ป่าชายเลนผืนใหญ่ สู่มรดกโลก

ป่าชายเลนผืนที่ใหญ่ที่สุดและมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก

จุดเด่นของพื้นที่ที่เข้าหลักเกณฑ์มรดกโลก ที่มีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล คือป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่กั้นระหว่างไทยกับเมียนมา และมีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนทั้งพันธุ์สัตว์และพืช รวม 500 ชนิด เรียนรู้และเรียนรู้กับประสบการณ์ เพราะที่ผ่านมาเรียนรู้กับสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ใช่ สิ่งที่ไม่ใช่ แยกแยะจนเลือกได้ สิ่งที่ชอบที่สุด วันนี้อยากชวนมาท่องเที่ยว ป่าชายเลนระนอง ที่มีคุณค่าสากลที่โดดเด่น (Outstanding Universal Value)

นับเป็นป่าชายเลนผืนที่ใหญ่ที่สุดและมีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยป่าชายเลน จังหวัดระนอง เข้าหลักเกณฑ์ในการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
ที่นี่เหมือนเป็นแค่จุดเล็กๆ ของสังคมที่ไม่มีใครเห็นหรือให้ความสนใจ บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ กระจายอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี ชายแดนระหว่างไทย-เมียนมาร์ ด้วยพื้นที่พื้นที่ประมาณ 161,919 ไร่

นายวิจารณ์ มีผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 (ระนอง)

วันนี้ Toptotravel และทีมสื่อมวลชนได้มีโอกาส พบ นายวิจารณ์ มีผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 (ระนอง)

ด้วยคุณค่าสากลที่โดดเด่น กับ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดม สมบูรณ์ของป่า ชนิดพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่น เช่นแม่หอบ และชนิดพันธุ์พืชที่ใกล้ สูญพันธุ์หลายชนิด เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น แสดงถึงกระบวนการทางนิเวศวิทยา และชีววิทยา ที่กำลังเกิดขึ้นที่สำคัญในการวิวัฒนาการและการพัฒนาของบนบก แหล่งน้ำจืด ระบบนิเวศชายฝั่งและทะเลรวมไปถึงสังคมพืชและสัตว์ เป็นโอกาสให้รัฐหรือประชาชนในท้องถิ่นได้ประกาศคุณค่าแหล่งมรดกสู่นานาชาติ

จุดเด่นของพื้นที่ที่เข้าหลักเกณฑ์มรดกโลก ที่มีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล คือป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่กั้นระหว่างไทยกับเมียนมา มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนทั้งพันธุ์สัตว์และพืช รวม 500 ชนิดให้เรียนรู้ และสัมผัสกับประสบการณ์ที่มีคุณค่าสากลที่โดดเด่น (Outstanding Universal Value) นับเป็นป่าชายเลนผืนที่ใหญ่ที่สุดและมีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยป่าชายเลน ระนอง เข้าหลักเกณฑ์ในการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการส่งให้พิจารณา”

ภารกิจหลักของศูนย์ ฯ

ด้วยคุณค่าสากลที่โดดเด่น กับ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดม สมบูรณ์ของป่า ชนิดพันธุ์สัตว์เฉพาะถิ่น เช่นแม่หอบ และชนิดพันธุ์พืชที่ใกล้
สูญพันธุ์หลายชนิด เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นแสดงถึงกระบวนการทางนิเวศวิทยาและชีววิทยาที่กำลังเกิดขึ้นที่สำคัญในการวิวัฒนาการและการพัฒนาของบนบก แหล่งน้ำจืด ระบบนิเวศ ชายฝั่งและทะเลรวมไปถึงสังคมพืชและสัตว์ เป็นโอกาสให้รัฐหรือประชาชนในท้องถิ่นได้ประกาศคุณค่าแหล่งมรดกสู่นานาชาติ

Toptotravel และทีมสื่อมวลชนได้ร่วมเดินทางสู้เส้นทาง มีโอกาสรู้จักความใหญ่โตของป่าชายเลน จนทำให้เรารู้สึกตัวเล็กลง ด้วยสายพันธุ์ต่างๆ ตลอดจนวิถีชีวิตชุมชนรับการคุ้มครอง หลายคนคงยังไม่รู้ว่า ศูนย์วิจัยป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการ ให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ในเรื่องความสำคัญของป่าชายเลนโดยในแต่ละปีมีผู้เข้ามาทัศนศึกษา ประมาณ 10,000 คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

เรื่องของเรื่อง คือ แหล่งมรดกโลกจะได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนวิถีชีวิตชุมชนรับการคุ้มครอง ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติและก่อให้ เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการ คุ้มครองมรดก
จนปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการในการ อนุรักษ์ คุ้มครองป้องกันและการบริหารจัดการมรดก ระบบนิเวศหลากหลาย ได้สืบสายการเรียนรู้ ธรรมชาติที่ยังคงอยู่ เคียงคู่ ป่าชายเลนระนอง

ทำอย่างไร ป่าชายเลนระนอง จึงจะไปสู่มรดกโลก ซึ่งขั้นตอนการประกาศเป็นมรดกโลก ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนแรก การจัดทำเอกสารเพื่อ บรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (TentativeList) ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะ อนุกรรมการมรดกโลกทางธรรมชาติและคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

ประการที่สอง ได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีก่อนจากนั้นจะส่งต่อไปยังคณะ กรรมการมรดกโลกในต่างประเทศพิจารณา หากเห็นชอบแล้ว จะดำเนินการขั้นตอนต่อไป

ระหว่างที่ Toptotravel ล่องเรือเพื่อชมความอุดมสมบูรณ์ของ ระบบนิเวศหลากหลาย ได้สืบสายการเรียนรู้ ธรรมชาติที่ยังคงอยู่ เคียงคู่ ป่าชายเลนระนอง อย่างน่าทึง ที่นี่เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ป่าชายเลน สนับสนุนให้ความ ร่วมมือและร่วมศึกษาวิจัยกับสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่นชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จำนวน 24 ชนิด

ความแตกต่างของ ชนิดพันธุ์สัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลา ตะกวด งู ลิง แสม นาก ปลา ตีน รวมทั้งนก ชนิดต่างๆ ป่าชายเลน จังหวัดระนองกระจายอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี ชายแดนระหว่างไทย-เมียนมาร์ มี พื้นที่ประมาณ 161,919 ไร่ นับเป็นป่าชายเลนผืนที่ใหญ่ที่สุดและมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก

ไม่รู้ทำไม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเจริญเติบโตของป่าชายเลนพื้นที่รับผิดชอบ ลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเล ลักษณะชายฝั่งแบบจมตัว (submerged shoreline) มีที่ราบชายฝั่งทะเลเป็นบริเวณกว้าง มีปริมาณฝนเฉลี่ย 4,078.26 มม. (พ.ศ.2546-2555) ช่วงเดือน พฤษภาคม – กันยายน มีปริมาณฝน เฉลี่ย ประมาณ 600 มม. ต่อเดือน

การท่วมถึงของน้ำทะเล น้ำทะเลท่วมถึง สม่ำเสมอ (SemidiurnalTide) โดยมีความแตกต่างของน้ำ(Tidal range) ในช่วงน้ำเกิด (Spring Tide) เท่ากับ 4.2 เมตรนอกจากนี้ยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยในหลายด้าน เช่น ผลวิจัยชี้ชัดว่าป่าชายเลนระนอง มีศักยภาพดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

สรุปคือ ป่าชายเลนช่วยลดความรุนแรงของคลื่นสึนามิ ความเสียหายจากคลื่น สึนามิต่อป่าชายเลนบริเวณบ้าน หาดทรายขาว ของ อำเภอ สุขสำราญ

1.พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งทะเล ลึกเข้าไป ประมาณ 70 เมตรคลื่นสึนามิทำลายจนหมดสิ้นพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณ 70-110 เมตร จากชายฝั่ง ได้ รับความเสียหายบางส่วนพื้นที่ป่าชายเลน ตั้งแต่บริเวณ 110-150 เมตร ไม่พบว่ามีต้นไม้ถูกทำลายและยังเป็นสถานที่สวยงามตามธรรมชาติ

หลังจากได้ฟังเรื่องราว ที่มาของป่าชายเลนสู่มรดกโลก ในห้องบรรยาย ที่น้อยคนจะมีโอกาสได้เรียนรู้ ผู้ชายธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ความรักที่ยิ่งใหญ่ บนพื้นที่ ความรับผิดชอบที นายวิจารณ์ มีผล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญ การพิเศษ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอด เทคโนโลยีทรัพยากรป่าชายเลนที่3 (ระนอง) พื้นที่บริเวณสำนักงาน 66 ไร่ สวนรุกขชาติ เนื้อที่ 150 ไร่ ป่าชายเลนบริเวณคลองตำโหงง เนื้อที่ 13,500 ไร่ จังหวัดระนอง จึงได้วางแผนเตรียมความพร้อม ทั้งชุมชน วิถีชีวิต เศรษฐกิจ ลงลึกถึงเยาวชนในสถาบันการศึกษา ที่จะเป็นกำลังสำคัญ รักษาป่าชายเลน เพื่อให้ได้รับการพิจารณาเป็นป่ามรดกโลกแห่งใหม่ ในเร็วๆ นี้

“ …. ป่าชายเลนของระนอง สมบูรณ์มากและใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่สำคัญป่าที่ระนองมีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชและสัตว์ สาเหตุเพราะที่นี่มีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของป่าชายเลน ฝนแปดแดดสี่คงเคยได้ยินเมืองระนองเป็นแบบนั้น มีฝนแปดเดือนแล้งแค่สี่เดือน เพราะฉะนั้นแปดเดือนมีปริมาณน้ำฝนมากทำให้ป่าชายเลนเจริญเติบโตดี

สองเพราะพื้นที่ชายฝั่งระนองเป็นพื้นที่ราบ น้ำทะเลท่วมตามน้ำขึ้นและน้ำลงแตกต่างกันถึง 4 เมตร การที่น้ำทะเลท่วมถึง 4 เมตรทำให้ป่าชายเลนกระจายไปได้ไกลและเจริญเติบโตได้ดี และมีลำคลองเล็ก ๆ เชื่อมต่อกันออกไปอีกเป็นลักษณะพิเศษกว่าที่อื่น

เรื่องแหล่งประมงก็สำคัญมาก อดีต ในปี 2519 ป่าชายเลนของระนองเป็นป่าสัมปทาน ให้เอกชนมาสัมปทาน ระยะยาว 15 ปี มีการตัดไม้ แต่หลังจากนั้นปี 1996 รัฐบาลปิดป่าชายเลนทั่วประเทศให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ แต่อนุโลมให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินได้ ที่สำคัญหลังจากที่เราอนุรักษ์ป่าชายเลนไว้ ตอนนี้ถือเป็นแหล่งประมงที่สมบูรณ์ปัจจุบันจับปูดำได้ถึงสองร้อยตัน เพิ่มขึ้นมาก เพราะป่าสมบูรณ์ขึ้น ทำรายได้ให้กับประชาชนมากขึ้น ที่ผ่านมา ป่าชายเลนลดความรุนแรงของคลื่นลมจากสึนามิได้ด้วย ด้วยเพราะสังคมของรากไม้โกงกางประสานกันแน่นทำให้เกิดความเสียหายบางส่วนเท่านั้น เราก็บอกชาวบ้านว่า ต้องช่วยกันปลูกป่าชายเลนจะช่วยในเรื่องของการเป็นกำบังคลื่นลมได้

ด้านความสวยงามทางธรรมชาติ ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมป่าชายเลนที่มีระบบนิเวศน์ที่สวยงาม ช่วงน้ำขึ้นเป็นสภาพแบบหนึ่งและน้ำลงก็จะเห็นอีกแบบหนึ่ง สามารถมาเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี เพียงแต่ว่าถ้านั่งเรือเยี่ยมชมต้องสอบถามมาล่วงหน้าเพื่อเช็คระดับน้ำ”

การจัดการด้านการท่องเที่ยวป่าชายเลน
ผอ. ศูนย์ ฯ กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาติดต่อที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้ โดยทางเราจะประสานกับเรือชาวบ้าน เพื่อนำนักท่องเที่ยว เที่ยวชมป่าชายเลนได้ เป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน

โดยคิดราคาลำละ 2,000 บาท เป็นเรือใหญ่ นั่งได้ 14 คน การจัดการท่องเที่ยวแบบ One Day Trip ใช้เวลาในการล่องเรือ 2 ชั่วโมง ก็จะพาไปคลองบางโขง ชมป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ไปชมต้นโกงกางยักษ์ ไปแวะชุมชนชาวเลบ้านเกาะเหลา ซึ่งปัจจุบันมีชาวประมงอยู่ราว 200 คน หากสนใจสามารถติดต่อได้

ตอนนี้ต้องยอมรับว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีจำนวนน้อยและต้องเน้นในเรื่องงานวิจัย การจัดการด้านท่องเที่ยว ยังไม่มีงบพัฒนาด้านการท่องเที่ยวลงมา หากมีลงมาการจัดเรือนำเที่ยว คงจะหาเรือให้เล็กลงและมีราคาที่ถูกลงได้”

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทรัพยากร

ป่าชายเลนที่3 (ระนอง)