Category Archives: ข่าว

เกษตรอินทรีย์วิถีไทย

จังหวัดนครปฐม และ 18 จังหวัดภาคกลาง
จัดยิ่งใหญ่ งาน   มหกรรมเกษตรอินทรีย์
วิถีไทย 2561  ครั้งที่ 1

​จังหวัดนครปฐมร่วมกับ 18 จังหวัดภาคกลาง จัดงาน “มหกรรมเกษตรอินทรีย์ วิถีไทย 2561” ครั้งที่ 1 โดยมีพิธีเปิดงานวันที่ 3 สิงหาคม 2561 โดย นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ลาน Exhibition Hall โซน C ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ



นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปี 2561 และยังกำหนดให้เกษตรอินทรีย์เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องการ ให้ทุกหน่วยงานร่วมดำเนินการขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 ถึง 2564

เพื่อให้มีการบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทั้งกระบวนการผลิตรวมถึงการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ให้ขยายตัวในเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศสามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายขึ้น

​การจัดงาน “มหกรรมเกษตรอินทรีย์ วิถีไทย 2561” ครั้งที่ 1 ถือเป็นการจัดงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายของกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ในด้านของการรวบรวมผลผลิตเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเกษตรอินทรีย์ อาหารอินทรีย์ และท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวกับอินทรีย์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งอยู่ในขั้นเตรียมความพร้อมสู่เกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ จาก 19 จังหวัดในภาคกลาง มาจัดแสดงและให้บริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มช่องตลาดให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบ ได้มีช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้ง เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่จะได้บริโภคอาหารที่ปลอดจากสารเคมีทางหนึ่ง

​นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ จากเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญ นิทรรศการให้ความรู้ และคลินิกให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และผู้ที่สนใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันจะส่งผลให้ประเทศไทยเกิดการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มยิ่งขึ้น

​นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า ด้วยจังหวัดในกลุ่มภาคกลาง 19 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครนายก จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม ได้รับงบประมาณจากยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลางให้จังหวัดนครปฐมดำเนินการจัดงาน เพื่อกระตุ้นให้ภาคกลางพัฒนาสู่ภูมิภาคที่มีอาหารและสินค้าเกษตรให้ทันสมัย เพื่อเป็นฐานการผลิตที่ได้มาตรฐานโลก และเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของประเทศและสนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่ ภายในปี 2564 จึงได้จัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์วิถีไทย 2561 ครั้งที่ 1 โดยนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์และบริการอินทรีย์จากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ จาก 19 จังหวัดภาคกลาง มาจัดแสดงและจำหน่าย โดยแบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่ 1) โซนมาตรฐานอินทรีย์ 2) โซนเตรียมความพร้อมสู่เกษตรอินทรีย์ 3) โซนท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องกับอินทรีย์ และ 4)โซนร้านอาหารอินทรีย์

 

​นอกจากนี้ยังจะได้เพลิดเพลินกับการแสดงศิลปะพื้นบ้านสุดตระการตา การเสวนาของผู้รู้ด้านเกษตรอินทรีย์ การสาธิตการทำอาหารอินทรีย์ รวมทั้งซื้อสินค้านาทีทอง ในส่วนของนิทรรศการให้ความรู้นั้น มีทั้งส่วนที่เป็นนิทรรศการมีชีวิตแสดงถึงผลสำเร็จของการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง ขณะเดียวกันยังมีส่วนบริการข้อมูลเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรอินทรีย์ และข้อมูลผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับอินทรีย์ โซนให้ความรู้และคลินิกเกษตร ซึ่งจะคอยให้คำปรึกษา แนะนำ และความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจท่านใดมีปัญหาด้านการเกษตร สามารถปรึกษาที่โซนคลินิกเกษตรภายในงานได้

​สำหรับงาน “มหกรรมเกษตรอินทรีย์ วิถีไทย 2561” ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 3 – 5 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 -20.00 น
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

โตชิบา ไทยแลนด์ รุกหนักครึ่งปีหลัง 2018

เปิดตัวสินค้าใหม่ 34 รุ่น หวังรายได้โต 2 ดิจิต

นายโตชิโระ อิชิวาตาริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไลฟ์สไตล์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส คอร์ปอเรชัน (TLSC) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมด้วยนายไบรอัน จ้าว ประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมแถลงข่าว “A New Chapter Beyond All Limits ” เปิดตัวสินค้าใหม่ พร้อม
ชูนโยบายและแผนการตลาดเชิงรุกในครึ่งปีหลัง

นายโตชิโระ  อิชิวาตาริ  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไลฟ์สไตล์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส คอร์ปอเรชัน (TLSC) ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า…

โตชิบา ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดี ภายใต้มาตรฐานการดีไซน์และการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้น ด้านคุณภาพชีวิต และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค  จากการรวมกัน ของ TLSC และ Midea Group เรามุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดโลก (Global Market) มากยิ่งขึ้น ขยายกลุ่มสินค้าให้หลากหลาย

นอกจากนี้ นายโตชิโระ  อิชิวาตาริ   ยังกล่าวตอกย้ำว่า TLSC   ยังยืนยันเจตนารมณ์เดิมที่จะลงทุนในประเทศไทย ทั้งในแง่เป็นฐานการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการขายและการทำตลาด และโตชิบาจะยังคงเติบโต ยั่งยืน และก้าวไปด้วยกันกับคนไทย เรามุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพตามมาตรฐานญี่ปุ่น และคำนึงถึง
ไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  เพื่อนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตคน
ไทย ตามสโลแกนโตชิบา

นายไบรอัน จ้าว ประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด

นายไบรอัน จ้าว ประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับตลาดในประเทศไทย ภาพรวมเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน อยู่ในช่วงฟื้นตัว และมีแนวโน้มดีขึ้น  โดยคาดว่าปีนี้จะเติบโตสูงถึง 4.1%   ซึ่งถือว่าเติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี 2555 ส่วนค่า GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงแนวโน้มในเชิงบวกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะดีขึ้น

สำหรับไตรมาสแรก  ของปี 2561 ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน  ยังคงทรงตัวที่อัตราการเติบโต 0.2% เนื่องจากสภาพอากาศ ส่งผลกระทบต่อยอดขายกลุ่มเครื่องปรับอากาศ มีผลติดลบ 9% อย่างไรก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็ก ยังมีการเติบโตสูงขึ้นถึง 7% ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าอนาคตจะเป็นไปในเชิงบวก

สำหรับผลประกอบการของโตชิบาในครึ่งปีแรก ภาพรวมยอดขายโตชิบา โตขึ้นถึงกว่า 20% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ในส่วนของการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก โตชิบาเผยโฉมสินค้าใหม่มากถึง 8 หมวดหมู่ รวม 32 รุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างโตชิบาและไมเดีย และจากการลอนช์สินค้าดังกล่าว  จึงเป็นที่มาของยอดขายที่เติบโตสูงขึ้น

นายฮิโรยูกิ ทากาเสะ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและทีวี

สำหรับแผนการตลาดครึ่งปีหลัง โตชิบายังคงใช้ความได้เปรียบจากการรวมกันของ 3 ประเทศ ได้แก่สินค้าคุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่น ความรวดเร็วในการผลิตและการพัฒนาจากประเทศจีน และประสบการณ์  การทำตลาดอันยาวนานจากประเทศไทย เปิดตัวคอนเซปต์ A New Chapter Beyond All Limits เพื่อตอกย้ำ โตชิบายุคใหม่ ที่จะก้าวทะยานไปข้างหน้าอย่างไร้ขีดจำกัด โดยคาดหวังจะเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า Top 3 ในประเทศไทย ภายใน 3 ปี และต้องเติบโตอย่างน้อย 2 ดิจิตขึ้นไป เราวางแผนที่จะขยายธุรกิจของเราให้เติบโตยิ่งขึ้น จากการที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มมากมาย โดยในครึ่งปีหลัง แผนเปิดตัวสินค้าใหม่เพิ่มอีก 8 หมวดหมู่ 34 รุ่น

นายฮิโรยูกิ ทากาเสะ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและทีวี กล่าวเสริมว่าจากข้อมูลเดือนมกราคมถึงเมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย เติบโตขึ้น 0.2% โดยสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเยอะได้แก่กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก (SDA – Small Domestic Appliances) ซึ่งมีสัดส่วนการตลาด 31% ในขณะที่เครื่องปรับอากาศ 32% ตู้เย็น 19% และเครื่องซักผ้า 18% ส่วนการเติบโตสินค้ากลุ่มความเย็นและกลุ่มซักผ้า เติบโต 4% ในขณะที่เครื่องปรับอากาศ ติดลบ 9% ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เติบโตสูงถึง 7.1% โดยเครื่องทำน้ำอุ่นโตถึง 31% และไมโครเวฟ 15%

ส่วนผลประกอบการของโตชิบาในครึ่งปีแรก ยอดขายโตชิบาโตถึงกว่า 20% โดยมาจากตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ และเครื่องทำน้ำอุ่นที่เติบโตถึง 38%, 35%, 189% และ 146% ตามลำดับ ส่วนเครื่องปรับอากาศ เติบโตเพียง 1%

ส่วนแผนการตลาดครึ่งปีหลัง บริษัทฯ มีแผนเปิดตัวสินค้าใหม่อีก 34 รุ่น ทั้งกลุ่มตู้เย็น เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว เครื่องปั่นน้ำผลไม้ และเครื่องทำน้ำอุ่น เพื่อมาเติมเต็มช่องว่างของสินค้าที่โตชิบาขาดหายไป และถือเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้หลากหลายและครบถ้วนยิ่งขึ้น

นายบุนยรัตน์ ไตรสิริสมบัติ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

นายบุนยรัตน์ ไตรสิริสมบัติ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กล่าวเสริมว่า ในครึ่งปีหลังนี้ โตชิบาจะเปิดตัวสินค้ามากมาย โดยเฉพาะตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ที่จะมาขยาย Market Share ของโตชิบาให้กว้างขึ้น ทั้งตลาดพรีเมียมและตลาดแมส สำหรับสินค้ากลุ่มตู้เย็น โตชิบาเป็นที่ 1 ในเรื่องตู้เย็นประตูเดียวมาตลอดหลายปีต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีตู้เย็น 2 ประตู และตู้เย็นมินิบาร์ แต่ในปีนี้ เราจะมาครบไลน์อัพ เติมเต็มช่องว่างเค้กก้อนใหญ่ในส่วนของตู้เย็นมัลติดอร์ (Multi Doors) และตู้เย็นไซด์บายไซด์ (Side By Side) ที่มีมูลค่าการตลาดถึงหนึ่งพันล้านบาท โดยมีแผนออกสินค้าในไตรมาส 4 ส่วนในไตรมาส 3 เราส่งตู้เย็น 1 ประตูรุ่นใหม่ FIT ที่ปรับโฉมใหม่ เพื่อยังคงรักษาความเป็นผู้นำเบอร์ 1 ในตู้เย็น 1 ประตู ด้วยส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเกือบ 30%

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โตชิบาจะใส่ใจเรื่องความต้องการของลูกค้า รวมถึงดูเทรนด์ผู้บริโภคเป็นหลัก เฉกเช่นการพัฒนาตู้เย็น ที่ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น เวลามีจำกัด ดังนั้นการซื้อของกินของใช้ในแต่ละครั้งจึงมาก และเมื่อต้องเก็บมาก เราจึงออกแบบตู้เย็นให้ใหญ่ขึ้น รวมถึงต้องเก็บรักษาความสดได้ยาวนาน และต้องออกแบบตู้เย็นให้จัดสรรของกินแต่ละประเภทให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม จึงเป็นที่มาของการเกิดตู้เย็นไซด์บายไซด์ และมัลติดอร์

ตู้เย็นมัลติดอร์ โดดเด่นด้วย 3 Cycle Real Inverter มาพร้อมระบบทำความเย็น 3 Cooling กระจายความเย็นได้ทั่วถึง และระบบการกำจัดกลิ่นชั้นยอด นอกจากนี้ยังแบ่งช่องต่างๆ ในตู้เย็นได้มากถึง 26 ช่อง เพื่อให้คุณเลือกแช่ได้ตามใจ

ส่วนตลาดเครื่องซักผ้า เราตั้งเป้าเติบโต 50% โดยขยายไลน์อัพเพิ่ม ด้วยการเปิดตัวเครื่องซักผ้า 2 ถังสำหรับจับตลาดกลางถึงล่าง และเพิ่มเครื่องซักผ้าฝาหน้า และ 2 in 1 เครื่องซักอบผ้าฝาหน้า เพื่อจับกลุ่มคอนโด และตลาดกลางถึงบน ซึ่งใน 2 ตลาดดังกล่าว มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 6,000 ล้านบาท ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มมาร์เก็ตแชร์ของกลุ่มเครื่องซักผ้าของโตชิบามากขึ้น

ในไตรมาส 3 นี้ โตชิบามีแผนเปิดตัวเครื่องซักผ้า 2 ถัง ซึ่งมาด้วยดีไซน์ที่สวยหรู ตัวถังกันสนิม พร้อมจุดเด่นท่อเติมน้ำแบบคู่ ที่ทำให้การซักและการปั่นสะดวก สะอาดยิ่งขึ้น มีให้เลือกมากถึง 4 ความจุ คือ 7.5 กก. 8.5 กก. 11 กก. และ 13 กก. เพื่อเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย

สำหรับเครื่องซักผ้าฝาหน้า หรือ Front Load จะมาด้วยเทคโนโลยี Great Wave ที่ช่วยให้ผ้าสะอาดโดยไม่ต้องใช้น้ำร้อน จึงทำให้ประหยัดไฟ ประหยัดเวลา รวมถึงช่วยปกป้องสีสันของเสื้อผ้าให้อยู่ยาวนานยิ่งขึ้น มาพร้อม 3 ความจุให้เลือก คือ 7.5 กก. 8.5 กก. และ 9.5 กก.

ส่วนตัวไฮไลท์ เป็นเครื่องซักอบฝาหน้า ที่มีความจุทั้งซักและอบที่เท่ากัน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งมีให้เลือก 2 ความจุ คือ 10/10 กก. และ 8/8 กก. ซึ่งแพลนวางขายในไตรมาส 4

นายชาตรี พลสอนดา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก กล่าวว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาไม่สูงมาก มีความต้องการใช้ต่อเนื่อง และด้วยความที่สินค้ามีหลากหลาย จึงตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์โตชิบา เราตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 3 ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายใน 3 ปี โดยในครึ่งปีแรก เห็นผลชัดเจนว่าเราเติบโตมากในกลุ่มสินค้ากลุ่มไมโครเวฟ ซึ่งโตขึ้นถึง 189% จากการที่เราเปิดตัวไมโครเวฟใหม่ 7 รุ่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีเครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งโตขึ้นถึง 146% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทำให้ใน ไตรมาสที่ 3 นี้ เราแพลนออกเครื่องทำน้ำอุ่นใหม่อีก 8 รุ่น เพื่อเตรียมรับหน้าหนาวที่จะมาถึงในปลายปีนี้ สำหรับตลาดหม้อหุงข้าว เราตั้งใจขยายตลาดระดับกลางถึงล่าง โดยส่งหม้อหุงข้าวประเภท Jar Type หรือหม้ออุ่นทิพย์ดีไซน์ใหม่ สดใส และทันสมัยกว่าเดิม มีให้เลือก 2 ความจุ 5 รุ่น 3 ดีไซน์ มากไปกว่านั้น โตชิบากำลังขยายไลน์สินค้ากลุ่มเครื่องปั่นน้ำผลไม้เพิ่ม ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงเช่นกัน เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน และคนใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น เครื่องปั่นน้ำผลไม้ของโตชิบา มาด้วยเทคโนโลยี Off Center ที่ช่วยให้น้ำผลไม้ปั่นละเอียดยิ่งขึ้น

นางสาวธัญปภัสส์ อริยะวรวัฒน์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด กล่าวเสริมว่า นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อตลาดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยโดยตรงจากกลุ่มผู้บริโภคด้วย อย่างแนวโน้มหรือเทรนด์ เรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งแนวโน้มดังกล่าว จะส่งผลต่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องความสะดวกสบาย คุณภาพและเทคโนโลยี ดีไซน์ของสินค้า ที่อาจนับได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน รวมถึงการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ อย่างเรื่องการประหยัดเวลา นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ยังรวมถึงการรักษ์โลก ประหยัดพลังงาน และการรักสุขภาพ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของโตชิบา จึงถูกออกแบบมา โดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นปัจจัยหลัก เพื่อให้แน่ใจว่า เราจะ “นำสิ่งที่ดี มาสู่ชีวิต” ให้กับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับกิจกรรมการตลาดในครึ่งปีแรก อัตราส่วนการลงทุน จะมุ่งเน้นที่ การสร้างแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ และการจดจำต่อสาธารณชน ซึ่งรวมไปถึง ณ จุดขาย การส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น และนอกจากการลงทุนข้างต้นแล้ว ทางบริษัทยังให้ความสำคัญกับ พนักงานขาย อีกด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้มากที่สุด นอกเหนือจากการจัดจำหน่าย สินค้า ที่มีคุณภาพ หลากหลาย และแข่งขันได้

ส่วนแผนการตลาดครึ่งปีหลัง เน้นเรื่อง 4P ได้แก่ สินค้า อย่างเรื่องการเพิ่มไลน์สินค้า การอัพเกรดสินค้าให้มีคุณภาพและทันสมัยยิ่งขึ้น รวมไปถึง การขยายช่องทางการขาย ช่องทางการจัดจำหน่าย ให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงแพลนปรับโฉมร้านค้าให้ดูทันสมัย และสวยงามยิ่งขึ้น แผนการสื่อสารและการตลาดงบกว่า 12% เพื่อการลงทุนด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ทั้ง Above the line และ Below the line เพื่อสร้างการรับรู้ และความเชื่อมั่นในตราสินค้า ทั้งนี้ ภาพรวมการตลาดจะผ่านการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะ Online & Social Media เป็นหลัก โดยเน้นเรื่อง Digital Marketing, Localized Marketing รวมไปถึงการทำกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เหมาะกับกลุ่มสินค้า ฤดูกาล และพื้นที่การขาย โดยจะมีแคมเปญออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญรับหน้าฝน แคมเปญฉลองวันเกิด แคมเปญรับปีใหม่ หรือแม้แต่การทำ Road Show และ Work Shop ไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้สินค้า และสุดท้าย เรายังคงให้ความสำคัญกับ พนักงานขาย ที่ไม่ได้ต้องการให้เป็นตัวแทนขายสินค้า แต่เขาคือที่ปรึกษาส่วนตัว (Personal Consultant) เราจึงมีแผนพัฒนาบุคลากรให้ความรู้และฝึกอบรมทั้งในส่วนการขาย การสร้างประสบการณ์การใช้งาน การเป็นเลขาส่วนตัว รวมถึงการให้คำแนะนำหลังการขายอีกด้วย

นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง ประธานกรรมการบริหารบริษัท

นางกนิษฐ เมืองกระจ่าง ประธานกรรมการบริหารบริษัท กล่าวเสริมว่า นอกจากบริษัทฯ จะเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และแผนการตลาดต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทฯ ยังได้มีแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบงานบริการหลังการขาย ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบต่างๆ เพื่อเตรียมรองรับการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ขอให้เชื่อมั่นในโตชิบา เรายังคงเป็นแบรนด์ที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นางกนิษฐ  กล่าวเสริมว่า ในฐานะผู้ถือหุ้นคนไทย เรายังเชื่อมั่นในโตชิบา และในการรวมพลังของเรา 3 ประเทศ จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดี ที่รวดเร็ว และเติบโตอย่างยั่งยืน และที่สำคัญ เรายังคงมุ่งเน้นนโยบายด้านส่งเสริมกิจกรรมที่ดีเพื่อสังคม (CSR – Corporate Social Responsibility) เช่นที่ผ่านมา โตชิบาจะต้องเป็นตัวอย่างของบริษัทที่มีธรรมาภิบาลของสังคมไทย เป็นบริษัทที่ไม่ได้เน้นเพียงเรื่องการขายและการบริการเท่านั้น แต่ต้องเป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อท่านผู้แทนจำหน่าย ต่อสังคม ต่อคนรุ่นต่อไป ต่อประเทศชาติที่รักของพวกเราทุกคน และจะ “มุ่งมั่น …นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต”

Familiarization Trip เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ เชื่อมโยง๔มรดกโลก

ทกจ.เพชรบูรณ์ จัดทริป ดึงผู้ประกอบการไทย-ต่างชาติ เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก

เส้นทางประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์ อีกแห่งที่นักเรียน นักศึกษา นิยมมาลั๊นลากันอยู่บ่อยครั้งหลายคนอาจจะคุ้นหู และได้ยินคำว่า ‘มรดกโลก’ กันมาบ้างแล้ว ซึ่งมรดกโลกที่ว่านี้ อาจจะ
ไม่ได้หมายถึงแค่เมือง หรืออนุสาวรีย์เสมอไป มาตามรอยเมืองแห่งตำนาน ๔มรดกโลกเปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก

นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรม Familiarization Trip ดึงผู้ประกอบการไทย-ต่างชาติ เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัย หลวงพระบาง พร้อมจัดสัมมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่าย  ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินโครงการเปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ๔ มรดกโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ให้กับภาคเหนือ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศให้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวใหม่และสนใจการท่องเที่ยวในประเทศไทย และเป็นสื่อแนะนำผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวและนักลงทุน

โดยจัดกิจกรรม Familiarization Trip และสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมถึงสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยใช้โอกาสด้านศักยภาพที่ตั้งที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างภาคและเชื่อมโยงการพัฒนาตาม North-South Economic Corridor และ East-West Economic Corridor และประตูเชื่อมโยงชายแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ที่จังหวัดตาก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จังหวัดเลย

Familiarization Trip และสำรวจแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางเชื่อมโยง ๔ มรดกโลก ที่ขึ้นชื่อว่า  เส้นทางดังกล่าวเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยจะมีการสัมมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมต่อยอดธุรกิจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลบวกให้กับการท่องเที่ยวรวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม สร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย

Toptotravel ได้เดินทางไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว โดยเราเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร มุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวทางมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่สำคัญที่บันทึกประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตมากว่า 5,000 ปี จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑ มุ่งสู่จังหวัดเพชรบูรณ์

ซึ่งมีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี และกำลังเสนอรายชื่อเป็น Tentative List เพื่อรับรองให้เป็นมรดกโลกในอนาคตของประเทศไทย จากนั้นเดินทางต่อผ่านเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่าของจังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มีวัฒนธรรมไทหล่มที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยผ่านด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง จังหวัดเลย เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นมุ่งสู่เมืองหลวงพระบาง แหล่งท่องเที่ยวทางมรดกโลกที่สำคัญ จากนั้นกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง แล้วเดินทางมุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก คือ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เชื่อมโยงต่อไปยังจังหวัดตาก และออกจากประเทศไทยอีกครั้งที่ด่านแม่สอด ไปยังประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และหลังจากนั้นเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งจากด่านแม่สอด จังหวัดตาก มายังจังหวัดพิษณุโลก และกลับสู่กรุงเทพมหานคร

ขอคุณข้อมูลการเดินทาง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย Familiarization Trip
โครงการเปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ๔ มรดกโลก
ครั้งที่ 1 วันที่ 8-12 มิ.ย. 2561
ครั้งที่ 2 วันที่ 29 มิ.ย. – 3 ก.ค. 2561

 

พีเอฟพี จากก้าวเล็กๆ ที่ทรงพลัง สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่มั่นคง

มาเติมความสุข กับทุกมื้อด้วยความอร่อย
จาก พีเอฟพี

แวะมาบอกต่อความอร่อยง่ายๆ…ทำจากปลาทะเล จับก้ามแล้วฟิน กินแล้ว
ว้าว กับ ก้ามปูหิมะจากพีเอฟพี แฝงความภาคภูมิใจในมาตรฐานที่เราสร้างขึ้นและยึดถือเสมอมา คือ มาตรฐานด้านรสชาติ มาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรฐานระดับสากล รวมทั้งมาตรฐานในการใส่ใจสังคม และสภาพแวดล้อม รักษาความเป็นผู้นำ พีเอฟพี ออก 6 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้คุณได้พบกับความหลากหลายที่อร่อยไม่แพ้ใคร


PFP เป็นผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลแช่แข็งของประเทศไทย ภายใต้การควบคุมดูแลของบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้านโภชนาศาสตร์ มีการตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต มีการค้นคว้าวิจัยเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสายการผลิตเป็นระยะ เพื่อนำมาตรวจสอบทางชีวภาพ กายภาพและเคมีรวมไปถึงขั้นตอนการบรรจุหีบห่อ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ PFP ได้คุณภาพการผลิตและสะอาดตามมาตรฐานสากลจากกรมประมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมาตรฐานโลก (Codex) รวมถึงมาตรฐานต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล จากก้าวเล็กๆ ที่ทรงพลัง สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ที่มั่นคงโดยในปี 2527 PFP ได้ก่อตั้งขึ้น  ณ บ้านเลขที่ 27/4 หมู่ 7 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งได้เดินหน้าธุรกิจผลิตภัณฑ์เนื้อปลาบดแช่แข็งหรือซูริมิ(Surimi) เพื่อการส่งออก ภายใต้วิสัยทัศน์ “บริษัทฯ จะเป็นผู้นำในธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปในด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ”ด้วยศักยภาพในการผลิต มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และพัฒนาการทุกด้านที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์คุณภาพที่หลากหลายภายใต้แบรนด์ PFP เช่น ปูอัด เต้าหู้ปลา ซาลาเปาปลา หอยจ๊อ ทอดมัน ฯลฯ อีกทั้งมีบริษัทในเครือทั้งสิ้น 4 บริษัท คือ

1.บริษัท อุตสาหกรรมปลาป่นแปซิฟิค จำกัด ตั้งอยู่ จ.สงขลา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อรองรับเศษวัตถุดิบ เช่น หัวปลา ก้างปลามาผลิตเป็นปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ขายภายในประเทศ

2.บริษัท พี.เอฟ.พี.เทรดดิ้ง จำกัด ตั้งอยู่ กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคภายในประเทศ

3.บริษัท ที.พี.แปซิฟิค จำกัด ตั้งอยู่ จ.พิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าสู่ภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน

4.บริษัท พี.เอฟ.พี.อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ต่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2555 เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทซูชิและผลิตภัณฑ์ของ PFP สร้างความหลากหลายให้กับผู้บริโภค ผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล

ปี 61 พีเอฟพี ตั้งเป้าโต ด้วยกลยุทธ์ธุรกิจแบบ 4.0 ตั้งเป้าเติบโต 11% ไตรมาสแรกพุ่งเกินเป้า เดินหน้ารุกธุรกิจในประเทศผ่านแนวคิด‘เข้าใจ ใกล้ชิด มอบสิ่งดี’ เริ่มดำเนินธุรกิจแบบดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง พร้อมเปิดตัวร้านค้าออนไลน์ PFP TASTY SHOPและผลิตภัณฑ์ใหม่ในงาน THAIFEX2018

นายทวี ปิยะพัฒนา ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท พีเอฟพี กล่าวถึงภาพรวมของตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปว่า “ปีที่ผ่านมาอัตราการผลิต การจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการส่งออกมีการขยายตัวขึ้น เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ทุกกลุ่มสินค้าอาหารของไทยมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น

นายทวี ปิยะพัฒนา ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท พีเอฟพี

จากแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มบริษัทพีเอฟพีวางแผนขยายธุรกิจส่งออกรวมถึงขยายฐานลูกค้าในประเทศให้กว้างขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโรงงานที่มีแผนใช้งบลงทุนหลัก 200 ล้านบาท สำหรับเพิ่มและปรับปรุงเครื่องจักรในการขยายกำลังการผลิตการทำตลาดที่ใช้สื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในกิจกรรมส่งเสริมการขายรวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบัน

ในปี 2561กลุ่มบริษัทพีเอฟพีตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 5,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 11%จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นในประเทศ 10% ต่างประเทศ 14% สำหรับตลาดในประเทศ พีเอฟพีถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลแปรรูปแช่เยือกแข็งในช่องทางตลาดสดและช่องทางธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม(Food Service) แม้ว่าการแข่งขันในยุคปัจจุบันจะสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคา กำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ด้วยกระบวนการผลิตและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ได้รับมาตรฐานจึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของพีเอฟพีว่ารสชาติดี มีคุณภาพ ส่วนสถานการณ์ในตลาดต่างประเทศ ไตรมาสแรกเป็นไปได้ดีเกินเป้าหมายที่วางไว้  โดยเฉพาะตลาดเอเชียรวมถึงกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่ยังไม่สามารถผลิตสินค้าอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเศรษฐกิจและการค้าของประเทศคู่ค้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นด้วย” นายทวีกล่าว

ด้านการดำเนินงานและแผนการตลาดนายธวัชชัย รัตนะพิสิฐ กรรมการบริหารกลุ่มบริษัทพีเอฟพี เปิดเผยว่า “ในปี 2561 กลุ่มบริษัทพีเอฟพี จะรุกตลาดต่างประเทศโดยการขยายฐานลูกค้าและช่องทางจำหน่ายให้มากขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารแช่เยือกแข็งและอาหารพร้อมทานโดยเฉพาะในตลาดจีน รวมถึงตลาดยุโรป สำหรับตลาดในประเทศ จะใช้แนวคิด เข้าใจ ใกล้ชิด มอบสิ่งดี พร้อมด้วยการดำเนินธุรกิจแบบดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งควบคู่อีกทั้งยังเตรียมจัดแคมเปญการตลาดออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้ไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย  เข้าใจถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์
ที่สามารถตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นด้านไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่เน้นความสะดวกสบายแบบสินค้าพร้อมทานความง่ายในการหาซื้อด้วยช่องทางจำหน่ายที่หลากหลายและมากขึ้น อาทิ ก้ามปูหิมะของพีเอฟพี ที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่นซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์ที่รสชาติดีและสะดวกต่อการทานแล้ว ยังจะต้องมีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงรูปแบบของการเข้าถึงผู้บริโภคจะต้องเป็นไปแบบตรงใจและเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย ใกล้ชิดด้วยการขยายช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์โมเดิร์นเทรดรวมถึงการเพิ่มสาขาพีเอฟพีช้อปจากเดิมที่มีอยู่ 9แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลมากขึ้นอีกทั้งด้านการสื่อสารกับผู้บริโภค จะเน้นความใกล้ชิดในการส่งข่าวสารและรับฟังผู้บริโภคผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆที่มีอยู่

ข้อสุดท้าย PFP  มอบสิ่งที่ดีด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพ กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ทันสมัย บุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ที่ร่วมกันพัฒนาเพื่อให้พีเอฟพีเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ได้ตรงตามความต้องการ ทั้งเรื่องรสชาติและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ทุกเพศ ทุกวัย”

นางสาวปิยกาญจน์   ปิยะพัฒนา กรรมการบริหารกลุ่ม  บริษัท พีเอฟพี เปิดเผยว่า“ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าสู่ยุค 4.0ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตแบบสมาร์ทไลฟ์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองที่นิยมใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงบริการต่างๆผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้พีเอฟพีต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัว PFP TASTY SHOP ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์ ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของพีเอฟพี

PFP TASTY SHOP เริ่มจำหน่ายสินค้าในกลุ่มพร้อมทาน (Ready to Eat) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของพีเอฟพีที่จำหน่ายในต่างประเทศ ได้แก่ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา พะโล้เต้าหู้ปลา ต้มยำซีฟู้ดส์ ผัดกะเพราปลา และคั่วกลิ้งปลา โดยผ่านแอพพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก(Facebook) อินสตาแกรม(Instagram) LINE@(ไลน์แอด)เป็นช่องทางหลัก และยังมีจำหน่ายบนร้านค้าออนไลน์ อย่างลาซาด้า(Lazada) ซึ่งถือได้ว่า  เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้บริโภค
โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน หรือแม้กระทั่งวัยรุ่น ที่ชอบความสะดวกรวดเร็วและใส่ใจสุขภาพ

ปลาทูต้มหวาน เริ่มวางจำหน่ายใน  PFP TASTY SHOP

สำหรับงาน THAIFEX 2018 จัดขึ้นระหว่าง  วันที่ 29 พฤษภาคม –2 มิถุนายน 2561 พีเอฟพี ได้เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งในกลุ่มอาหาร
แช่แข็ง ได้แก่ ห่อหมกปลา แกงกะหรี่ลูกชิ้นปลา โครเก้ต์ปลารสชาติใหม่กลุ่มอาหารพร้อมทานที่มีปลาทูต้มหวานเป็นไฮไลท์ เมนูพื้นบ้านรสชาติไทยแท้ ด้วยปลาทูตัวใหญ่ก้างนิ่ม ทานง่าย เหมาะสำหรับคนทุกวัยและยังเป็นครั้งแรกของพีเอฟพีกับการแตกไลน์การผลิตของหวาน ธัญพืชห้าสีในน้ำตาลจากดอกมะพร้าวที่มีคุณค่าและประโยชน์จากถั่ว 5 ชนิด ได้แก่ ถั่วขาว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเขียว และลูกเดือย รวมถึงน้ำตาลดอกมะพร้าว กลายเป็นของหวานที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่มีคลอเรสเตอรอล โซเดียมต่ำ โดยในเดือนมิถุนายนนี้ ปลาทูต้มหวาน เริ่มวางจำหน่ายใน  PFP TASTY SHOP พร้อมกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ ก็จะทยอยวางจำหน่ายเช่นเดียวกันเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ว่าจะเพิ่มการจำหน่ายให้ครบภายในสิ้นปีนี้

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมบูธของกลุ่ม บริษัท พีเอฟพี ได้ในงาน THAIFEX 2018  บูธ R01-Q14 อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิ  การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่การเจรจาธุรกิจอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศสาธิตการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับเมนูอาหารจากผลิตภัณฑ์ของพีเอฟพี

สอบถามรายละเอียดได้ที่ : บริษัท พี.เอฟ.พี. เทรดดิ้ง จำกัด
P.F.P อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล
Web : www.pfp-pacific.com
Facebook : www.facebook.com/PFPThailand/
ID Line : prpfp
Tel : 02-2854070

เพชรบูรณ์ ชวนเที่ยวท่องวิถี 4 มรดกโลก

มาบอกเล่า ความเป็นมา 4 มรดกโลก

นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ในฐานะประธาน  แถลงข่าว นายธนิต จิตละมัย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพชรบูรณ์ ในฐานะผู้ดำเนินงาน นายยชญ์สุธา วิชัยธนพัฒน์ ประธานหอการค้า จ.เพชรบูรณ์ ในฐานะผู้ร่วม ได้ร่วมแถลงข่าว การจัดงาน “ท่องเที่ยววิถี 4 มรดกโลก”ด้วยการ “เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง 4 มรดกโลก อยุธยา–ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์- สุโขทัย – หลวงพระบาง ประเทศลาว ที่เน้นความสำคัญอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และ เป็นเมืองโบราณสถานที่สำคัญของ จ.เพชรบูรณ์ เดิมชื่อ  “เมืองอภัยสาลี”  ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการ อีกทั้งมีลักษณะเป็นที่ตั้งเมืองอยู่ในชุมทางติดต่อกับภาคอื่นๆได้ จึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียงผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น รวมทั้งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ด้านนายธนิต ท่องเที่ยวและกีฬา จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งพัฒนาเศรษฐกิจของ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา จากในปี 2559 มีนักท่องเที่ยว จำนวน 1.95 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 2.20 ล้านคนในปี 2560 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐที่กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็น 12 เมืองต้องห้าม..พลาด ที่ต้องการการกระจายการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรองที่มีศักยภาพที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แหล่งน้ำ พรรณไม้ระบบนิเวศฯที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอีกทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริการมีความสมบูรณ์และสมดุลในเชิงกายภาพทางสังคมสูง มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานในเชิงประวัติศาสตร์อารยธรรมและวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น มีการสั่งสมองค์ความรู้และภูมิปัญญาไทยที่มีคุณค่าอย่างมากมาย ซึ่งทางท่องเที่ยวและกีฬาจ.เพชรบูรณ์ เห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น ภายในงานประกอบด้วย กิจกรรม สำรวจแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมถึงสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

ด้านนายยชญ์สุธา ประธานหอการค้า จ.เพชรบูรณ์ กล่าวเชิญชวนให้มาเที่ยวงานดังกล่าวว่า ทางหอการค้าจ.เพชรบูรณ์ ขอให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาร่วมย้อนอดีตไปบนเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยง 4 มรดกโลกรวมถึงร่วมกิจกรรม “ท่องวิถี 4 มรดกโลก” ที่จะได้สัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประเพณี พร้อมกับการแสดงที่น่าตื่นตาตลอดงาน ได้ชม ชิม ช้อป และเที่ยววิถีไทยในงานไปพร้อมกัน

ภายในงานจะแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ วิถีอารยธรรม (Exhibition Zone) นิทรรศการที่บอกเล่าความเป็นมาและข้อมูลรายละเอียดของ 4
มรดกโลก

วิถีย้อนอดีต (Photo Zone) เป็นจุดถ่ายภาพที่จะดึงดูดให้ผู้เข้าชมงานเก็บบันทึกภาพความประทับใจผ่านเลนส์ โดยจัดสถานที่และอุปกรณ์ประกอบฉากที่จะเนรมิตให้ผู้ที่ร่วมถ่ายภาพเสมือนหนึ่งได้ไปเยือนทั้ง 4 มรดกโลก

วิถีประเพณีวัฒนธรรม (Performance Zone) ส่วนของเวทีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น การแสดงของศิลปิน กิจกรรมสร้างสีสันให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมสนุก

และวิถีของดีพื้นถิ่น (Product Zone) โซนร้านแสดงและจำหน่ายสินค้าของดีจังหวัดต่าง ๆ บนเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง 4 มรดกโลก ที่รวบรวมไว้ทั้ง อาหาร งานฝีมือ สินค้าหัตถกรรม/อุตสาหกรรม ที่พัก ฯลฯ

นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

นายวรพจน์ รองพ่อเมืองเพชรบูรณ์ กล่าวว่า การเปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง 4 มรดกโลก ครั้งนี้เน้นความสำคัญอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี และกำลังรอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอยู่ พร้อมรวบรวมผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน รวมทั้งอาหารและของดีประจำจังหวัดโดยร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์และหอการค้าของจังหวัด ที่จะยกจังหวัดทั้ง 4 เส้นทาง มาไว้ที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ผู้คน อาหารการกินและของดีพื้นถิ่น รวมทั้งถสานที่พักผ่อน ท่องเที่ยวอย่างครบครัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติได้สัมพันธ์บรรยากาศอุทยานประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ อ.ศรีเทพ หรือเมืองศรีเทพให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวในวงกว้างและสนใจที่จะเดินมาท่องเที่ยวมากขึ้น ณ ลานกิจกรรม ด้านศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561

โครงการเทศกาลนครแห่งอาหารทะเล เทศบาลนครสมุทรสาคร

กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ในนามของ นครแห่งอาหารทะเล ตำบลท่าฉลอม มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกับสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม สร้างภาพลักษณ์ และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโชว์การเป็นผู้นำแห่งการผลิตอาหาร แปรรูปและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูป และเพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้กับท้องถิ่น รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสาคร

นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร

นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิด  “โครงการเทศกาลนครแห่งอาหารทะเล เทศบาลนครสมุทรสาคร” โดยมี นายชิงชัย บุญประคอง ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมทั้ง ประธานสภาเทศบาลฯ เลขานุการสภาเทศบาลฯ สมาชิกสภาเทศบาลฯ   และรองปลัดเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาล เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นที่รู้จักกันในนามของ

ชม ช็อป ชิม บรรยากาศริมทะเล  ในงาน“นครแห่งอาหารทะเล” แบบดั่งเดิมกับชุมชนที่สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง  รวมทั้งการจัดงานยังเป็นการช่งย กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมภาพลักษณ์  การท่องเที่ยว และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของเทศบาลนครสมุทรสาคร

 

จึงขอเชิญร่วมชม ช็อป ชิม ท่ามกลางบรรยากาศชิลๆ  ในงาน   “ นครแห่งอาหารทะเล” ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2561 เริ่มตั้งแต่  เวลา 16.00 น เป็นต้นไป ณ บริเวณสะพานริมเขื่อนหน้าวัดสุทธิวาตวราราม หรือวัดช่องลม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มาร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์  สุขาภิบาลแห่งแรกประเทศไทย  โดยมีการจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมา มุมถ่ายรูปย้อนยุค ล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงและวิวปากอ่าว ฟรี ช็อปอาหารทะเลทั้งสดและแปรรูป ชิมเมนูเด็ด/อาหารพื้นบ้าน ในบรรยากาศสุดชิลริม

ขอเชิญ ร่วมงานโครงการเทศกาลนครแห่งอาหารทะเล เดินชมนิทรรศการ และร้านจำหน่ายอาหาร ณ บริเวณริมเขื่อนหน้าวัดสุทธิวาตวราราม
(วัดช่องลม) และ ถนนถวาย ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2561

ดันอาหารไทยสู่เวทีโลก เพราะ อาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่

บุญรอดฯ ตั้ง Food factors
สร้างเครือข่ายธุรกิจ เชื่อมต่อช่องทางอาหารไทยสู่เวทีโลก

อาหาร คือหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ล่าสุดได้จัดตั้ง บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด เพื่อเข้ามาสร้างเครือข่ายการดำเนินธุรกิจอาหาร ทั้งตลาดภายในไทยและต่างประเทศ โดยวางแผนกรอบการลงทุนในระยะ 3 ปี ข้างหน้า (2561-2563) จะใช้เม็ดเงินลงทุนในกลุ่มธุรกิจ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งการลงทุนออกเป็นการลงทุนใน บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในวงเงินประมาณ 2,500 ล้านบาท และ ลงทุนในบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ในกลุ่มธุรกิจซัพพลายเชน 2,500 ล้านบาท

ปิติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการธุรกิจซัพพลายเชน และกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

“ปิติ ภิรมย์ภักดี” กรรมการผู้จัดการธุรกิจซัพพลายเชน และกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร เปิดเผยถึงแผนและยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจกลุ่มบุญรอดฯ ว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นและมีความพร้อมเดินหน้าขยายกลุ่มธุรกิจอาหารในเชิงรุก ด้วยเชื่อว่าอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น อาหารจึงเป็นกลุ่มธุรกิจ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจาก
ดิจิทัลดิสรัปชั่น

ทั้งนี้ การจัดตั้ง บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตร เชื่อมต่อช่องทางธุรกิจอาหารสู่ตลาดโลก (Network) โดยรูปแบบการลงทุนเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่นในแต่ละประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมา ได้เจรจากับผู้ประกอบการท้องถิ่นหลายราย ในจำนวนนี้มีอยู่
3-4 รายที่อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุน ทั้งนี้ หลังจากได้ข้อสรุปการร่วมลงทุนภายในไตรมาส 2 แล้ว เชื่อว่าความร่วมมือ ที่เกิดขึ้นจะช่วยสร้างฟู้ดเน็ตเวิร์กให้กับสินค้ากลุ่มอาหารของบุญรอดฯ  ให้มีความแข็งแกร่งมาก
ยิ่งขึ้น

บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตร เชื่อมต่อช่องทางธุรกิจอาหารสู่ตลาดโลก (Network)

“การขยายกลุ่มธุรกิจอาหารในช่วงที่ผ่านมานั้น กลุ่มบุญรอดฯ จะอาศัยเครือข่ายของเบียร์สิงห์ ในการขยายตลาดเป็นหลัก แต่หลังจากจัดตั้งบริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด จะช่วยให้ทางกลุ่มเพิ่มช่องทางในการขยายตลาดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตลาดในต่างประเทศ” นายปิติ กล่าว

นายปิติ กล่าวต่ออีกว่า ปัจจัยที่ทำให้บริษัท ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่ายอาหาร เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เรามีความพร้อมทั้งในด้านงานวิจัยและพัฒนาสินค้าอยู่แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ บุญรอดได้มีการจัดตั้ง ฟู้ด แล็บ ในจังหวัดปทุมธานี เพื่อการวิจัยและพัฒนาอาหาร

ปัจจุบันมีบริษัทผลิตอาหารในเครือบุญรอดฯ ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนการขยายตลาดของธุรกิจอาหาร อาทิ บริษัท เฮสโก โซลูชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจซอสปรุงรส และอาหารพร้อมทาน, บริษัท มหาศาล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจข้าว ตราพันดี เป็นต้น โดยปัจจุบันกลุ่มธุรกิจอาหารในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มีรวมมูลค่าทางธุรกิจอาหารในมือประมาณ 2,500 ล้านบาท

ในส่วนแผนดำเนินธุรกิจในกลุ่มธุรกิจอาหารของกลุ่มบุญรอดฯจากนี้ไป เน้นการพัฒนาอาหารไทยเป็นหลัก โดยจะมีการพัฒนาทั้งอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน อาหารแช่แข็ง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงปีแรกจะให้ความสำคัญกับตลาดไทย โดยวางเป้าว่าจะมีสัดส่วนรายได้จากตลาดในประเทศ 80% และรายได้จากตลาดต่างประเทศ20% และจะทยอยเพิ่มสัดส่วนรายได้จากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นภายในสามปี

อย่างไรก็ดี การขยายตลาดในต่างประเทศจะให้น้ำหนักการขยายตลาดในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน เนื่องจากสินค้ามีราคาดีและสามารถสร้างกำไรได้สูง รวมทั้งยังคงให้น้ำหนักการขยายตลาดอาเซียนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังวางแผนโยกฐานการผลิตของ บริษัท เฮสโก โซลูชั่น จำกัด จากระทุ่มแบนและบริเวณย่านบางนา มาที่โครงการ “World Food Valley Thailand” จังหวัดอ่างทอง เพื่อรองรับกับความต้องการในอนาคตขณะเดียวกันในโครงการดังกล่าวมีความพร้อมทางด้านการผลิตช่วยลดต้นทุนลงได้

นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง บริษัท เอสบีพี ดิจิทัล เซอร์วิส จำกัด ดำเนินธุรกิจทางด้านดิจิทัล เพื่อรองรับกับโลกดิจิลทัล ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว สำหรับเป้าหมาย 3 ปี ภายใต้ 3 บริษัทใหม่ของบุญรอดฯ สามารถสร้างรายได้แตะ 15,000 ล้านบาท จากปัจจุบันโครงสร้างรายได้มาจากกลุ่มซัพพลายเชนราว 2,500 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจอาหาร 2,500 ล้านบาท และหากธุรกิจอาหารของบุญรอดบุกตลาดต่างประเทศได้สำเร็จ มีแผนใช้โมเดลธุรกิจอาหารเป็นต้นแบบการขยายธุรกิจเครื่องดื่ม เพื่อเปิดตลาดต่างประเทศในอนาคตอีกด้วย

เอาใจคนรักสุขภาพตามแบบ Tang Chao Farm

BAAC ศูนย์จำหน่าย ถั่งเช่าฟาร์ม
คุณสมบัติพิเศษ

ด้วยเกล้ากรุ๊ป  ByAndee  จับมือพันธมิตร  BAAC  เป็นศูนย์จำหน่ายถั่งเช่าฟาร์ม ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยเกล้ากรุ๊ป ByAndee ผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าฟาร์ม โดย  นายอนุชา นวลจำรัสศรี และ น้าต๋อง เทวัญ ทรัพย์แสนยากร หุ้นส่วน แถลงข่าวเปิดตัวคู่มิตรด้านการตลาดร่วมกับศูนย์ดูแลสุขภาพ Bangkok Anti-Aging Center ( BAAC ) คลีนิคชลอวัย  โดย น.ส. วราลี จิตรปรีดา ผู้อำนวยศูนย์ และรายการไทยไทยมาร์เก็ต โดย นางสาวบุญฑริกา แทนมณี กรรมการผู้จัดการ

ทั้งนี้ มี นางสาว เสมอขวัญ ตะพังพินิจกาญ  กรรมการผู้จัดการ ชีวโกโอสถ
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าฟาร์ม อาจารย์ นิรันดร์ ไพรจิตร ศิลปินวาดภาพด้วยพลังฝ่ามือ ,นายปราโมทย์ พันธ์เสน กรรมการบริหารสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย,  ดร. จิตตวุฒิ์  ลิ้มศิริเศรษฐกุล ,
ดร.พลวราเทพ จิรบรรเจิดสิรี , นายสุรพงษ์ กิตชิต ผู้บริหารบริษัทวิริยะประ
กันภัยจำกัด (มหาชน) และนายวรพล สมประสิทธิ์ เจ้าของค่ายซุปตาร์เฮ้าส์ สถาบันปั้นดาว พร้อมด้วย  ดาราสาวชื่อดัง  น.ส. รัล  ณัทธมณกาญจน์
ให้เกียรติร่วมงาน ที่  BAAC  Antiagin  Clenic  ซอย ประมวลสุข สุทธิสารวินิจฉัย กรุงเทพฯ

งานนี้มี อาจารย์ นิรันดร์ ไพรจิตร  ให้เกียรติวาดภาพด้วยฝ่ามือ พร้อมกับการเป่าแซ็กโซโฟน โดย น้าต๋อง เทวัญ ทรัพย์แสนยากร เป็นการสร้างสีสันบรรยากาศ เอาใจคนรักสุขภาพตามแบบ Tang Chao Farm

ด้วยคุณสมบัติอันเลอเลิศและสรรพคุณอันเหลือเชื่อถั่งเช่าฟาร์ม สินค้าเพื่อสุขภาพคุณภาพสูงพืชตระกูลเชื้อราที่มีคุณสมบัติพิเศษ คุณประโยชน์มากมายในหนึ่งเดียว โดยสามารถช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจ่นในกระแสเลือด มีสารช่วยยับยั้งเซลมะเร็ง ช่วยบำรุงตับ ไต และมีส่วนช่วยลดความดันรวมถึงลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด สมุนไพรชนิดนี้ยังคงความนิยมสูงสุด สามารถหาข้อมูลดังกล่าวได้ไปในอินเตอร์เน็ต

พิเศษสุด สำหรับทุกท่าน ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของถั่งเช่าฟาร์มทุกชนิด
มูลค่า 5,000 บาท รับ Gift voucher ตรวจสุขภาพเชิงรุก จาก Bangkok Anti-Aging Center ( BAAC ) มูลค่า 7,500 บาท ฟรี!!
วันนี้ถึง 30 มีนาคม 2561 เท่านั้น

สำหรับท่านที่สนใจ tangchaofarm ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าฟาร์ม
ติดต่อ:
http://www.tangchaofarm.com
สามารถหาซื้อได้ที่ ศูนย์ดูแลสุขภาพ BAAC Antiagin Clenic
ซอยประมวลสุข สุทธิสารวินิจฉัย ถ.รัชดาฯ กรุงเทพฯ
โทร. 02-2772893 – 4

มหกรรมการอ่านแห่งชาติ “มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย”

28 องค์กร สานพันธกิจระดับชาติ คลายปมวิกฤตพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก 0-6 ปี

การอ่านสร้างการเปลี่ยนแปลงหลากหลายมิติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับ แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน  สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560 – 2564 : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน 28 แห่ง จัดงานมหกรรมการอ่านแห่งชาติ  “มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย”

ภายในงาน ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกสนานมากมาย ได้แก่ โซนเวทีมหัศจรรย์การอ่าน พบคนดลใจร่วมสร้างมหัศจรรย์แห่งการอ่าน มหัศจรรย์ลิเกนิทานและการอ่านบนฐานภูมิปัญญา บ้านอ่านยกกำลังสุขและโซนนวัตกรรมชุมชนอ่านยกกำลังสุข โดยเครือข่ายศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น จาก 15 พื้นที่ต้นแบบนำร่อง โซน Reading in Wonderland : ดินแดนนิทานจินตนาการ โซนตลาดนัดนักอ่านจาก 20 สำนักพิมพ์ โซนสานพลังองค์กรร่วมจัด มีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการและกิจกรรมหนังสือดีเพื่อพัฒนาการ EF การขับเคลื่อนจังหวัดแห่งการอ่าน กิจกรรมบ้านนักเขียนหนังสือเด็ก กิจกรรมอ่านสร้างเสริมสุขภาพ ระดมจิตอาสาอ่านหนังสือเสียงให้กับน้องๆ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ


พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวในฐานะประธานเปิดงาน ว่า “จากมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560-2564 ทางรัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย กำหนดแนวทาง มาตรการเพื่อผลักดันให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับภาคเอกชน หรือประชาสังคม

โดยมี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ปลูกสร้างพฤติกรรมรักการอ่านที่เข้มแข็งให้กับคนทุกช่วงวัย อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสื่อการอ่านของประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและภูมิภาค ยกระดับคุณภาพแหล่งเรียนรู้และสื่อการอ่านเพื่อการเรียนรู้ และ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการอ่าน โดยเฉพาะเด็กเล็ก เป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนการที่ครอบครัว โรงเรียน ได้ปลูกต้นไม้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดินอย่างไร เขาก็จะเติบโตขึ้นมาแบบนั้น หนังสือที่เหมาะสมกับช่วงวัย ก็เป็นสารอาหารชั้นดีที่จะเป็นรากฐานในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ของประเทศอย่างมีคุณภาพ”

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า   “จากวิกฤตพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0-6 ปี)  ที่สำรวจ
โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า พัฒนาการล่าช้าโดยรวมร้อย
ละ 30 และพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้าสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดปี 2557 เฉลี่ยร้อยละ 38.2 ส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ อาทิ การสื่อสาร การพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม ดังนั้น กิจกรรม มหกรรมการอ่านแห่งชาติ

“มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย” เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ที่จะช่วยพ่อแม่ ครู ได้คัดเลือกหนังสือเด็กให้ลูกๆ และนักเรียนได้อ่าน ขณะเดียวกันจะได้เห็นเทคนิคการอ่าน การส่งเสริมการอ่านมากมาย โดยเฉพาะการเล่านิทาน การอ่านในครอบครัว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นในครอบครัวด้วย การอ่านตั้งแต่เยาว์วัย เป็นรากฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้และสร้างเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต รวมถึงสร้างเสริมสุขภาพในทุก ๆ มิติ ช่วยหนุนเสริมพัฒนาเด็ก ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา ด้านสุขภาพ ด้านจิตใจคุณธรรม และด้านทักษะความสามารถต่างๆ เพื่อให้เด็กพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศไทย 4.0”

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวเสริมว่า “ในขณะที่หนังสือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แต่จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558 พบว่า เด็กเล็กยังเข้าไม่ถึงการอ่าน 1.8 ล้านคน และผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2558 – 2559 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติด้วยการสนับสนุนขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย พบว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทยเกือบ 6 ใน 10 คน (ร้อยละ 60) ที่มีหนังสือเด็กอยู่ที่บ้านไม่ถึง 3 เล่ม ในครอบครัวที่ยากจนมากเด็กเกือบ 8 ใน 10 คน (ร้อยละ 77) มีหนังสือในบ้านไม่ถึง 3เล่ม นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่ามี “พ่อ”เพียง 1 ใน 3คน ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก เช่น อ่านหนังสือหรือร้องเพลงให้ลูกฟังเท่านั้น”

การขับเคลื่อนงานของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบันที่ได้นำนโยบายของหน่วยงาน สู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และเป็นส่วนหนึ่งของการสานพลังขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย อาทิ กศน. มีบ้านหนังสือชุมชนเพื่อขอใช้พื้นที่ในบริเวณบ้านเป็นที่อ่านหนังสือ โดยกระจายให้อยู่ตามหมู่บ้าน จำนวน 19,254 แห่ง มีโครงการห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่ค้าขาย ผู้มาซื้อสินค้ารวมถึงเด็กและเยาวชนเกิดนิสัยรักการอ่าน กรุงเทพมหานครที่เปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาการอ่านไปสู่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ยังคงเป็นสะพานแห่งความรู้ คู่สะพานแห่งความรักใช้หนังสือถักทอสติปัญญาให้แก่เด็กไทยต่อไป อย่างมีพลัง และเข้มแข็ง อุทยานการเรียนรู้ TK park ที่พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ให้สังคมไทย ในรูปแบบ”ห้องสมุดมีชีวิต” เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในการส่งเสริมให้เกิดการใช้กองทุนสุขภาพตำบลเพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือและการอ่าน ลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสื่ออ่าน และ15 พื้นที่นำร่อง Best Practise การอ่านสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติของศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น
การอ่านสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติของศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น

นอกจากนี้ ในวันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 คณะทำงานและภาคีเครือข่ายได้จัดพิธีประกาศพันธสัญญาประชารัฐหนุนเสริมแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560-2564 “เพื่อสานพลังสร้างพลเมืองไทยด้วยการอ่านสู่ Thailand 4.0” โดยมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรองประธานคณะกรรมการบูรณาการการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นประธานรับมอบพันธสัญญา จากผู้แทน 28 องค์กร อาทิ กรมอนามัย,
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น, สำนักวัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), สภาการศึกษา, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย, มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park, องค์การยูนิเซฟประเทศไทย, มูลนิธิคนตาบอดไทย, สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป), โครงการเด็กไทยคิดได้ ต้านภัยสังคม, สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.), มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นิทานคำคล้องจองของเจ้าห่านหน้าบึ้งที่ชื่อ อีเล้งเค้งโค้ง ครองใจเด็กไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว เรื่องและภาพ โดย ครูชีวัน วิสาสะ

นายวีระ   โรจน์พจนรัตน์ กล่าวว่า “การได้เห็นภาพแห่งความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในงานครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ทุกหน่วยงานแม้แต่ประชาชนพร้อมที่จะส่งเสริมและพัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เติบโตด้วยความพร้อมจากการรักหนังสือ มีนิสัยรักการอ่านเป็นพื้นฐาน แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านฯ

ด้วยทางกระทรวงวัฒนธรรมไม่สามารถขับเคลื่อนเพียงลำพัง ต้องทำงาน
บูรณาการร่วมกับทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากที่ปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต  ของมนุษย์อย่างมาก ส่งผลให้ทุกประเทศ ต้องปรับตัวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งการอ่านและการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือและกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพประชากรให้เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
ที่กำหนดให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มุ่งสู่การเป็ประเทศไทยยุค 4.0

มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย
ระหว่างวันที่ 10-11 ก.พ. 2561 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ มักกะสัน

วัตถุดิบทดแทน ที่มาจากการรีไซเคิลขยะ แปรรูปเป็นพลังงานทดแทน

กระบวนการผลิตแล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน!

กพร. ตั้งเป้าส่งเสริมและพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ตั้งเป้าส่งเสริมและพัฒนาของเสียเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทนด้านแร่ โลหะ และสารประกอบโลหะ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 เน้นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ตัวอย่างเศษวัสดุต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้รีไซเคิล

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า… ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมไทย 4.0 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการปรับโครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรมที่เน้นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม การสร้างการมีส่วนร่วม และการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กพร. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น

โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ทั้งวัตถุดิบจากแหล่งแร่ธรรมชาติ (Natural Mineral Resources หรือ Primary Raw Materials) วัตถุดิบทดแทน ที่ได้จากการรีไซเคิลขยะหรือของเสีย (Secondary Raw Materials) และวัตถุดิบขั้นสูง (Advanced Raw Materials) ที่เป็นแร่ โลหะ สารประกอบโลหะชั้นคุณภาพสูง เพื่อรองรับ
การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ชีวภาพ และ  เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร รวมทั้งรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หรือ Mega Projects ของรัฐบาล ซึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ยกเว้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่เป็นแร่ โลหะ สารประกอบจากแร่และโลหะ ที่มีความหลากหลาย มีคุณภาพสูง
มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

อพร.เดินชมผลงานจากการใช้เทคโนโลยีรีไซเคิล

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ในเรื่องของวัตถุดิบทดแทนที่มาจากการรีไซเคิลขยะหรือของเสีย กพร. ได้ให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลขยะหรือของเสีย เพื่อแยกสกัดแร่และโลหะกลับมาใช้ประโยชน์ รวมถึงแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน หรือที่เรียกกันในหลายประเทศว่า   “การทำเหมืองแร่ในเมือง”
หรือ “Urban mining” โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการนำขยะ วัสดุเหลือใช้ รวมถึงผลพลอยได้ (By-products) จากกระบวนการผลิต กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร ทดแทนให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ ลดการเกิดขยะและปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสู่  Zero Waste Society
โดยอาศัยจุดแข็งของกรมฯ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแต่งแร่ และด้านเทคโนโลยีโลหการ ซึ่งเป็นรากฐานของเทคโนโลยีรีไซเคิล ร่วมดำเนินงานกับที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้วัสดุเหลือใช้และกากของเสียที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเฉลี่ย 50 ล้านตันต่อปี กลายเป็นแหล่งวัตถุดิบด้านแร่ โลหะ และพลังงานทดแทนที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจากการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจากผู้ประกอบการที่ได้รับการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีรีไซเคิลจาก กพร. พบว่า ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในประเทศจากการลงทุนและ/หรือการรีไซเคิลของเสียเป้าหมาย 100–130 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบัน กพร. มีเทคโนโลยีรีไซเคิลขยะหรือของเสีย รวม 69 ชนิด โดย 39 ชนิด ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยีรีไซเคิลต้นแบบของ กพร. ซึ่งมีศักยภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

และภายใน  เดือนสิงหาคม 2561 นี้  กพร. จะเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาเทค
โนโลยีรีไซเคิลของรัฐแห่งแรกของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) และขยายผล
ไปสู่โรงงานต้นแบบ (Pilot scale) เพื่อผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการได้ศึกษาเรียนรู้กระบวนการรีไซเคิล และการจัดการมลพิษที่เกิดขึ้นตามหลักวิชาการ โดยจะสามารถรองรับการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีรีไซเคิล
ให้แก่ผู้ประกอบการ  ทั้งใน Lab scale และ  Pilot scale ได้ไม่น้อยกว่า
200 รายต่อปี

ประเทศไทยมีขยะหรือของเสียเกิดขึ้นเฉลี่ย 50 ล้านตันต่อปี เป็นของเสียครัวเรือน 25-26 ล้านตันต่อปี   โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศเฉลี่ยเพียง 18-20% และของเสียอุตสาหกรรม 25-30 ล้านตันต่อปี โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศเฉลี่ย 70-75% ซึ่งหากสามารถเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ของเสียครัวเรือนและอุตสาหกรรมได้อีก 10% มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะ หรือของเสียที่มีประสิทธิภาพ  และครบวงจรตั้งแต่กิจกรรม/กระบวนการที่ก่อให้เกิดของเสีย กระบวนการคัดแยก การจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การรีไซเคิล การบำบัด และการกำจัด รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลในประเทศ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มในประเทศจากการลงทุน/การนำของเสียเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี โดยกุญแจสำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือแบบ 3 ฝ่าย ระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ผมมองว่า ด้วยนวัตกรรมและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เราสามารถเปลี่ยนขยะหรือของเสียให้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรทดแทนที่สำคัญ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตของประเทศได้ ดังเช่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งหลายประเทศไม่มีแหล่งแร่ธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ ลดการเกิดขยะและปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสู่  Zero Waste Society
-นายวิษณุ กล่าวทิ้งท้าย

พร้อมกันนี้ กพร. เตรียมจัดสัมมนาหัวข้อ “Innovation for materials value-added” มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายทิศทางความต้องการใช้วัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม  สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน  ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา 08.30 – 15.45 น. ณ ห้องวาสนา 6 – 8 ชั้น 3
โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2202 3555
www.dpim.go.th