ลุ่มน้ำป่าสัก
ด้าน นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด กล่าวถึงแนวคิดหลักและรายละเอียดกิจกรรมว่า “ครั้งนี้นับเป็นกิจกรรมเอามื้อครั้งแรกของโครงการ ‘ตามรอยพ่อฯ’ ปี 9 หลังจากที่ได้ชะลอการจัดกิจกรรมออนกราวด์ถึงกว่า 1 ปีเต็ม ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ดีในช่วงที่ผ่านมา โครงการ ‘ตามรอยพ่อ’ ได้เดินหน้าเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด ‘9 ปี แห่งพลังสามัคคี ฟันฝ่าทุกวิกฤต สู่ทางรอดที่ยั่งยืน’ ผ่านกิจกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของโครงการทั้งเว็บไซต์และ เฟซ บุ๊ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลิปวิดีโอ ‘คู่มือสู่วิถีกสิกรรมธรรมชาติ’ ที่ให้ความรู้พื้นฐานแก่ผู้สนใจลงมือทำการเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นเรายังช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในแคมเปญ ‘รวมพลังสู้โควิด-19’ โดยทำงานร่วมกับศูนย์ช่วยโควิด-19 ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติรวม 19 แห่งทั่วประเทศ จัดคาราวานแจกตะกร้าปันสุข ชุดต้มและน้ำสมุนไพร 7 นางฟ้า และกล่องกรีนบ็อกซ์ (Home Isolation Green Box) ชุดดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวที่บ้านไปเป็นจำนวนมาก ไปยัง 252 พื้นที่ทั่วประเทศ”

นายอาทิตย์ กล่าวถึงกิจกรรมเอามื้อ ณ จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้ว่า “โครงการตามรอยพ่อฯ ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 9 ซึ่งเป็นปีสรุปผลความสำเร็จของโครงการ เราจึงกลับมาจัดกิจกรรมในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการตามรอยพ่อฯ เมื่อ 9 ปีที่แล้วอีกครั้ง โดยเลือกพื้นที่เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถีของคุณสุณิตา เหวนอก ซึ่งเป็นหนึ่งใน คนต้นแบบ ‘คนหัวไวใจสู้’ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ผู้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรในพื้นที่และคนรุ่นลูกหลาน รวมถึงแปลงพื้นที่ของตนเองเป็น 1 ใน 19 ศูนย์ช่วยโควิด-19 ในแคมเปญรวมพลังสู้โควิด-19 เราจึงมาจัดกิจกรรมเอามื้อในพื้นที่ของคุณสุณิตา เพื่อแสดงความขอบคุณในความมุ่งมั่นและความเสียสละ”

นายบุญล้อม เต้าแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ กล่าวเสริมข้อมูลพื้นที่ว่า “นครราชสีมาหรือโคราชเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน มีพื้นที่ป่าเขาและพื้นที่เกษตรจำนวนมาก ทางทิศตะวันตกเชื่อมกับจังหวัดชัยภูมิ เป็นแหล่งรวมลุ่มน้ำสำคัญ 3 ลุ่ม คือ ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี และทางทิศตะวันตกมีพื้นที่บางส่วนที่ไหลไปลงใน ลุ่มน้ำป่าสัก เนื่องจากเป็นจังหวัดใหญ่มีประชากรมากมีความต้องการน้ำสูง ประกอบกับมีภัยแล้งบ่อยครั้ง โครงการจึงนำเสนอพื้นที่ของคุณสุณิตา เหวนอก เป็นพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในโคราช เพราะได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปลงมือปฏิบัตินั้น สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตใด ทั้งภัยแล้ง อุทกภัย หรือภัยจากโรคระบาด เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถีของคุณสุณิตาก็ผ่านพ้นวิกฤตได้อย่างดี นอกจากจะสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ยังส่งต่อความช่วยเหลือไปยังเพื่อนมนุษย์ในสังคมในชุมชนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ตามรอยพ่อฯ ด้วยหัวใจ
ด้าน นางสาวสุณิตา เหวนอก (นวล) เจ้าของพื้นที่ เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี ขนาด 6 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัวกลาง ต.จักราช อ.จักราช จ.นครราชสีมา กล่าวว่า “นวลเป็นคนโคราชโดยกำเนิด พี่น้อง 4 คนเป็นลูกคนที่ 2 ครอบครัวเป็นเกษตรกรที่ทำงานหนัก มีแต่หนี้สิน เมื่อจบ ป.6 ก็ทำสวนทำนากับที่บ้าน พออายุ 16-17 ปี พ่อแม่ให้ไปทำงานโรงงานจึงแอบเรียน กศน. โดยทำงานส่งตัวเองเรียนและส่งเงินให้ที่บ้านด้วย จึงต้องทำงานหนักมากทำทั้งโรงงานเย็บผ้า โรงงานของเล่น ฯลฯ ในที่สุดก็เรียนจนจบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช พออายุ 29 ปี สอบติดราชการและเรียนต่อจนจบนิติศาสตร์ มหาวิธรรมศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน อายุ 30 กว่าทำงานเป็นนิติกรที่รังสิตปัจจุบันย้ายมาที่ อ.จักราช จุดเปลี่ยนคือหลังจากในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ได้ดูรายการสารคดีโทรทัศน์ ‘แสงจากพ่อสู่ความยั่งยืน’ ทุกคืน ทำให้เกิดคำถามกับตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ จนมีโอกาสพบ อ.เข้ม (ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ) ซึ่งได้ชวนให้มาเป็นจิตอาสาช่วยโครงการท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ แล้วจึงไปอบรมการทำเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชาทั้งที่ศูนย์ภูมิรักษ์ฯ อบรมออกแบบโคก หนอง นา โมเดลที่วัดหนองสองห้อง อบรมที่ศูนย์คืนป่าสัก แล้วตัดสินใจลงมือทำบนที่ดินแปลงนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยของครอบครัว เพราะทำเองรู้ว่าเราใส่อะไรลงไป โดยปลูกพืชต่างๆ เช่น กล้วย ละมุด อ้อยพันธุ์สุพรรณ 50 ถั่วลิสง เป็นต้น”

นางสาวสุณิตา กล่าวถึงความสุขที่ได้จากการตามรอยศาสตร์พระราชาว่า “มีความสุขมาก ช่วงแรกที่ลงมือทำแม่ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมมาดู เพราะเสียดายที่ดิน แต่พอปีนี้ สิ่งที่เราทำเริ่มผลิดอกออกผล แม่ก็เข้ามาดูเกือบทุกวันรู้สึกว่าตัวเองคิดถูกแล้วที่เดินตามรอยพ่อ แม้จะต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก แต่ก็คุ้มค่าที่ทำให้ครอบครัวยอมรับได้ และยังสร้างความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่น สร้างความมั่นคงปลอดภัยทางอาหารให้ครอบครัว อีกทั้งยังภูมิใจที่เป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนทำตามด้วย โดยหลังจากนี้อยากทำสวนสมุนไพรเพิ่มในพื้นที่เพื่อดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว”

กิจกรรมเอามื้อในครั้งนี้ประกอบด้วยการทำแปลงปลูกผักอินทรีย์ ขุดปรับคลองไส้ไก่รอบแปลงนาและหนองน้ำ ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ห่มฟาง ใส่ปุ๋ยแห้งปุ๋ยน้ำ ทำเครื่องกรองน้ำถัง 200 ลิตร ทำเครื่องสูบน้ำพลังงานโซล่าเซล แปรรูปผลผลิต อาทิ สบู่ฟักข้าว แชมพูดอกอัญชัน กล้วยหมัก ชาตะไคร้ ไข่เค็ม โดยดำเนินมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเข้มข้น อาทิ การควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนต้องแสดงผลยืนยันการตรวจ ATK (Antigen Test Kit) ก่อนร่วมงานไม่เกิน 72 ชั่วโมง รวมถึงเอกสารยืนยันการได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ร่วมกิจกรรม เป็นต้น

ผู้ที่สนใจติดตามกิจกรรมในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking หรือดูรายละเอียดที่ https://ajourneyinspiredbytheking.org

รฟฟท. เตรียมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เตรียมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเปิดเผยว่า หลังจากบริษัทได้เปิดทดลองให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา ล่าสุดตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทเตรียมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทั้ง 2 เส้นทาง คือ สายบางซื่อ – รังสิต และ สายบางซื่อ – ตลิ่งชัน ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

เมื่อเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเชิงพาณิชย์ บริษัทจะปรับเวลาให้บริการจากเดิม 05.30 – 22.00 น. เป็น 05.30 – 24.00 น. ทุกวัน ทั้งวันธรรมดาจันทร์ – ศุกร์ และวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ รวมทั้งวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนความถี่ในการเดินรถสายบางซื่อ – รังสิต จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า – เย็น ( 07.00 – 09.30 น. และ 17.00 – 19.30 น. ) จะใช้ความถี่ 12 นาที นอกช่วงเวลาเร่งด่วนจะใช้ความถี่ 20 นาที ส่วนสายบางซื่อ – ตลิ่งชัน จะใช้ความถี่ 20 นาทีตลอดระยะเวลาการให้บริการ

ซึ่งเมื่อปรับความถี่ในการเดินรถจะสามารถเพิ่มจำนวนเที่ยวในการรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้น โดยจากเดิมที่สายบางซื่อ – รังสิต ใช้ความถี่ 15 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน เช้า-เย็น และ 30 นาที นอกช่วงเวลาเร่งด่วน สามารถเดินรถได้ 88 เที่ยว/วัน เมื่อปรับความถี่จะเพิ่มเป็น 138 เที่ยว/วัน ส่วนสายบางซื่อ – ตลิ่งชัน ใช้ความถี่ 30 นาที ตลอดระยะเวลาให้บริการสามารถเดินรถได้ 64 เที่ยว/วัน เมื่อปรับความถี่จะเพิ่มเป็น 112 เที่ยว/วัน

สำหรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงการรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดราคาเริ่มต้นที่ 12 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพของประชาชนจากสถานการณ์ในปัจุบันตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และบริษัทยังคงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการของผู้โดยสาร โดยมีการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ดูแล และซ่อมบำรุงเส้นทางเดินรถให้มีความปลอดภัย รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ตรวจลาดตระเวนเส้นทางเดินรถอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระบบรถไฟฟ้าอย่างเคร่งครัด

นอกจากนั้นบริษัทยังได้จัดกิจกรรมพิเศษต้อนรับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยมอบของขวัญสุดพิเศษ เป็นซองใส่บัตรหนัง พร้อมสายคล้องคอสุดพรีเมี่ยมให้แก่ผู้โดยสาร 1,000 ท่านแรก ที่ซื้อบัตรโดยสารเติมเงินทุกประเภท ( Stored Value Card ) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ทุกสถานี
( ผู้โดยสารสามารถขอรับได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งผู้โดยสาร 1 ท่านสามารถขอรับซองใส่บัตรได้ 1 ชิ้นเท่านั้น )

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.srtet.co.th/index.php/th/

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่
https://www.srtet.co.th/index.php/th/
หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th ,
www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link

เปิดตัว “ยูโทเปีย ฮอสพิทอลลิตี้ กรุ๊ป” แบรนด์ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจโรงแรมและบริการแนวใหม่

UHG เตรียมพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งวงการธุรกิจโรงแรมในภูเก็ต ชูโมเดล Hospitality Ecosystem ครบวงจรพร้อมวางแผนผุดโรงแรมแบรนด์แฟชั่นระดับโลกต้อนรับนักเดินทาง

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น (Utopia Corporation: UCORP) หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในภูเก็ต เปิดตัว “ยูโทเปีย ฮอสพิทอลลิตี้ กรุ๊ป” (Utopia Hospitality Group: UHG) บริษัทเรือธงในการประกอบธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และการบริการ รวมถึงรับบริหารงานโรงแรม ด้วยวิสัยทัศน์แนวใหม่สุดแกร่ง ที่จะพลิกโฉมประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งวงการธุรกิจโรงแรมบนเกาะภูเก็ต ด้วยโมเดลธุรกิจครอบคลุมระบบนิเวศด้านการบริการ (Hospitality ecosystem) แบบครบวงจร และกล้าการันตีผลลัพธ์ ผ่านการสร้างสรรค์แบรนด์โรงแรมใหม่แนวไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างแต่ตอบโจทย์ พร้อมเผยโฉมในปี 2565 นี้

มร.ฮาชิ ยิน (Hachi Yin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น

มร.ฮาชิ ยิน (Hachi Yin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 1-3/2564 ที่ผ่านมา แม้จะเป็นช่วงวิกฤตแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น ยังคงเดินหน้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงและแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ผ่านการ Transform องค์กรให้ทันตาม
เทรนด์ พฤติกรรมของผู้บริโภค และดีมานด์ของตลาด โดยในไตรมาส 4 นี้ ยูโทเปียยังคงตอกย้ำความมุ่งมั่น ด้วยการเปิดตัวบริษัทใหม่ในเครือ “ยูโทเปีย ฮอสพิทอลลิตี้ กรุ๊ป” เพื่อดำเนินกิจการด้านโรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงด้านการบริการแบบครบวงจร ซึ่งนับเป็นการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมโรงแรมและการบริการ (hospitality) อย่างเต็มตัว โดยเล็งเห็นว่า ธุรกิจโรงแรมเป็นโอกาสใหม่ ๆ ที่มีแน้วโน้มการเติบโตสูง และสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของยูโทเปียในฐานะนักพัฒนาที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของทุกกลุ่มลูกค้า และสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ของการใช้ชีวิต ด้วยพอร์ตโฟลิโอที่มีอยู่ทั้งหมดซึ่งดำเนินการในรูปแบบคอนโดเทลและที่อยู่อาศัย แขกที่เข้าพักกับเราสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์เสมือนบ้านซึ่งโรงแรมทั่วไปไม่สามารถให้ได้ บวกรวมกับศักยภาพของภูเก็ตที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ที่มั่นใจว่า จะกลับมาฟื้นตัวในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน

“ยูโทเปีย ฮอสพิทอลลิตี้ กรุ๊ป” (UHG) ดำเนินธุรกิจครอบคลุมระบบนิเวศด้านการบริการ (Hospitality ecosystem) แบบครบวงจร ผ่านแพลตฟอร์มธุรกิจที่หลากหลาย และความเชี่ยวชาญระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การพัฒนาโรงแรมและรีสอร์ท การจัดการ การตลาด การบริการเทคโนโลยีสุดล้ำที่เป็นกรรมสิทธิ์หนึ่งเดียวของ UHG โดยเฉพาะ การสร้างแบรนด์ การบริหารงานอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และรับบริหารงานโรงแรมและรีสอร์ทให้กับนักลงทุน ซึ่งจะสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเป็นธรรม ด้วยโมเดลธุรกิจที่ “ยืดหยุ่น” ตามความต้องการของนักลงทุน ไม่มีข้อจำกัดที่เข้มงวด รวมถึงมีแนวทางการจัดการและสัญญาแฟรนไชส์ที่ “ปรับเปลี่ยนได้” ด้วยดีลที่คุ้มค่า ตอบโจทย์การลงทุนมากยิ่งขึ้น และกล้าการันตีรายได้ให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งนับเป็นการพลิกประวัติศาสตร์วงการธุรกิจโรงแรมและการบริการ เป็น “ทางเลือก” และ “ทางออก” สำหรับธุรกิจโรงแรมยุคใหม่อย่างแท้จริง

“UHG กำเนิดขึ้นด้วยวิสัยทัศน์สุดแข็งแกร่ง กับแนวคิดที่กล้าหาญ ฉีกกฎเดิมๆ เพื่อจะพาทุกนำไปสู่การรังสรรค์ประสบการณ์ด้านไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง รวมถึงพลิกโฉมโลกแห่งการบริการและการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง และช่วยยกระดับสนามแข่งขันในตลาดการบริการและการท่องเที่ยวยุคใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากความกล้าหาญและกล้าสร้างสรรค์ UHG พร้อมแล้วที่จะพาพันธมิตร นักเดินทาง ตลอดจนทีมงาน และสมาชิกในชุมชน ก้าวสู่โลกใหม่แห่งภาคการบริการและการท่องเที่ยวไปด้วยกัน เรากล้าการันตี เรายืดหยุ่น เราเข้าใจผู้ลงทุนและนักเดินทาง เราพร้อมให้คุณปรับแต่งธุรกิจได้ตามความสำเร็จที่คุณต้องการ (LIVE YOUR OWN WAY)…เราคือ “UHG” ” ฮาชิกล่าว
ภายใต้ร่ม UHG ประกอบด้วยแบรนด์โรงแรมและรีสอร์ทไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น มอบประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะตอบโจทย์นักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ชาญฉลาด ได้แก่ แบรนด์ที่พักระดับกลาง (Midscale Aparthotel Brand) แบรนด์โรงแรมและรีสอร์ทมาตรฐานระดับสูง (Luxury Scale Hotel & Resort) และ แบรนด์ระดับอัลตร้าลักชัวรี่ (Ultra-Luxury) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับแบรนด์ High-fashion ระดับโลก โดย UHG จะดำเนินการเปิดโรงแรมใหม่หลายแห่ง รวมถึงการรีแบรนด์ และปรับปรุงโรงแรมโฉมใหม่ในปี 2565 เป็นต้นไป

· แบรนด์ที่พักระดับกลาง (Midscale Aparthotel Brand) โรงแรมระดับกลางที่จะนำเสนอการพักผ่อนที่มีสไตล์ เข้าถึงง่าย สะดวกสบายตามาตรฐานสากล โดยเป็นผสมผสานไลฟ์สไตล์และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมิวนิตี้ เป็นที่พบปะของคนสไตล์เดียวกัน ตามแนวคิดของ Hostel, Co-Living, Lifestyle Hotel เข้ากับความสะดวกสบายและความยืดหยุ่นเหมือนอยู่อพาร์ตเมนต์ส่วนตัว ตามแนวคิด Residence, Apartment, Airbnb เพื่อตอบโจทย์นักเดินทางรุ่นใหม่ที่ชาญฉลาด เลือกความคุ้มค่า และคุ้มที่จะมาเยือน การรังสรรค์แบรนด์ผ่าน 4 แนวคิดหลักคือ โรงแรมระดับกลางที่ครบครันด้วยความสะดวกสบาย (Midscale with comfort) การเข้าพักที่ยืดหยุ่นได้ และเลือกรูปแบบได้ (Flexible stay Purposeful) เน้นการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ (Design) อาหารอร่อยถูกปากนักชิมแนวใหม่ (Hip F&B concept) และให้ความรู้สึกอบอุ่น มีความสนุกสนานเมื่ออยู่ร่วมกัน (Sense of community)

· แบรนด์โรงแรมและรีสอร์ทมาตรฐานระดับสูง (Luxury Scale Hotel & Resort) ที่พักระดับ 5 ดาว ที่เน้นความหรูหราและมอบประสบการณ์การพักผ่อนอย่างแท้จริง แบรนด์นี้เป็นการผสานระหว่างโลกแห่งไลฟ์สไตล์รีสอร์ท และสถานที่พักผ่อนเพื่อสุขภาพ (Wellbeing Retreat) ตอบโจทย์ผู้เข้าพักที่ต้องการความเหนือระดับ และรักษาสุขภาพและจิตใจไปในคราวเดียวกัน โดยได้พัฒนาแบรนด์ขึ้นมาจากสโลแกน “Live slow, play well” (ใช้ชีวิตให้ช้าลง แล้วฟื้นฟูตัวเองให้ดีขึ้น)

· แบรนด์ระดับอัลตร้าลักชัวรี่ (Ultra-Luxury) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับแบรนด์ High-fashion ระดับโลก โดยล่าสุดได้ร่วมมือครั้งสำคัญกับ “โทนิโน ลัมโบร์กีนี” (Tonino Lamborghini) ลักซัวรี่แบรนด์ในตำนานของอิตาลีที่มีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์และการออกแบบที่หรูหรา เตรียมเปิดให้บริการโรงแรมแห่งใหม่และแห่งแรกในประเทศไทยบนเกาะภูเก็ต ภายใต้แบรนด์ “โทนิโน ลัมโบร์กีนี บูติค
โฮเทล ภูเก็ต” (Tonino Lamborghini Boutique Hotel Phuket) ซึ่งมีกำหนดจะเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2566 เป็นรีสอร์ทสุดหรูที่ไม่เหมือนใคร ตั้งอยู่บน “อ่าวปอ” ชายฝั่งตะวันออก ที่มองเห็นวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเกาะภูเก็ต และวิวอ่าวพังงาอันตระการตา

นลินา สุรนัคครินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์ ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น

นลินา สุรนัคครินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์ ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่า แบรนด์โรงแรมที่เรากำลังเตรียมตัวกันอยู่นี้ จะตอบโจทย์ทุกความต้องการของนักเดินทางทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวของแขกผู้เข้าพักไม่ว่าจะทางด้านพื้นที่หรือบริการ การวางคอนเซปต์ที่สร้างประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน แต่ต้องให้ความรู้สึกที่เหมือนบ้าน ให้อิสระในการเลือกบริการ ดีไซน์ที่ทันสมัย”

นอกจากนั้น UHG ยังตั้งเป้ากำหนดมาตรฐานใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมการบริการ บนพื้นฐานของปรัชญาการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งมอบผลประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการนำแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาและการจัดการที่ยั่งยืนผนวกเข้ากับจริยธรรมทางธุรกิจทั้งหมด ซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ภายใต้การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การลดของเสีย ลดค่าใช้จ่าย และการขับเคลื่อนผลประโยชน์ระยะยาวให้กับชุมชน ในขณะเดียวกันก็ช่วยดึงดูดนักเดินทางรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเยือนชุมชนท้องถิ่นที่สวยงามมากยิ่งขึ้น

สำหรับแผนการเปิดตัวของ UHG ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 จะเริ่มต้นด้วยแบรนด์ที่พักระดับกลาง (Midscale Aparthotel Brand) ตามมาด้วยการเปิดตัวแบรนด์โรงแรมและรีสอร์ทมาตรฐานระดับสูง (Luxury Scale Hotel & Resort) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 และจะประกาศแบรนด์พันธมิตรระดับอัลตร้าลักชัวรี่ (Ultra-Luxury) ในปีหน้า ซึ่งจะเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลก

รวมถึงแผนการเนรมิต 2 อภิมหาแลนด์มาร์คใหม่ บนทำเลทองทั้งเหนือและใต้ของเกาะภูเก็ต ได้แก่ “Bay of Icons” จุดหมายปลายทางใหม่ที่จะเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับนักลงทุนและนักเดินทางระดับไฮเอนด์จากทั่วโลก ตั้งอยู่บน “อ่าวปอ” ชายฝั่งทางเหนือของเกาะภูเก็ต ประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกสุดล้ำ บริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟมากมายที่จะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หรูหราอย่างแท้จริง และ “Entertainment Complex” ยูโทเปีย ดรีม (Utopia Dream) *ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ อาณาจักรแห่งการพักผ่อนที่จะเต็มไปด้วยสีสันความสุขและกิจกรรมบันเทิงระดับโลก ที่จะผุดขึ้นในย่าน “ในหาน” ชายฝั่งทางใต้ของเกาะภูเก็ต

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ยูโทเปีย คอร์ปอเรชั่น” ได้ที่เว็บไซต์ www.utopia.co.th

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ยูโทเปีย ฮอสพิทอลลิตี้ กรุ๊ป” ได้ที่ www.utopiahospitalitygroup.com