Tag Archives: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น)

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ก้าวสู่ Thailand 4.0

จัดทำแผนกลยุทธ์  TPA CLUSTER
เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาไปสู่ธุรกิจใหม่ Social Innovation

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. (Technology Promotion Association or TPA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างศักยภาพขององค์กร และบุคลากรในการให้บริการ  การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย ภายใต้อุดมการณ์ เผยแพร่วิทยาการ สร้างฐานเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลา 44 ปี ในการดำเนินกิจกรรมของ ส.ส.ท. มีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ และมีความหลากหลายมากขึ้น อาทิ การฝึกอบรม ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือ โรงเรียนสอนภาษา และจัดพิมพ์หนังสือ สรุปได้ดังนี้สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. (Technology Promotion Association or TPA)

-มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม และสัมมนา จำนวนกว่า 1,000,000 คน

– มีผู้เข้ารับบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม เครื่องมือวัดวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม และเครื่องมือแพทย์    จำนวนกว่า 10,000 องค์กร และมีเครื่องมือวัดที่เข้ารับบริการ กว่า 700,000 เครื่อง

– มีผู้เข้าเรียนด้านภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ จีน เกาหลี และไทย
จำนวนกว่า 280,000 คน

– มีการจัดพิมพ์หนังสือ อาทิ ภาษาและวัฒนธรรม วิศวกรรม เทคโนโลยี เทคนิคอุตสาหกรรม และการบริหารจัดการ   จำนวนกว่า 1,400 รายการ
และมียอดพิมพ์ กว่า 6,500,000 เล่ม พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2550 .ส.ท. ได้ดำเนินการจัด  ตั้ง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หรือ ส.ท.ญ. (Thai-Nichi Institute of Technology or TNI) โดยมีเป้าหมาย
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้  ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และ
ภาคอุตสาหกรรม ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ซึ่งตลอด
10 ปี นับแต่ก่อตั้งสถาบันมีผู้สำเร็จการศึกษากว่า 4,500 คน และมีอัตรา
เข้าทำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน  ด้วยเทคโนโลยี  และนวัตกรรม


พ.ศ. 2558 รัฐบาลได้ประกาศใช้โมเดลประเทศไทย 4.0 หรือ Thailand 4.0 เพื่อนำประเทศมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม   โดยมีแผนยุทธศาสตร์ให้พื้นที่ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรม และการเติบโตจะถูกระบุเป็น 10 S-Curves ใหม่ นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ริเริ่มจัดทำโครงการระเบียง เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC: Eastern Economic Corridor ซึ่งเป็นส่วนที่ผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ความท้าทายสำคัญจึงเกิดขึ้นแก่ภาครัฐ และ  ภาคเอกชน ในการเพิ่มขีดความสามารถองค์กร และบุคลากร เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ อาทิ การเพิ่มผลผลิต ความสามารถด้านนวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ ดังนั้น หนึ่งในกลไกสำคัญในการผลักดันให้เป็นประเทศไทย 4.0 จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมที่ขับเคลื่อน   ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตภาคอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสที่ ส.ส.ท. จะครบรอบการก่อตั้ง 45 ปี และ ส.ท.ญ. ครบรอบการก่อตั้ง 10 ปี ในปีนี้ จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์ TPA Cluster เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาไปสู่ธุรกิจใหม่ Social Innovation โดยเป็นองค์การชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนในด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจไทยสู่ระดับโลก โดยอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ และความร่วมมือจากเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), Japan-Thailand Economic Cooperation Society or JTECS และหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้กรอบการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี กลุ่ม ส.ส.ท. ก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างยั่งยืน เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้ก้าวทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholders) อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติ และเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ การพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้โดยใช้ระบบสารสนเทศอย่างเหมาะสม ด้วยการเปิดหลักสูตรออนไลน์โดยใช้แพลตฟอร์ม MOOC: Massive Open Online Course ในการฝึกอบรม และการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรเพื่อให้บริการ HRD: Human Resource Development ในพื้นที่ที่จำเป็นและห่างไกล อาทิ

Monodzukuri ในด้านการผลิต เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การสร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดยการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญหลายแขนง อาทิ TQM, TPM, Intelligent System Integration และ Data Science & Analy

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)   ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จัดงานแถลงข่าวแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี กลุ่ม ส.ส.ท. ก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างยั่งยืน โดยมี รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวเปิดงาน พร้อมแถลงกลยุทธ์ TPA Cluster และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน อาทิ รศ. ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. Mr. Takeshi Uchiyamada Chairman of Japan-Thailand Economic Cooperation Society (JTECS) Mr. Hirofumi Miyake Minister-Counselor สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย Mr. Manabu Kahara ประธานคณะกรรมการTNI-JCC Mr. Hiroki Mitsumata ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) Mr. Hiroo Tanaka หัวหน้าสำนักงานผู้แทน JICA Mr. Shinya Kuwayama ประธาน AOTS และ Mr. Yoshinori Furukawa หัวหน้าสำนักงานผู้แทน NEDO

EEC แนวโน้มการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
จัดปาฐกถาพิเศษ EEC ในแนวโน้มการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยและแนวทางการปรับตัวภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ถือกำเนิดขึ้นจากความตั้งใจมุ่งมั่น ความร่วมมือร่วมใจ และความเสียสละ ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจ ของกลุ่มผู้ที่เคยไปศึกษาและดูงานโดยทุน ABK & AOTS ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นประธานคณะกรรมการก่อตั้ง และสำเร็จด้วยความช่วยเหลืออย่างดี จาก อาจารย์ โงอิจิ โฮซูมิ อดีตประธานกรรมการ สมาคมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น-ไทย (JTECS) โดยได้
รับความช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจาก กระทรวงการค้าระหว่างประเทศ
และอุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่มีพันธะผูกพันใด ๆ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 มกราคม 2516

มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเผยแพร่และถ่ายทอดให้แก่บุคลากรไทย เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย มากว่า 40 ปี ผ่านกิจกรรมและบริการอันหลากหลายสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตรฝึกอบรม-สัมมนา,การเทียบโอนการศึกษาระดับปริญญา, การศึกษาทางไกล, การสอนภาษาต่างประเทศ โดยโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. การ
จัดประกวดให้รางวัลคุณภาพ บริการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ บริการสอบเทียบและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ศูนย์ทดสอบทางวิชาการและวิชาชีพอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลิตตำราสนับสนุนวิชาการต่างๆ มากมายภายใต้สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. อีกทั้งได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้น
ในนาม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า
Thai-Nichi Institute of Technology ที่รู้จักโดยย่อว่า TNI  มุ่งสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเฉพาะทางขึ้น  เพื่อป้อน
บุคลากรให้แก่สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทย

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. จัดปาฐกถาให้ความรู้แก่เหล่าสมาชิกและบุคคลทั่วไป

โดยคุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
และ Mr.HIROKI MITSUMATAประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ( JETRO ) ว่าด้วยเรื่องแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทย และแนวโน้มการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่มีต่อศักยภาพของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
( EEC )  ภายใต้งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560

 

การปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท.ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อโครงสร้างในการพัฒนาและขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยและเศรษฐกิจไทยโดยผู้ร่วมงานจะได้พบกับเหล่าขุนพลระดับประเทศบนเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เริ่มต้นด้วยร่วมเปิดมุมมองการค้า การลงทุนของญี่ปุ่นสู่ไทย โอกาส และศักยภาพของไทยในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)  เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ที่จะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน กับบรรยายพิเศษในหัวข้อ  Eastern Economic Corridor : EEC – Investment trends of Japanese companies
ให้เกียรติโดย  Mr.HIROKI MITSUMATA President of JETROJapan External TradeOrganization (JETRO), ต่อเนื่องด้วยการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม คุณเจน  นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ   Eastern Economic Corridor : EEC และแนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0”

สิ่งที่น่าสนใจของเสวนาในครั้งนี้คือ นอกจากผู้ที่ได้ร่วมรับฟังจะได้ทราบถึงทิศทางของอนาคตอุตสาหกรรมไทยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดและ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)  จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจประเทศไทยสู่สากลได้อย่างไรแล้วงานนี้ยังเป็นการรวมตัวของเหล่าบุคคลสำคัญในแวดวงธุรกิจและนักวิชาการจำนวนมากที่มาร่วมงาน

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวว่า “จากนโยบาย

ของภาครัฐว่าด้วยเรื่องการผลักดันภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย ที่จะสนับสนุนการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการยกระดับ คุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน ภายใต้บทบาทและพันธกิจของ ส.ส.ท.ที่มุ่งส่งเสริมและมุ่งพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรม พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเรามั่นใจว่าการเชื่อมโยงและผลักดันศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”

นายฮิโรกิ  มิทสึมะตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ผู้บรรยายในหัวข้อ แนวโน้มและยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย กล่าวว่า “ไทยและญี่ปุ่น มีความใกล้ชิดกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะใน ด้านการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ จากญี่ปุ่น ได้เข้ามาลงทุนครบทุกรายแล้ว และได้ช่วยดึงให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน รายสำคัญ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ ตามเข้ามาลงทุนเพื่อป้อนให้ ผู้ผลิตรายใหญ่จำนวนมาก ดังนั้น หากเราสามารถดึงดูดให้บริษัทญี่ปุ่นใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในระดับต้นๆ ของโลก เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น บริษัทเหล่านี้จะเป็น แม่เหล็กช่วยดึงโครงการลงทุนอื่นๆ ตามเข้ามาในอนาคต ซึ่งอุตสาหกรรม เป้าหมายเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญของประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0”

 คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผู้บรรยาย ในหัวข้อ แนวทางการปรับตัวภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0
กล่าวถึงจุดเด่นของ  อุตสาหกรรม 4.0  ว่าการผลิตที่เปลี่ยนจาก
Mass Production เป็น Mass Customization นั่นก็คือ โรงงานในยุค 4.0 หรือ Smart Factory จะมีกระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ระบบไซเบอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ครบวงจร ควบคุมการสื่อสาร ทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกันในแต่ละราย ในระยะเวลาอันสั้น เมื่อเทียบกับการผลิตในอุตสาหกรรม 3.0 ที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก แต่สินค้าจะเป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งกระบวนการผลิตของยุค 4.0 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย เพราะเป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คือ ประหยัดเวลา ใช้แรงงานน้อยลง และกระบวนการผลิตมีความแม่นยำน่าเชื่อถือ

สำหรับปาถกฐาพิเศษในครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลและสาระสำคัญอันเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศในเรื่องใดนั้นยังคงเป็นหน้าที่สำคัญ
ที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่ผลักดันและส่งเสริมความรู้ควบคู่การพัฒนาบุคลากรอันเป็นเจตนารมณ์สำคัญ มาตลอดระยะเวลา 45 ปี ต่อไปด้วยความภาคภูมิใจที่ได้อยู่เคียงคู่อุตสาหกรรม  และสังคมไทยตลอดมา

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
ส่วนงานประชาสัมพันธ์ | สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น) www.tpa.or.th
โทร. 0-2258-0320 ต่อ 1111/ 1113

ติดต่อ : คุณพีระพันธุ์   คนคง (ก๊อต)
โทร. 080 072 9477
E-mail.  peerapan@tpa.or.th

คุณศันสนีย์ กันอ่วม  (แอน)
โทร. 081 308 0474
E-mail: sansanee@tpa.or.th

คุณอริศรา คำพยา  (โบว์)
โทร. 089 992 2633
E-mail : arissara@tpa.or.th