กิจกรรมสัญจรหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อุตรดิตถ์

ขับรถผ่านอยู่หลายรอบ อุตรดิตถ์
วันนี้ได้มีโอกาสเข้าไปแล้ว

จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์
ดินแดน 3 วัฒนธรรม(ล้านนา ล้านช้าง ไทยกลาง) เสริมสร้างชุมชนให้มีความเข็มแข็ง เพิ่มรายได้ชุมชน เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 9 อำเภอ 28 หมู่บ้าน

โครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรวมตัวของการท่องเที่ยวระดับชุมชน ‘แอ่งเล็ก’ สร้างเป็นอาชีพที่ยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมบวกกับวิถีชีวิตของชุมชน ยกเสนห์ความงดงามของท้องถิ่น ด้านทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี และอาหาร พัฒนาเป็น อัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวซื้อสินค้าในชุมชน ทำให้รายได้กระจายอยู่ในชุมชน

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 61 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ จัดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ ดินแดน 3 วัฒนธรรม(ล้านนา ล้านช้าง ไทยกลาง) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2561

เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงาน ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสื่อมวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย สื่อส่วนกลางและสื่อท้องถิ่น มีพื้นที่เป้าหมายในการศึกษาดูงาน ได้แก่ อำเภอพิชัย บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก ทหารคู่ใจพระเจ้าตากสิน / ชมประเพณีหาบจังหัด ที่อำเภอตรอน / อำเภอฝากท่า เภอบ้านโคก ชุมชนทอผ้ามัดหมี่ ชื่อดัง / อำเภอน้ำปาด แวะสักการะพระอกแตก หนึ่งเดียวในโลก และเชคอินสะพานร่วมใจที่ชาวชุมชนพร้อมใจกันทำสะพานไม้ขัด กลางทุ่งนา ธรรมชาติ เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้นักท่องเที่ยวได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แล้วจะรู้ว่ามีบางสิ่งอธิบายทุกอย่างไว้ลงตัวหมดแล้ว

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่น เป็นดินแดน 3 วัฒนธรรม คือล้านนา ล้านช้าง และ ไทยกลาง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมและใช้จ่ายได้ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสเสนห์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และช่วยเสริมสร้างรายได้ ให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน