Tag Archives: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

GIT จับมือ eBay สร้างความเชื่อมั่น หนุนอัญมณีและเครื่องประดับขยายตลาดออนไลน์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ประกาศความร่วมมือ บริษัท อีเบย์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ eBay ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU เดินหน้าสร้างความความเชื่อมั่นสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย พร้อมหนุนผู้ประกอบการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ ผ่าน eBay Marketplaces แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับชั้นนำของโลก

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ GIT เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบัน เห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2565 เติบโตได้ร้อยละ 76.33 เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 5,545.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 9,778.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.66 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,439.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วยเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 36.16 และตลาดส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ก็ยังมีอัตราการขยายตัวตัวเนื่อง นอกจากนี้ ช่องทางออนไลน์ ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างมาก


GIT ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้ร่วมมือกับ บริษัท อีเบย์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ภายในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดออนไลน์ ผ่าน eBay Marketplaces ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับชั้นนำของโลก โดยมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้โครงการซื้อด้วยความมั่นใจ Buy with Confidence หรือ BWC
ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง การซื้อขายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ผู้ซื้อไม่มีโอกาสเห็นสินค้าจริง บ่อยครั้งมักเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและคุณลักษณะของสินค้า ซึ่งการจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบและออกใบรับรองนั้นจากแลปที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะเป็นเสมือนใบรับประกันคุณภาพว่าอัญมณีและเครื่องประดับนั้นเป็นของแท้ คุณสมบัติตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และนำไป
สู่มูลค่าทางการค้า รวมถึงสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศด้วย

นายวิทเมย์ ไนยนี ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย eBay International CBT (Cross Border Trade) กล่าวว่า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “อัญมณีทั้งแบบเม็ดและขึ้นเรือนเป็นเครื่องประดับเป็นกลุ่มสินค้าขายดีอันดับต้น ๆ ที่ผู้ขายจากไทย ทำการขายและส่งออกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกผ่านอีเบย์ ในวันนี้ จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับสถาบัน GIT ซึ่งเมื่อมีโครงการ “ซื้อด้วยความมั่นใจ” หรือ Buy with Confidence จะยิ่งช่วยยกระดับความมั่นใจของผู้ใช้อีเบย์ 138 ล้านคนทั่วโลกที่มีต่อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย และช่วยให้ยอดขายของผู้ขายชาวไทยพัฒนาไปได้เร็วขึ้น พร้อมกันนี้ ยังมีโครงการ eBay NextGen ที่จะมอบสิทธิประโยชน์มากมายให้แก่เอสเอ็มอีผู้ประกอบกิจการเครื่องประดับ ที่มาเปิดร้านออนไลน์บนแพลตฟอร์ม
ของอีเบย์”

นอกจากการลงนามลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU แล้ว ภายในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67 GIT ยังเปิดให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองอัญมณีและเครื่องประดับแบบ Onsite ณ คูหาเลขที่ A01, 03, 05 และ B02, 04 ,06 และยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การสัมมนาหัวข้อ Next Step for Gem and Jewelry METAVERSE, New Level up of Thai Silver และ Workshop จี้เงินตาไม้ ที่คุณจะได้รับเครื่องประดับที่มีชิ้นเดียวในโลก หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2565

ณ คูหา Gems Treasure บริเวณด้านหน้าทางเข้า Challenger Hall 2
อิมแพ็ค เมืองทองธานี อีกด้วย

GIT เร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติหรือ GIT เปิดเผยว่า GIT เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบเครื่องประดับไทยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ให้ความสำคัญ และยกระดับนักออกแบบไทยผ่านงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับ และเชิญชวนผู้ประกอบการและนักออกแบบเข้าชมงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ ลานไลฟ์-สไตล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอนในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นเวทีให้นักออกแบบเครื่องประดับไทยได้แสดงความสามารถสู่นานาชาติ พร้อมมองอนาคตหนุนนักออกแบบไทยให้ก้าวไปยืนบนเวทีโลก

สำหรับการประกวดในครั้งนี้ นักออกแบบที่ชนะเลิศและเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ มีนักออกแบบไทยถึง 3 คน จากผู้ส่งแบบเข้าประกวดจากทั่วโลกกว่า 402ชิ้นงาน จาก 27ประเทศโดยผลงาน 30 ชิ้นที่เข้ารอบจะได้ถูกแสดงแบบวาดในงานประกาศผลชนะเลิศโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระ-ศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารีและผลงานสี่ชุดที่โดดเด่น เป็นของนักออกแบบไทยถึงสามคน โดยได้ผลิตเป็นชิ้นงานจริงพร้อมสวมบนนางแบบและดาราในงานพิธีในครั้งนี้ด้วยโดยรับเกียรติจาก นางนันทวัลย์ ศกุนตนาคประธานกรรมการสถาบันเป็นประธานในพิธี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำของไทยในเวทีนานาชาติ

โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัดบริษัท คาเล็ทต้าจิวเวล-รี่จำกัดบริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัดบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่นจำกัดL.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัทเทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้งจำกัด พรีเมียร่า – เอ็กซ์ควิซิทจิวเวลรี่และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด

โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัดบริษัท คาเล็ทต้าจิวเวล-รี่จำกัดบริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัดบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่นจำกัด L.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัทเทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้งจำกัด พรีเมียร่า – เอ็กซ์ควิซิทจิวเวลรี่และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด

นอกจากนี้ สถาบันก็ยังได้นำผลงานที่ผ่านเข้ารอบมาจัดแสดงในรูปแบบของ Art GalleryOnline ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมอง และสร้างแรงบันดาลใจผ่านการออกแบบให้นักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมผลงานที่ผ่านเข้ารอบได้ที่ www.facebook.com/gitwjda

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
1.รางวัลชนะเลิศ นาย สุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา จากประเทศไทย
ผลงาน ความเชื่อในตรีโกณมิติ (Trigonolism) ได้รับเงินสด 4,000 เหรียญสหรัฐ และ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้า  จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 รางวัล Popular Vote
นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และนางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทย
ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 3,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ จากประเทศไทย
ผลงาน รูปทรง เรขาคณิต (Geometry) ได้รับเงินสด 1,500 เหรียญสหรัฐ
และโล่เกียรติยศ

4.รางวัลชมเชย Mrs. SoheilaHemmati จากประเทศอิหร่าน
ผลงาน Pearls for all generationsได้รับเงินสด 1,000 เหรียญสหรัฐ และ
โล่เกียรติยศ  

5.รางวัลพิเศษ Popular Voteนางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และ
นางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทยกับ ผลงาน D-N-A
ได้รับเงินสด 500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ