เมียงมอง มัณฑะเลย์ดูจากภาพ ไม่เท่าสัมผัสด้วยตัวเอง
สะพานไม้อูเบ็ง สะพานไม้สัก ที่ยาวที่สุดในโลกจนคุณแทบไม่เชื่อสายตา
มัณฑะเลย์ (MDL)
มิงกะลาบา เมืองน่ารัก…คนก็น่ารัก ไปเที่ยวชมธรรมชาติ สะพานไม้สักอูเบ็ง เมืองอมรปุระ ประเทศพม่า การเดินทางกับ Airasia พามาถึงสนามบินมัณฑะเลย์ ท่าอากาศยานที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดในประเทศพม่า รองรับนักท่องเที่ยว ยังเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศควบคู่ไปกับ ท่าอากาศยานย่างกุ้ง เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพม่า กับเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ จากกรุงเทพฯ สนามบินดอนเมือง ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง แป๊ปเดียว มาถึง (เวลาที่ประเทศพม่า ช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที ) สนามบิน มัณฑะเลย์ อยู่ห่างจากเมือง ประมาณ 45 กิโล ระหว่างทางจากสนามบิน สภาพบ้านเมืองของ มัณฑะเลย์ ดูแห้งๆ มีการก่อสร้างเยอะ เพราะเมืองกำลังเติบโต เริ่มเข้าตัวเมืองรถก็วุ่นวายทันที โดยเฉพาะ มอเตอร์ไซค์ ที่นี่ขับรถคนละด้านกับไทย
เลือกบินกับแอร์เอเชีย สำหรับเส้นทาง กรุงเทพ-มัณฑะเลย์ ดีตรงที่จากสนามบินมัณฑะเลย์ เราเข้าเมืองแบบฟรี โดยใช้บริการรถรับ–ส่ง สำหรับผู้โดยสารแอร์เอเชีย กรุงเทพ- มัณฑะเลย์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร เป็นเรื่องดีค่ะ ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ของสายการบิน วันนี้แอร์เอเชียให้บริการรถรับส่ง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นถูกใจจัง
มัณฑะเลย์ อดีตเมืองหลวงของเมียนมาร์แห่งนี้ มีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง สิ่งที่นักท่องเที่ยว เดินทางมามัณฑะเลย์ จะพลาดไม่ได้ ก็คือ สะพานไม้อูเบ็ง แห่งนี้ สร้างจากไม้สักที่ได้จาก พระราชวังเก่ารื้อมา เห็นว่าเหลือใช้แล้ว จึงนำมาสร้างสะพาน ประชาชนเมียนมาร์ ที่มัณฑะเลย์ ใช้เดินข้ามได้ไป-มาหาสู่ระหว่าสองฝั่งของทะเลสาบนี้ เชื่อมมิตรไมตรีมีแต่รอยยิ้ม ครั้งแรกที่เห็น สะพานไม้อูเบ็ง (U Bein Bridge) เป็นสะพานที่ทำจากไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก ขณะเดินชม สังเกตุเสาไม้สะพานทอดยาว นึกย้อนถึงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่นี่ ทำให้นึกถึงภาพสะพานไม้มอญอันสวยงาม ของชาวมอญ สร้างขึ้นโดยขุนนางผู้ใหญ่ชื่อ “อูเบ็ง” จึงเป็นชื่อ ที่นำมาเรียกเป็น ชื่อสะพานแห่งนี้
ด้วยความศรัทธาของท่านหลวงพ่ออุตะมะ ณ. ด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองสังขละบุรี ชายแดนไทย อดนึกย้อนกลับไปไม่ได้ ช่างแปลกจัง ใครหนอช่างคิด รูปแบบสะพานไม้นี้ ซึ่งเป็นของชาวมอญเหมือนกัน แต่เก่าแก่ นานนับ 200 กว่าปี
สะพานไม้อูเบ็ง ทอดยาวแห่งนี้ มีความยาว 1,200 เมตร เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในโลก โดยเสาไม้สักเก่า
มาสร้าง จำนวนพันกว่าต้น ในวันที่เราได้มาเยือน สะพานไม้อูเบ็ง แห่งนี้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เดินชมสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองอมรปุระราชธานี แห่งพม่า ไม่น่าเชื่อเลยว่า ไม้สัก ที่มีอายุหลายร้อยปีเหล่านี้ เคยประกอบกันเป็นพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะ ในปัจจุบันไม้สักเหล่านั้น ถูกแปรสภาพ กลายเป็สะพาน ที่เชื่อมความสุขทอดยาวถึง 2 กิโลเมตร และเสาค้ำยันกว่า 1,208 ต้น มีบางคนนับได้ 1,060 ต้น สถานที่แห่งนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ขึ้นหน้าขึ้นตา ของทั้งเมืองมัณฑะเลย์ และประเทศพม่า
สะพานไม้อูเบ็ง ตัวสะพานทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน โดยฝั่งตรงข้ามมีเจดีย์เข้าต่อตั้งอยู่ สะพานนี้ ถือเป็นสะพานสัญจรไป-มาของคนสองริมฝั่งแม่น้ำ ทั้งสองฝั่งสะพานทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน มุ่งตรงไปยังเจดีย์เจ๊าต่อ ซึ่งอยู่อีกฟากของทะเลสาบ ชื่ออูเบ็งนั้น เป็นชื่อของขุนนางผู้หนึ่งที่พระเจ้าปดุงโปรด ให้มาทำหน้าที่เป็นแม่กองงานสร้างสะพาน ซึ่งตั้งอยู่ที่อมรปุระก่อนจะเข้าถึงตัวเมือง มัณฑะเลย์ เพราะตลอดทั้งวันเราจึงพบเห็นชาวบ้าน เดินข้ามไปมาจากทั้งสองฝั่งได้ตลอดเวลา ก่อนเดินทางที่นี่ พวกเราคิดว่าคงเป็นแค่สะพานไม้ธรรมดาๆ แต่สิ่งที่ได้เห็น ณ.เวลานี้ มันช่างงดงามเกินจะบรรยายจริงๆ ยิ่งในเวลาที่พระอาทิตย์จวนจะตกลงน้ำแบบบรรยากาศรอบบริเวณสะพาน แสงพระอาทิตย์เป็นประกายกับสายน้ำ สะท้อนการใช้ชีวิตของผู้คน
เที่ยวชม สะพานไม้อูเบ็ง นอกจากจะเดินบนสะพานสัมผัสชีวิตคนพม่าแล้ว พลาดไม่ได้คือการนั่งเรือพาย ออกไปกลางทะเลสาป หันหน้าทางทิศตะวันตก แล้วมองกลับมาที่สะพานอูเบ็ง ช่วงเย็น ที่พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า มันเป็นทิวทัศน์หาซื้อด้วยราคาแพงๆ ที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว เพียงแต่ต้องมาที่นี่ และนั่งเรือแจวเอื่อยๆ อยู่ ณ.เวลานี้ระหว่างทางเดิน มีจิตรกรพื้นที่มานั่งวาดรูป และผู้เสนอขายผลงานของตัวเอง ราคาก็ไม่แพง และ ในตอนเย็นๆ ชาวต่างชาตินิยมมานั่งเรือชมพระอาทิตย์ตกในทะเลสาบ หรือนั่งเล่นที่เก้าอี้หวายของร้านขายเครื่องดื่มริมทะเลทสาบ นอกจากมีบริการเครื่องดื่มแล้ว ยังมีปลาและกุ้งสดๆ จากทะเลสาบทอดร้อนๆ ขายอีกด้วย
นั่งพักผ่อนแล้วรอชมพระอาทิตย์ตก กลับมาที่ สะพานไม้อูเบ็ง ในช่วงเย็น ที่พระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า มันเป็นทิวทัศน์ที่หาซื้อด้วยราคาแพงๆที่ไหนไม่ได้อีก เพียงต้องมาที่นี่ และนั่งเรือแจวเอื่อยๆ อยู่ ณ.เวลานี้เท่านั้น
สำหรับการเดินทางมาสะพานไม้สักอูเบ็ง ก็ไม่ยากเลย นั่งรถจากในตัวเมืองมัณฑะเลย์ประมาณ 20 นาที โดยถ้าหากมาเป็นคณะทัวร์ไม่ควรพลาดการมาแวะชมสะพานไม้แห่งนี้ แต่หากมาแบบไม่ใช่คณะทัวร์ แนะนำให้เหมารถตู้แบบทั้งวัน เริ่มจากเช้าสุด-ถึงเย็นสุด คุ้มมาก จากตัวเมืองมา ราคาก็อยู่ที่ตกลงซึ่งไม่ควรจะเกิน 25,000 จ๊าด (ไป-กลับ) แต่หากนั่งเท็กซี่ก็ต้องตกลงราคากันดีๆ ก่อนเดินทาง หรือจะสะดวกเป็นแบบแท็กซี่มิเตอร์ ก็ไม่น่าจะเกิน 25,000 จ๊าด (30 จ๊าด = 1 บาท)
ใครได้มาเที่ยว หรือมาทำธุระที่ มัณฑะเลย์ ต้องไม่พลาดในการมาเยือน สะพานไม้อูเบ็ง แห่งนี้ มองไปฟ้า
ประเทศพม่ายังต้องทำ Visa ขอเข้าประเทศ โดยมีหลักฐานในการนำไปยื่นเพื่อขอ Visa
1. Passport ที่เหลืออายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
3. แบบคำร้องขอ Visa
4. ค่าธรรมเนียมในการทำ Visa ท่องเที่ยว 810 บาท
ส่วนสถานที่ยื่น Visa นั้นจะตั้งอยู่ที่ สถานเอกอัคราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย
ยื่นคำร้องขอ Visa 9.00 – 12.00 น. / รับ Visa 15.30 – 16.30 น.
สกุลเงินใช้ในพม่าคือจ๊าด (Kyat) จากไทยเราไม่สามารถแลกเป็นเงินจ๊าดโดยตรง ต้องแลกเป็นสกุล USD ก่อน
โดยมีเงื่อนไขว่า ควรเป็นธนบัตรใหม่หมด ไม่มีรอยยับ หรือพับ แล้วค่อยนำเงินสกุลนี้ไปแลกที่พม่า
หรือถ้าใช้ USD ในการซื้อของต่างๆ ที่พม่า เงินทอนที่ได้มาต้องทำการตรวจสอบด้วยว่ามี รอยพับ หรือยับมากแค่ไหนด้วยเพราะว่าเงินพม่าค่อนข้างเก่าและยับ ดูไม่ค่อยสะอาด แถมติดน้ำมากเล็กๆ
ณ วันนี้ ไม่แน่ใจว่า เรายังต้องใช้ VISA เข้าเมียนม่าอยู่มั้ย? เพราะล่าสุดเมื่อกุมภาฯ 2014 เราต้องวิ่งไปขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว / สถานฑูต ตรงซอยถนนปั้น ถนนสาธร /คิวยาว ยื่นช่วงเช้า นัดรับช่วงบ่าย / 3-4 วันได้ / ค่าใช้จ่าย 810บาท (หรือ?)
ข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวพม่า
1.การแต่งกาย ศาสนสถานในพม่าทุกแห่ง ห้ามสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น สุภาพสตรีสวมกางเกงขายาวได้ บางแห่งจะมีบริการเช่าผ้าถุงหรือโสร่ง ถอดหมวก ถอดแว่นดำก่อนที่จะเข้าศาสนสถาน
2.ทุกคนต้องถอดรองเท้าทุกชนิด ก่อนเข้าเขตศาสนสถาน ต้องเดินเท้าเปล่า เป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดมากแต่สมัยโบราณ หากฝ่าฝืนชาวพม่าจะเข้ามาตักเตือน (ควรพกถุงก๊อปเก๊ปติดไปด้วย)
3.การถ่ายรูป วีดีโอ สถานที่บางแห่งต้องเสียค่าธรรมเนียม บางแห่งห้ามถ่าย ต้องฝากกล้องเอาไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนจะเข้าไป
4.ศาสนสถานบางแห่ง ห้ามสุภาพสตรีเข้าไป ห้ามขึ้นไปปิดทองที่องค์พระมหามุนี มัณฑะเลย์
5.เงินสด โดยทั่วไปจะไม่รับเงินบาทไทย ให้แลกกับไกด์ท้องถิ่นหรือโรงแรมที่พัก ถ้าแลกกับธนาคารจะได้อัตราทางการ แพงกว่าที่หรือร้านค้าใหญ่มากหลายเท่าตัว ห้ามแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลกเด็ดขาด เพราะอาจจะได้รับเงินปลอม เงินที่ยกเลิกไปแล้ว และถูกตำรวจจับอีก
6.เครื่องประดับของมีค่า ควรติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ล่อตาล่อใจมิจฉาชีพ
7.ยารักษาโรค ในพม่า การแพทย์ สุขอนามัย และยารักษาโรค ยังขาดแคลนและไม่ทันสมัย
8.วัตถุโบราณ (Antique) บางประเภทเป็นสิ่งต้องห้ามจำหน่ายและนำออกนอกประเทศ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ และถ้าซื้อต้องมีใบเสร็จและใบอนุญาตนำออกอย่างถูกต้องจากทางร้านค้า รวมทั้งสินค้าอัญมณีบางชนิดด้วย หากไม่แน่ใจ ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ ควรงดเว้นการซื้อ
9.ระบบการจราจรในพม่า แตกต่างจากประเทศไทย เวลาข้ามถนนต้องดูให้ดีและรอบคอบมากๆ
10.หญิงบริการ พม่าเป็นประเทศสังคมนิยมปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งยังมั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบสันโดษ จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะถามหาหญิงบริการ เพราะกฎหมายพม่ารุนแรงจับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
11.ระวังน้ำดื่มให้มาก ควรพกขวดน้ำมีฝาปิดอย่างดี หรือกรอกน้ำจากโรงแรมที่พัก / น้ำอัดลม ควรดูวันหมดอายุ / น้ำแข็ง คือน้ำต้องห้าม (ควบคุมความสะอาดยาก!!)
12.คนพม่า Service Mind ดีมาก..ขอบอก เขามีความพยายามและเต็มใจให้บริการมาก แบบคุยกันรู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่ง เริ่มตั้งแต่ พนง.รร. ที่ไปพัก หรือ พนง.ในร้านอาหาร
13.พม่ายังต้องพัฒนาเรื่องสาธารณสุขอีกมาก ตามในเมืองและที่ท่องเที่ยวต่างๆ ขยะเยอะ และสถานที่สำคัญๆยังไม่ค่อยดีนัก
14.กระแสไฟฟ้าตกบ่อย กระชาก / เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นต้องมีปลั๊กแยกเข้าเครื่อง
15.เครื่องไม้ที่ขายตามวัด แพงทุกที่ ต่อได้ต่อ / ส่วนภาพเขียน สวยดี / เงินไทยใช้ได้บ้าง บางสถานที่
ควรพกหน้ากากกันฝุ่น แนะนำ อยากไปเที่ยวที่นี่หน้าหนาวจะดีสุด และชาพม่า เป็นอะไรที่ต้องลองนะค่ะ