รู้หรือไม่ เบียร์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก

เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก

รู้ก่อนดื่ม  เบียร์ผลิตจากอะไร?
Toptotravel ได้มีโอกาสได้ร่วมดื่มและสนทนากับ Brew Master กับบทสนทนา ที่ได้ความรู้เรื่องเบียร์  กับการดื่มเบียร์ ในแบบการเชื้อเชิญให้ลองชิมเบียร์ วันนี้จึงได้เก็บเกี่ยวเรื่องราวมาถ่ายทอด  ขอขอบคุณ คุณเปิ้ล Brew Master ที่ให้คำแนะนำเรื่องเบียร์ กับเรื่องที่หลายคนที่สนใจใคร่รู้อย่างเรา ฟังจากปาก Brew master เพื่อกลับมาเพิ่มความเข้าใจต่อไป

Test Beer-5

ทุกวันนี้ ตามธรรมเนียมปฎิบัติ ร้านนี้มีอาหารและเครื่องดื่มให้เลือกอยู่หลากหลาย แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้ของร้านนี้ก็คือ เบียร์ นั่นเอง เบียร์ในปุจจุบันมีมากมายหลากหลายแบร์ด เบียร์บางชนิดเป็นแบรนด์โปรดของเรา แต่พอมาสังเกตุแคลอรี่สูง จนน่าตกใจ  เรียกได้ว่าต่อไปต้องดื่มอย่างมีสติ ดื่มแล้วต้องหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญไขมัน เป็นประจำ
Test Beer_Ple@Singha 045_2015.08.31

องค์ประกอบหลักในการหมักเบียร์ คือ น้ำ ข้าวมอลต์ (เมล็ดข้าวอบแห้งหรือคั่ว โดยปกติใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์) ฮอปส์ และ ยีสต์ และมีส่วนผสมอื่นๆ เช่น ผลเชอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เมล็ดธัญพืชอื่น เช่น เมล็ดข้าวสาลี (Wheat) เรียกว่า แอดจังท์ (Adjunct)  หรือ ส่วนผสมข้างเคียงนั่นเอง

Test Beer_Ple@Singha 046_2015.08.31

น้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของเบียร์ คุณสมบัติของน้ำที่ใช้จึงมีผลต่อรสชาติของเบียร์ มอลต์ เมล็ดข้าวมอลต์จากข้าวบาเลย์นั้น เป็นชนิดที่นิยมใช้มาก ซึ่งจะมีปริมาณ เอนไซม์อะไมเลส (Amylase Enzyme) ทำให้กระบวนการแตกตัวของแป้งเป็นน้ำตาลนั้นเกิดขึ้น นอกเหนือจากข้าวมอลต์ และข้าวบาเลย์แล้ว เมล็ดธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวสาลี (wheat) ข้าวเจ้า (rice) ข้าวโพด (maize) ข้าวโอ๊ต (oat)  ข้าวไรย์ (rye) และ ข้าวมอลต์

ฮอปส์  ทำให้รสขมในเบียร์ เพื่อความสมดุลของรสหวานจากมอลต์ นอกจากนั้น ยังมีผลต่อต้านจุลินทรีย์อื่นๆ
ที่ไม่ใช่ยีสต์ ส่งผลต่อการหมัก

ยีสต์ มีความอ่อนไหวสูง สถานะของพวกมันจะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระหว่างขั้นตอนการหมักเบียร์ จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระหว่างขั้นตอนการหมักเบียร์ ใช้ในกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายน้ำตาล สกัดจากเมล็ดธัญพืช ให้เป็นแอลกอฮอล์ และ คาร์บอนไดออกไซด์โดยปกติแล้วระดับแอลกอฮอล์ในเบียร์จะอยู่ที่ 4-6 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะต่ำถึง 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ สูงถึง 14 เปอร์เซ็นต์

แบ่งยีสต์ที่ใช้ 3 ประเภทคือ
1.ยีสต์หมักลอยผิว
2.ยีสต์หมักนอนก้น
3.ยีสต์ธรรมชาติ

เบียร์แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ Lager และ Ale เบียร์ทั้ง 2 ประเภท
ซึ่งแตกต่างกันที่ยีสต์ที่ใช้ในการหมัก และอุณหภูมิที่ใช้หมักทำให้ได้เบียร์ที่มีรส กลิ่น และ รสชาติที่ไม่เหมือนกัน
Test Beer_Ple@Singha 033_2015.08.31

การแบ่งประเภทเบียร์
เบียร์สด  (Draught beer) เบียร์ที่ทำการเสิร์ฟจากถังเบียร์ โดยไม่ได้บรรจุลงขวด หรือ กระป๋อง

ไลท์เบียร์ (Light beer) เบียร์ที่มีแคลอรี่ และ แอลกอฮอล์ต่ำ มีสีอ่อน และ รสชาดที่จืด มีรสขมน้อย กลิ่นน้อย

ไอซ์เบียร์ (Ice beer) เบียร์ที่เสร็จสิ้นจากกระบวนการหมัก เบียร์จะถูกทำให้เย็นจนน้ำเริ่มแข็งตัวเป็นเกล็ด

Test Beer_Ple@Singha 044_2015.08.31

เบียร์รสชาติดีที่สุด ไม่ใช่เบียร์ที่แช่เย็นจัดเบียร์บางตัวที่เป็นแบรนด์โปรดของใครหลายคน แคลอรี่สูงจนน่าตกใจ เรียกว่ารู้แล้วต้องดื่มอย่างมีสติ เมื่อดื่มแล้วต้องหมั่นออกกำลังกายเพื่อช่วยเผาผลาญไขมัน  ออกบ้าง การดื่มเบียร์หนึ่งแก้วในตอนเย็นสักแก้วเพิ่มความสดชื่น เพราะเบียร์มีสารต่างๆ มากมาย มีวิตามิน และเกลือ แร่ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ  แข็งแรงสำหรับ คอเบียร์ฟังแล้วคงแอบอมยิ้ม เมื่อบอกว่าเบียร์มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรควรดื่มพอประมาณการดื่มเบียร์พอประมาณต่อวันมักจะมีอายุที่ยืนยาว เพราะเบียร์มีสารปกป้องหัวใจ
Beer Test@EST.33 CDC  069_2015.08.30 Beer Test@EST.33 CDC  039_2015.08.30

เบียร์ เป็นเครื่องดื่่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic beverage) ที่ได้จากการหมัก (Fermentation)
ตัวอย่างเช่น “เบียร์อาซาฮิซุเปอร์ดราย” และ “คิรินเบียร์” เป็นเบียร์ที่ทำจากมอลต์และฮอปส์ ใช้ข้าวกับข้าว
โพด มอลต์ (malt) ยีสต์ (yeast) ฮอพ (hop) และน้ำ มอลต์ได้จากการนำเมล็ดธัญพืช (cereal grain) เช่น
ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี (wheat)  เพาะให้งอก (malting) ระหว่างการงอกจะมีเอนไซม์ ย่อยสตาร์ซ (starch) ให้มีโมเลกุลเล็กลง เป็นน้ำตาลแล้วนำมาหมักด้วยยีสต์ ให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์ ก่อนการหมักมีการเติมฮอพ (hop) เพื่อให้ได้กลิ่น และ WFH รสขมของเบียร์เติมลงไป

ลาเกอร์เบียร์  เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ เบียร์สิงห์ คาร์ลสเบิร์ก (Carlsberg) ไฮเนเก้น (Heineken) เป็นเบียร์ที่ได้รับความนิยมมาก และผลิตมากที่สุดในโลก เบียร์ชนิดนี้มีลักษณะรสชาติเฉพาะคือ มีรสอ่อนๆ หวานน้อย สีเหลืองอำพันดื่มแล้วสดชื่น มีแอลกอฮอล์ประมาณ 3.2-5.5 ดีกรี เสิร์ฟอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 4-7 องศาเซลเซียส

เบียร์  มีสารต่างๆ มากกว่า 1,000 ชนิด เช่น สารโพลีฟีนอยด์ที่จะช่วยป้องกันมะเร็ง มาจากการดักจับอนุมูลอิสระตัวร้ายออกจากร่างกาย และสารโพลีฟีนอยด์หลัก คือ Xanthohumol มีข้อดี คือช่วยยับยั้งโปรตีนที่ช่วยในการพัฒนาการของมะเร็ง รวมทั้งวิตามิน และ เกลือแร่สังกะสี แมกนีเซียม เหล็ก และ แร่ธาตุจำเป็น ซึ่งช่วยให้เส้นประสาทและ กล้ามเนื้อ แข็งแรง เหตุผลดีๆ ยังมีอีกมากมาย เบียร์ขวด หรือกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว จริงๆ
ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะเก็บไว้นานจะทำให้กลิ่น และรสน้อยลง การเก็บเบียร์จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อนำมาใช้ได้ทันที เพื่อป้องกันการเก็บไว้ให้ได้นานเกินควรทางโรงงานจึงประทับวันที่ผลิตบนกล่องไว้เป็นที่สังเกต หรืออาจจะเป็นโค้ด ที่ฉลากการซื้อ และการจำหน่ายเบียร์ที่ผลิตก่อนออกไปก่อนอุณหภูมิในการเก็บที่ดีคือระหว่าง 40-70 หรือมากกว่า 21C จะทำให้กลิ่น และรสของเบียร์น้อยลง

ควรเก็บเบียร์ ให้ห่างจากแสงแดด เพราะจะทำให้เบียร์เสื่อมคุณภาพลง ด้วยเหตุนี้เบียร์จึงบรรจุขวดสีน้ำตาล หรือสีเขียว หากเก็บไว้นานจนเบียร์เป็นวุ้น Freeze จะทำให้เบียร์ตกตะกอน และเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมื่อเปิดออก
จะไหลพุ่งอย่างรวดเร็ว หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากเกินไป  เบียร์อาจจะมีสีขุ่นเสียได้
Test Beer_Ple@Singha 042_2015.08.31

การเทเบียร์ลงแก้ว
ใช้แก้วที่สะอาดไม่มีน้ำปน ไม่ให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรก หรือ น้ำขัดขวางการก่อรูปของฟองเบียร์ เวลารินเบียร์ให้ถือแก้วลักษณะเอียง 45 องศา ตั้งแก้วให้ตรงแล้วเทเบียร์ลงไปตรงกลางแก้ว รินเบียร์ โดยให้เล็งว่าน้ำเบียร์จะตก
กระทบบริเวณกลางแก้วโดย ให้ปากขวดอยู่เหนือ เวลาริน รินเบียร์ถึงครึ่งแก้วก็ค่อยเอียงแก้วกลับมาตั้งทำมุม 90 องศารินต่อไปเรื่อยๆ อย่าให้ฟองเบียร์ล้นแก้ว การรินแบบนี้ต้องการให้เกิดพรายฟองเบียร์ จะทำให้กลิ่นของเบียร์กระจายฟุ้ง ยังช่วยให้แก๊สแตกตัว ลดอาการท้องอืดหลังจากดื่มด้วย เทเสร็จแล้วเบียร์ควรมีความหนาของฟองพอประมาณในแบบคลอสเตอร์ ความสุขที่คุณดื่มได้ กินเบียร์ให้อร่อยว่าต้องให้เย็นแต่ไม่ใส่น้ำแข็งใส่แก้วจะดื่มนุ่มมากกว่ามาก
Beer Test@EST.33 CDC  126_2015.08.30

รู้อย่างนี้แล้ว หวังว่าทุกคนคงเลือกดื่มเบียร์ให้อร่อยมากขึ้น ดื่มพอประมาณดีที่สุดนะค่ะ เพื่อสุขภาพ